ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาดุก

โดย : นายบำรุง บางบุญฤทธิ์ วันที่ : 2017-03-20-13:05:01

ที่อยู่ : 130 หมู่ที่ 7 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                   ผมนายบำรุง  บางบุญฤทธิ์  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ตำบลมะขามเฒ่า เป็นผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน สามารถถ่ายทอดให้ความรู้กับผู้ที่สนใจการเลี้ยงปลาดุกได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ปลาดุก

2. อาหารปลา

อุปกรณ์ ->

1. วงบ่อซีเมนต์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

บ่อดิน

ควรมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพี่อความสะดวกในการตีอวนจับปลา หรือการจัดโดยการระบายน้ำออกหมด ขนาดของบ่อไม่ควรใหญ่เกินไป เพราะจะดูแลยาก การให้อาหารไม่ทั่วถึง เมื่อเกิดปัญหาโรค-ปรสิค การลงยาจะสิ้นเปลืองมาก เมื่อน้ำเสียการถ่ายน้ำไม่สามารถทำได้ทันที ต้องใช้เวลานาน แต่ถ้าเล็กเกินไปก็จะเสียพื้นที่คันบ่อมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ดังนั้นขนาดของบ่อที่เหมาะสมก็คือ 800-1,600 ตารางเมตร (0.5-1 ไร่)อย่างไรตามควรจะพิจารณาสภาพพื้นที่เป็นหลัก ว่าใช้บ่อขนาดใดจึงจะใช้เนื้อที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการขุดบ่อ ควรขูดผิวดินประมาณ 15-20 เซนติเมตร ควรราดน้ำและอัดดินให้แน่นเพื่อทำให้คันบ่อแข็งแรงขึ้น ระดับน้ำในบ่อควรอยู่ในระดับ80-100 ซ.ม. ดินบ่อควรสูงกว่าระดับน้ำอย่างน้อย 50 ซ.ม. เพื่อป้องกันปลาหนี เพื่อป้องกันการพังทลายของดินบ่อ คันบ่อต้องมีส่วนลาดเอียงอย่างน้อย 1 : 2 (ด้านใน) ด้านนอกควรลาดเอียง 1: 1 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของดินด้วย ถ้าไม่ใช่ดินเหนียว ความลาดเอียงของดินบ่อควรมากกว่านี้ ความกว้างของสันดินบ่อกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร แต่ถ้ากว้างกว่านี้จะสะดวกต่อการทำงานมากขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา

2. ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค

3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไข  

4. หลังจากปล่อยปลาเลี้ยงแล้ว 3-4 วัน ควรสาดน้ำฟอร์มาลีน 2-3 ลิตร ปริมาณน้ำ 100 ตัน

5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ

6. อย่างให้อาหารจนเหลือ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยนาท
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา