ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด

โดย : นางสาวปัทมภรณ์ แซเผือก วันที่ : 2017-03-16-16:42:23

ที่อยู่ : 78 หมู่ 3 ตำบลหนองขุ่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เดิมตนเองมีอาชีพทำเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน มาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ ซึ่งการทำการเกษตรนั้นตนจะใช้สารเคมีเยอะมาก ใช้ตั้งแต่เริ่มกระบวนการเพาะปลูกจนถึงช่วงเวลาก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้มีสารเคมีปนเปื้อนในข้าวและผักผลไม้ที่ผลิตได้ ต่อมาได้มีโอกาสได้เข้ารับการอบรมเรื่องการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด จากศูนย์ไบโอ ซึ่งเป็นศูนย์จัดการศัตรูพืชจังหวัดชัยนาท เมื่ออบรมเสร็จจึงนำเชื้อราไตรโคเดอร์มามาใช้กับนาข้าวของตนเองแล้วได้ผลดี จึงเข้ารับการอบรมและเรียนรู้เรื่อยมาจนเกิดความเชี่ยวชาญและสามารถเป็นวิทยากรให้กับศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงของบ้านทั่นจั่น

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ปลายข้าวท่อน   

2.หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา

อุปกรณ์ ->

1.หม้อหุงข้าวไฟฟ้า                                  

2.ทัพพีตักข้าว                                       

3.ยางรัด (ยางวง)                                    

4.ถุงพลาสติกร้อน ขนาด 8 X 12 นิ้ว             

5.ช้อนตัก                                            

6.เข็มหมุด                                           

7.เครื่องชั่ง         

8.ถุงพลาสติก

9.แอลกอฮอร์                                  

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.หุงปลายข้าวท่อนด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า โดยใช้ข้าว 3 ส่วน น้ำ 2 ส่วน ถ้าข้าวนิ่มเกินไปให้ใช้ข้าว 2 ส่วน น้ำ 1 ส่วน ข้าวที่หุงแล้วมีลักษณะกึ่งดิบกึ่งสุก ใช้ทัพพีซุยข้าวในหม้อที่สุกแล้วให้ทั่ว (ไม่ต้องซอยข้าว)

2.ตักปลายข้าวท่อนที่สุกแล้ว ขณะข้าวยังร้อนอยู่เพื่อช่วยทำลายจุลินทรีย์จากอากาศที่อาจปนเปื้อนในถุงข้าว

3.ตักปลายข้าวท่อนสุกประมาณ 2 ทัพพี(พูน) ใส่ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 8X12 นิ้ว หรือประมาณ 250 กรัม ต่อถุง

4.รีดอากาศออกจากถุง ม้วนถุงพลาสติกแนบกับปลายข้าวเพื่อลดการเกิดหยดน้ำ รอให้ปลายข้าวอุ่นหรือเกือบเย็น จึงนำไปใส่หัวเชื้อ

5.ใส่เชื้อลงในถุงปลายข้าวในบริเวณที่ลมสงบ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอากาศ

6.ใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์มาเพียงเล็กน้อย ประมาณ 5-10 เมล็ด ต่อถุง ถ้าเป็นหัวเชื้อสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายทั่วไป ให้ใส่เชื้อประมาณ 1-2 เหยาะ

7.รัดยางตรงปากถุงให้แน่น ก่อนเขย่าให้หัวเชื้อกระจายทั่วทั้งถุง

8.ใช้เข็มแทงรอบๆ ปากถุงที่รัดยาง (จากที่รัดยางลงมาประมาณ 2 นิ้ว )ไม่น้อยกว่า 30 รู

9.วางข้าวในถุงให้แผ่นกระจายให้มากที่สุด ดึงบริเวณกลางถุงขึ้นเพื่อไม่ให้พลาสติกแนบติดกับข้าวและเพื่อให้มีอากาศเข้าไปในถุงข้าวเพียงพอ

10.วางถุงไม่ให้ซ้อนทับกันในห้องที่ร่มและเย็นปราศจากมด ไร แมลงและสัตว์อื่นๆ ไม่ให้ถูกแสงแดด แต่ได้รับแสงสว่าง 10-12 ชั่วโมงต่อวัน หากแสงไม่พอให้ใช้แสงจากหลอดนีออนช่วยได้

11.เมื่อครบ 2 วัน ขยำก้อนข้าวที่มีเส้นใยของเชื้ออยู่ให้แตกแล้ววางถุงในที่เดิมโดยวางถุงข้าวในสภาพเดิม ต่ออีก 4-5 วัน (อย่าลืมดึงถุงให้โป่ง) จึงนำไปใช้ (ในช่วง 4-5 วันนี้ไม่ควรขยับหรือเคลื่อนย้ายถุงเพราะจะทำให้เชื้อระงับการเจริญเติบโต)

ข้อพึงระวัง ->

1.ปลายข้าวที่นำมาใช้ไม่ควรมีขนาดเล็กหรือละเอียดเกินไป เมื่อหุงข้าวแล้วไม่ควรแฉะ ลักษณะที่ดีคือหุงข้าวแข็งเป็นไตขาว

2.ควรบรรจุปลายข้าวที่สุกแล้วลงในถุงขณะที่ยังร้อยอยู่และระวังไม่ให้เปื้อนปากถุง เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อราอื่นๆ

3.ใส่หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาขณะปลายข้าวอุ่นหรือเกือบเย็นและคลุกเคล้าให้ทั่วให้หัวเชื้อสัมผัสกับปลายข้าวอย่างทั่วถึง ถ้าข้าวร้อนเกินไปเชื้ออาจตายได้

4.ถุงเชื้อที่ดีต้องมีสปอร์สีเขียวเข้ม ถ้าเห็นเส้นใยสีขาวหรือสปอร์สีอื่นๆ เช่น เขียวปนเหลือง เหลืองส้ม ชมพู แดง ดำ หรือมีเมือกเยิ้มแฉะมีกลิ่นเหม็นหลังบ่มไว้ครบ 7 วัน ไม่ควรนำไปใช้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยนาท
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา