ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เทคนิคการสานกระติบข้าว

โดย : นายนิ่ม เก่งชัยภูมิ วันที่ : 2017-03-23-09:02:49

ที่อยู่ : 19 หมู่ที่ 9 บ้านโนนมะเยา ตำบลสระโพนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ตั้งแต่บรรพบุรุษคนอีสานทานข้าวเหนียวจึงต้องหาวัสดุใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วให้มีความร้อนและไม่ชื่นน้ำจึงได้สานกระติบข้าวไว้ใส่ข้าวเหนียว  สำหรับครอบครัวไหนที่สานกระติบข้าวไม่เป็นก็ต้องซื้อหามาไว้ใช้ในครอบครัวและได้มีการพัฒนารูปแบบและขนาดเพื่อความสะดวกในการใช้ประโยชน์ โดยมีการสืบทอดและถ่ายทอดให้กับลูกหลานต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

-เพื่อเป็นการรักษาภูมิปัญญาให้คงอยู่

            -เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

                -ไม้ไผ่ป่า หรือไม้ไผ่บง

            -คล้า หรือหวาย

            -ไม้ยอ หรือก้านตาล

อุปกรณ์ ->

-เหล็กแหลมสำหรับเย็บ

            -เครื่องรีดตอก

            -มีด  เลื่อย ดินสอ  กรรไกร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1 การทำตัวกระติบ

             1.คัดเลือกไม้ไผ่บงที่มีอายุพอเหมาะนำมาตัดให้ได้ขนาดตามต้องการแล้วนำมาต้มหรือลนไฟเพื่อให้เกิดความเหนียว แล้วนำมาผ่า(จัก) แล้วฉีกออกเป็นเส้นตามความต้องการ แล้วนำไปตากให้แห้ง

              2.นำตอกที่ได้จากข้อ 1 นำมาแช่น้ำแล้วเหลาให้เรียบเสมอกันหรือใช้เครื่องรีดตอกช่วยเพื่อให้ได้เส้นตอกสม่ำเสมอกัน  แล้วนำไปตากให้แห้ง

          3.นำตอกจากข้อ 2 มารมควันเพื่อให้ได้สีตามต้องการ

           4.นำตอกจากข้อ 3 มาก่อสานเป็นตัวกระติบและฝากระติบตามขนาดและลวดลายและรูปทรงที่ต้องการ

          2.การประกอบตัวกระติบ

          1.นำไม้ไผ่ปล้องขนาด  20-25  ซ.ม.  มาผ่าเป็นเส้นตอกให้มีขนาดใหญ่ประมาณ 1-2 ซ.ม. นำมาจักเป็นเส้น ๆ แล้วเหลาให้เรียบ แล้วนำไปตากให้แห้ง

          2.นำตอกจากข้อ 1  มาสานเป็น  2  ชั้น  แล้วนำเอาตัวและฝากระติบจากขั้นตอนที่ ๑ มาทาบลงบนแผ่นตอกที่สานไว้  แล้วใช้ดินสอขีดตามแนวขนาดตัวและฝากระติบ  แล้วใช้กรรไกรตัดตามรอยขีดแล้วนำมาประกอบกับตัวและฝากระติบ

              3.จักคล้าหรือหวายเป็นเส้นเล็ก ๆ แล้วนำมาเย็บประกอบกับตัวและฝากระติบตามข้อ 2  เสร็จแล้วนำขากระติบหรือตีนมาเย็บติดตัวกระติบด้านล่าง  ส่วนฝากระติบอาจจะทำหูหรือที่ร้อยเชือกเพื่อความสะดวกในการพกพา

ข้อพึงระวัง ->

การคัดเลือกไม้ไผ่ที่มีอายุพอเหมาะไม่อ่อนหรือแก่เกินไปเพื่อความเหนียวคงทนนาน  และการใช้สีจะใช้สีธรรมชาติ  เช่น  สีแดงได้มาจากเปลือกเงาะป่า  สีเหลือง สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้ม โดยการนำตอกไปอบหรือรมควันจากฟาง  ซึ่งสีที่ได้จากการรมควันจะทำให้กระติบมีสีสันสวยงามแล้วยังมีประโยชน์ในการป้องกันแมลงกัดแทะได้ เช่น มอด  การคิดค้นลวดลายใหม่ ๆ ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม และความประณีตในการผลิตทุกขั้นตอน และเน้นความคงทน แข็งแรงในการใช้งาน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยภูมิ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา