ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การนวดแผนไทย

โดย : นางตา ดาช่วย วันที่ : 2017-06-19-17:20:21

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 223 หมู่ 4 ตำบลละหาน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากการที่บุคคลในบ้าน(มารดา) และตนเอง เป็นคนชอบเจ็บ/ปวดเมื่อยตามตัวอยู่เป็นประจำ ใช้บริการหมดนวดจากภายนอกก็ลำบาก ทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก จึงได้ฝึกกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รพ.สต.(อนามัย) บ้านละหาน  พอทำได้สักระยะหนึ่ง ก็ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆที่หน่วยงานจัดขัน หรือภาคสมัครใจเรียนเพิ่มเติม จนสามารถใช้เป็นอาชีพหลักในการเลี้ยงครอบครัว และช่วยเหลือคนอื่นได้เป็นจำนวนมาก

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อใช้รักษาโรคเกี่ยวกับเส้น ที่ครอบครัวเผชิญ
 2.เพื่อสร้างอาชีพให้กับตนเอง มีรายได้เป็นหลักจากการบริการนวดแผนไทย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

1.เตียง 2. ที่นอน 3. หมอน 4. หุ่นสำหรับฝึกสอน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 การสังเกต และสอบถามอาการเจ็บป่วยของผู้ถูกนวด

ในการเริ่มต้นนวดแต่ละครั้ง ต้องเริ่มต้นจากด้านซ้ายก่อนเสมอ การนวดแต่ละครั้ง ใช้เวลา 1 ชั่วโมง โดยการนวดมีหลายวิธี ดังนี้
                                การนวด  การใช้น้ำหนัก  กดลงบนส่วนต่าง ๆ  ของร่างกาย น้ำหนักที่กดจะทำให้ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืดคลาย การนวดไทยเน้นมักจะใช้น้ำหนักของร่างกายเป็นแรงกด

                   การบีบ เป็นการใช้น้ำหนัก กดลงบนส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในลักษณะ 2 แรงกดเข้าหากัน

                   การคลึง  การใช้น้ำหนัก กดคลึง เป็นการกระจายน้ำหนักกดบนส่วนนั้น การคลึงให้ผลในการคลายใช้กับบริเวณที่ไวต่อการสัมผัส เช่น กระดูก ข้อต่อ

                   การถู  การใช้น้ำหนักถู เพื่อทำให้ผิวหนังเกิดการยืดขยายรูขุมขนเปิด วิธีนี้นิยมใช้กับยาหรือน้ำมันเพื่อให้ตัวยาซึมเข้าได้ดี

                   การกลิ้ง  การใช้น้ำหนักหมุนกลิ้ง ทำให้เกิดแรงกดต่อเนื่องไปตลอดอวัยวะ ทั้งยังเป็นการยืด กล้ามเนื้ออีกด้วย

                   การหมุน  การใช้น้ำหนักหมุนส่วนที่เคลื่อนไหวได้คือ ข้อต่อ เพื่อให้พังผืด เส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อต่อ ยืดคลายการเคลื่อนไหวดีขึ้น

                   การบิด  จะมีลักษณะคล้ายกับการหมุน

                   การดัด  การใช้น้ำหนักยืด ดัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นพังผืดให้ยืดกว่าการทำงานปกติ เพื่อให้เส้นหย่อนคลาย

                   การทุบ  การใช้น้ำหนักทุบ ตบ สับ ลงบนกล้ามเนื้อให้ทั่ว

                   การเขย่า  การใช้น้ำหนักเขย่ากล้ามเนื้อ เพื่อกระจายความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อให้ทั่ว

ข้อพึงระวัง ->

1.ในกรณีที่ นวดท้อง ไม่ควรนวดผู้ที่รับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ (ไม่เกิน 30 นาที )

          2.ไม่ควรให้เกิดการฟกช้ำมากเกินไป หรือมีอาการอักเสบซ้ำซ้อน

          3.กรณีผู้สูงอายุซึ่งมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน ต้องระมัดระวังในการนวด

          4.ควรตรวจวัดความดันโลหิตสูง สำหรับผู้สูงเกินวัดเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ไม่ควรนวด หรือควรพักให้ความดันลดลงก่อน

          5.ไม่ควรนวดผู้ที่มีอาการอักเสบติดเชื้อ หรือมีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส ปวด บวม แดงร้อน

          6.ไม่ควรนวดผู้ที่หลังได้รับประสบอุบัติเหตุใหม่ๆ ควรให้การช่วยเหลือขั้นต้น และตรวจวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หากเกินความสามารถ ควรประสานความร่วมมือกับแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อส่งต่อผู้ป่วยตามสมควร

          7.ผู้ที่มีข้อต่อหลวม กระดูกพรุน ต้องระมัดระวังในการนวด

          8. สตรีมีครรภ์ ควรนวดด้วยความระมัดระวัง

          9. ห้ามนวดผู้ที่ใส่อวัยวะเทียมหลังผ่าตัดกระดูก

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยภูมิ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา