ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรอินทรีย์และผสมผสาน

โดย : นายสมภาร เสี่ยงบุญ วันที่ : 2017-06-21-15:54:26

ที่อยู่ : 172 ม.6 ต.บ้านขาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ก่อนที่จะทำกลุ่มนี้ขึ้นมาเมื่อสมัยก่อนที่ดินพื้นนี้เป็นสระน้ำ เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์มีไว้ให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินและผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ สามารถหารายได้ให้กับครอบครัวได้ ต่อมาได้มีการถมสระน้ำ ชาวบ้านจึงปรึกษาหารือกันว่าจะทำที่ตรงนี้เป็นอะไร จึงได้เกิดความคิดว่าอยากทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยมีนายสมภาส  หมั่นคง เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มการทำปุ๋ยหมักหรือเกษตรอินทรีย์นี้ขึ้นมา โดยได้เปิดรับสมัครตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 มีสมาชิกในกลุ่มทั้งหมด 45 คน  โดยได้รวมเงินกันคนละ 1,000 บาท เพื่อบริหารจัดการภายในกลุ่ม และได้ไปศึกษาดูงานที่บ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ  และได้มีหน่วยงานรัฐเข้ามาคอยสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มให้มีส่วนร่วมของคนทั้งชุมชนให้ร่วมกันคิด ตัดสินใจ นำแนวทางไปใช้ในการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ทั้งระดับครอบครัวและชุมชน  เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการเกษตรเชิงเดี่ยว และเป็นการเกื้อกูลของระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อม 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ต้นพันธุ์พืช และ พันธุ์สัตว์

ปุ๋ยหมักคุณภาพสูง    

                   -   มูลสัตว์1 ตัน = 30 ถุงปุ๋ย

                   -   รำอ่อน 10 กิโล

                   -   แกลบเผา 1 ถุง = 10 กิโล

                   -   ฟอตเฟส = 25 กิโล

                   -   กากน้ำตาล 10 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร

                   -   พด 123 อย่างละ 4 ซอง

                   -   ยุเสีย 2 กิโล

อุปกรณ์ ->

รถไถ จอบ มีดตัดกิ่ง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง  ๆ  ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช  พืชกับสัตว ์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้  ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุน เวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด  ภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้   เป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

ต้องรู้จักและเข้าใจธรรมชาติของพืชที่จะปลูก จะเลี้ยงเป็นอย่างดี

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยภูมิ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา