ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำไร่นาสวนผสม

โดย : สมฤทธิ์ พงษ์สระพัง วันที่ : 2017-06-14-14:18:44

ที่อยู่ : 51 หมู่ 1 ตำบลหนองคู

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เดิมทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว คือทำนาอย่างเดียวผลผลิตคือข้าว แต่ภายหลังพบว่าการทำเกษตรแบบผสมผสานมีความยั่งยืนมากกว่าจึงศึกษาการทำไร่นาสวนผสมและประสบความสำเร็จในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

มีการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมในพื้นที่เดียวกันให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยกิจกรรมเหล่านี้จะมีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

  1. แบ่งพื้นที่บางส่วนมาจัดทำไร่นาส่วนผสม ซึ่งระยะแรกรายได้เกิดจากกิจกรรมที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น เช่น ปลูกผัก ,ผักสวนครัว เป็นต้น
     2. สภาพพื้นที่ลุ่มหรือนาเดิม ถ้าจะปลูกไม้ผลควรยกร่องไม้ผลและมีคันดิน ล้อมรอบแปลงผัก
     3. พื้นที่ลุ่มมากน้ำท่วมเป็นประจำ เกษตรกรอาจจะขุดบ่อเลี้ยงปลา หรือนาบัว นาผักบุ้ง นาผักกระเฉด เป็นต้น
     4. พื้นที่ดินในการทำสวนผลไม้ควรมีสภาพพื้นที่มีความลาดชันไม่เกิน 30 % สภาพดินมีหน้าดินลึกกว่า 1 เมตร และดินชั้นล่างต้องไม่เป็นดินดานแข็ง หรือศิลาแลง
     5. กรณีที่สภาพดินมีปัญหา เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินพรุ หรือดินที่มีปัญหาอื่นๆ ควรมีการปรับปรุงก่อนการปลูกพืช
ด้านแหล่งน้ำ
     1. ควรมีสระน้ำ คูคลอง ร่องน้ำ หรือแหล่งน้ำระดับไร่นาเสริมในฤดูแล้ง ประมาณ 30 % ของพื้นที่
     2. บ่อน้ำบาดาล เพื่อใช้ในฤดูแล้ง โดยเฉพาะพืชไร่ พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ
     3. บ่อปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีนและเพิ่มรายได้ในฤดูแล้ง อาศัยน้ำในบ่อใช้ในการปลูกพืชบริเวณขอบบ่อปลา และพืชผักสวนครัว
ด้านเงินทุน
     1. เงินลงทุนในระยะแรกจะค่อนข้างสูง ควรพิจารณากิจกรรมเสริมให้ผลตอบแทนเร็วในช่วงแรกๆ
     2. เงินทุนที่มีอยู่ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับชนิดและกิจกรรมการผลิต
     3. กรณีที่เกษตรกรกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ควรวางแผนการใช้จ่ายเงิน และผลตอบแทนในลักษณะกระแสเงินสดของฟาร์ม
ด้านเกษตรกร
     1. ต้องมีความขยันขันแข็ง กระตือรือร้น มีความคิดสร้างสรรค์ ยอมรับในการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ มีความคิดเชิงธุรกิจ
     2. แรงงานทำการเกษตรอย่างน้อย 3 คน ต่อพื้นที่ 10 ไร่
     3. มีทักษะในการวางแผนและงบประมาณ แรงงานในการผลิตอย่างเหมาะสม
ด้านกิจกรรมการผลิต
     1.ควรพิจารณากิจกรรมการเกษตร
        -  กิจกรรมที่ทำรายได้ เป็นรายวัน รายเดือน รายปี อย่างถาวรต่อเนื่อง(ด้านเศรษฐกิจ)
        -  กิจกรรมด้านอาหาร
        -  กิจกรรมด้านการใช้สอย
        -  กิจกรรมด้านอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละฟาร์ม แต่ละพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกันไป
      2.กรณีมีการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นในช่วงระยะ 1-3 ปี แรก ควรจะมีการปลูกพืชอายุสั้นแซมเสริมรายได้
      3.บริเวณคันดินล้อมแปลงไม้ผลไม้ยืนต้น สามารถจะปลูกมะพร้าวอ่อน กล้วย มะละกอ พืชผัก และอื่นๆได้
      4.การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นบางครั้ง สามารถปลูกแบบผสมผสานกัน ลดภาวะการเสี่ยง
      5.เกษตรกรควรมีพื้นที่ส่วนหนึ่งปรับเปลี่ยนปลูกพืชหมุนเวียนอายุสั้น ที่ให้ผลตอบแทนสูง
      6.มีกิจกรรมการปลูกข้าวไว้บริโภคภายในครัวเรือนและจำหน่ายได้
      7.บ่อปลาควรอยู่ใกล้บ้าน การคมนาคมสะดวก จัดการควบคุมเรื่องระบบน้ำได้
      8.กิจกรรมการผลิตพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ เลี้ยงสัตว์ ประมง ควรมีการวางแผนการผลิตและการตลาดเป็นอย่างดี
ด้านกิจกรรมรายได้
     1.พิจารณากิจกรรมเพื่อก่อให้เกิดรายได้ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
     2.พิจารณากิจกรรมที่ทำแบ่งเป็นรายได้หลัก รายได้รอง และรายได้เสริม
     3.กิจกรรมให้ผลระยะยาว และกิจกรรมเสริมในระยะแรก
     4.กิจกรรมปลูกพืชหมุนเวียนหรือเลี้ยงสัตว์เป็นรุ่นๆ อย่างชัดเจน
     5.พิจารณาความเสี่ยงของกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ 
     6.กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนเร็วในช่วงระยะสั้นๆ รายได้สูงมั่นคงระยะยาว 
ด้านกิจกรรมอื่นๆ
     1.ร่องน้ำแปลงไม้ผล สามารถเลี้ยงปลาได้
     2.ผสมผสานการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง
     3.การเลี้ยงสัตว์ในไร่นาสวนผสม
     4.น้ำจากบ่อเลี้ยงปลานำไปใช้ในการปลูกพืชผัก ขอบบ่อเศษวัสดุการเกษตรยังเป็นอาหารเสริมของปลาได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยภูมิ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา