ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เทคนิคการทำเกษตรผสมผสาน(ปลูกผักสวนครัว)

โดย : นายประจวบ นาห่อม วันที่ : 2017-03-22-15:45:25

ที่อยู่ : 77/1 หมู่ที่ 10 บ้านกุดกว้าง ตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การปลูกผักสวนครัวสมัยก่อนปลูกกันตามหัวไร่ปลายนาปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน

แบ่งปันให้ญาติพี่น้อง  ปัจจุบันได้ปลูกผักขายเป็นอาชีพเสริม  หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้วเกษตรกรจะปลูกผักหมุนเวียนตามฤดู  เช่น  ผักกาดขาว กะหล่ำปลี  ผักชี  คึ้นฉ่าย  คะน้า  หอม  มะเขือ  มะเขือเทศ พริก  ฟักทอง  ข้าวโพด  ถั่วฟักยาว  เป็นต้น  โดยเน้นการปลูกผักปลอดสารพิษ

วัตถุประสงค์ ->

-เพื่อเพิ่มรายได้/ลดรายจ่ายให้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-เมล็ดพันธุ์ผักต่าง ๆ ที่ต้องการปลูก เช่น  เมล็ดผักกาด เมล็ดผักชีลาว/ฝรั่ง  เมล็ดผักบุ้ง  เมล็ดมะเขือ  เมล็ดฟักทอง ฯ

            -ปุ๋ยหมัก,ฮอร์โมน

อุปกรณ์ ->

-ฟางข้าว

            -สายยางรดน้ำ

            -จอบ เสียม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเตรียมดิน

                   1. การพรวนดินสำหรับปลูกผัก  ขุดดินลึก  6  นิ้ว  เพื่อให้ดินมีโครงสร้างที่ดี  ถ้าปลูกเป็นไร่ขึ้นไปอาจใช้รถไถพรวนดิน  ทิ้งไว้ประมาณ  7-15  วัน  เป็นการกำจัดวัชพืชไข่ของแมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน

                    2. การยกแปลงดินให้สูงขึ้น  4-5  นิ้ว  จากผิวดิน  กว้างประมาณ  1-1.20 เมตร  ส่วนความยาวตามลักษณะของพื้นที่โดยต้องให้ผักโดนแดดด้วย

                    3. การปรับปรุงเนื้อดิน  ส่วนใหญ่การปลูกผักต้องใช้ดินร่วน  แต่พื้นที่บางแห่งอาจเป็นดินทรายหรือดินเหนียว  จึงต้องปรับปรุงเนื้อดินให้ดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกในอัตราปริมาณ 1-2  กิโลเมตร  ต่อเนื้อที่  1  ตารางกิโลเมตร  คลุกเคล้าให้เข้ากัน

                     4. การปลูกผักจะกำหนดหลุดปลูกผักทีหลังจากการเลือกชนิดผักที่จะปลูก  เช่น  พริกควรใช้ระยะ  75x100  ซ.ม.  ผักบุ้งจะเป็น  5X5  ซ.ม.  เป็นต้น  ส่วนผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง  ผักชี ใช้การหว่านลงแปลงได้เลย

                     5. การปฏิบัติดูแลรักษา  การรดน้ำควรรดน้ำเวลาเช้า-เย็น  ไม่ควรรดน้ำเวลาแดดจัด  และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก  การให้ปุ๋ยมี  2  ระยะ  คือ  ช่วงเตรียมดินใส่รองพื้น  และช่วงผักมีอายุ  2 สัปดาห์ 

                     6. การเก็บเกี่ยว  ควรเก็บผักในช่วงเช้าจะได้ผักที่สดรสดี  และหากไม่ได้ใช้ให้นำผักไปล้างเก็บไว้ในตู้เย็น

ข้อพึงระวัง ->

ผักบางชนิดที่ปลูกในฤดูฝนแล้วเกิดโรคและได้ผลผลิตไม่เต็มที่  คือ  ต้นหอม มะเขือเทศ ปลูกหน้าฝนทำให้เกิดโรคเชื้อราต้องคอยระวังการรดน้ำ

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยภูมิ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา