ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำการเกษตรแบบพอเพียง (การเลี้ยงปลาดุก)

โดย : นายเสด็จ แดงสกุล วันที่ : 2017-06-22-15:21:11

ที่อยู่ : 5 หมู่ที่ 2 บ้าน โป่งคองใต้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

         1) มีความขยัน หมั่นเพียรในการทำงาน มุ่งมั่นในการทำงาน

         2) เพื่อลดรายจ่ายและสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และเพื่อหารายได้เสริมแก่ครัวเรือน 

         3) สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนในหมู่บ้านและยังนำงบประมาณจากหน่วยงานราชการมาสนับสนุนกิจกรรมในหมู่บ้านอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

          ในรูปแบบของการทำสวนเกษตรพอเพียงและการทำสวนครัวนั้น สมาชิกแต่ละคนที่อยู่ในครอบครัวเอง จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ และดำเนินการดูแลรักษาอย่างถูกหลักวิชาการ เพื่อให้มีชนิดและปริมาณของสิ่งที่จำประกอบอาชีพได้อย่างที่ต้องการ ตรงกับความชอบ และความต้องการรับประทานของคนในครอบครัวเอง และเพิ่มปริมาณมากเพื่อให้เพียงพอที่จะเก็บเกี่ยวไปบริโภคประจำวันได้ทุกวันโดยไม่ขาดแคลน โดยส่วนที่เหลืออาจเป็นส่วนที่สามารถเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง นายเสด็จ  แดงสกุล เป็นเกษตรกรที่ยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง มาใช้ในการเกษตร โดย การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน เลี้ยงปลาดุก และปลูกผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(1)  ผนังและพื้นบ่อควรใส่สารกันรั่วซึม                         (2) พันธ์ปลาดุก ลุกผสม

อุปกรณ์ ->

1) บ่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูงประมาณ 40 ซม (2) มีท่อระบายน้ำเพื่อช่วยในการถ่ายเทน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ปลาดุกอุย หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “ปลาดุกบิ๊กอุย” เป็นปลาที่มีการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาดุกรัสเซียกับปลาดุกอุย โดยใช้ปลาดุกรัสเซียเพศเมีย และปลาดุกอุยเพศผู้ลูกปลาจะมีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุยมาก คืออัตราการเจริญเติบโตสูง และมีความทนทานต่อโรคสูง เกษตรกรนิยมเลี้ยงกันมาก และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติดี ราคาถูก และเป็นการสร้างรายได้ ลดรายจ่ายตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย

อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก

          (1) ปลาขนาดเล็ก (2-3 เซนติเมตร) ควรเป็นอาหารเม็ด ผสมข้าวสุก คลุกกับน้ำแล้วปั้นให้เป็นก้อนๆ

(2)ปลาโตแล้วจนมีความยาว 15 เซนติเมตร ขึ้นไป จะใช้อาหารเม็ด, รำละเอียด, เศษผัก หรือเศษอาหาร ใช้อัตราส่วน 2 : 4 : 4 หรือใครจะใช้เป็นอาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่ต้นทุนมันจะสูงกว่า อาหารผสมแบบนี้

(3) ปลามีขนาด 10 ตัว ต่อกิโลกรัม คุณก็หาผักตบชวา หรือผักบุ้งใส่ลงไปในปูนวงที่เลี้ยงปลาดุก แล้วก็ค่อยลดปริมาณอาหารสำเร็จรูปลงเรื่อยๆ เมื่อปลาหิวจัดๆ มันก็จะกินผักตบชวา หรือผักบุ้งเป็นอาหาร ในช่วงเย็น เราก็ให้อาหารเม็ดกินเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอแล้ว สำหรับปลาดุก 1 ปูนวง และในหนึ่งบ่อเราจะใช้ผักตบชวาประมาณ 4 กอ ต่อ 7 วัน ซึ่งปลาจะกัดกินบริเวณใบและยอดอ่อนจนหมด เหลือไว้เพียงลำต้นแก่ๆ เท่านั้น

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนวง ต้นทุนต่ำ รายได้ดี จำนวนในการเลี้ยงปลาดุก ควรเลี้ยง 70 ตัว / หนึ่งปูนวง จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ 5 วัน ต่อครั้ง และในแต่ละครั้งจะเปิดน้ำที่เลี้ยงปลาออกทิ้งจนหมด จากนั้นก็ดูดน้ำใหม่มาใส่ทันที วงปูนที่เราใช้เลี้ยงปลานั้น จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร และสูง 50 เซนติเมตร ส่วนพื้นบ่อปูน วงก็ทำพื้นปูนปิด และต่อท่อพลาสติกเพื่อใช้ในการถ่านน้ำออก ในการเลี้ยงปลาดุกตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในบ่อปูนวงนี้ จะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 3 เดือนกว่าๆ คุณจะได้ปลาดุกขนาด 4 ตัวต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ ราคาขายของปลาดุกในขณะนี้ตกกิโลละ 40 – 45 บาท

การให้อาหารปลาดุก

การให้อาหารปลา การเลี้ยงปลา 1 รุ่น ใช้เวลา 3 เดือน อาหารเสริม (ไส้ไก่ ไก่บด) ให้อาหารสำเร็จรูปโปรตีน 2 กระสอบ โดยให้วันละ 2.5 กก./1 มื้อ/ 1,000 ตัว ให้อาหารเม็ดเล็กและบุบพอแตกสำหรับปลาเล็ก อาหารสดพวกเศษเนื้อ สับให้ปลากินได้ ตัวปลวก แมลงเม่า และแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากิน ให้อาหารเป็นเวลาวันละ 2 มื้อ เช้า – เย็น

 

ข้อพึงระวัง ->

โรคปลาดุกและการป้องกัน

การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมือปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมมีนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารให้ใหม่อีกซึ่งปริมาณอาหาร ที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 % ของน้ำหนักตัวปลา หากมีอาหารเหลือให้ช้อนทิ้ง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยภูมิ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา