ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเย็บเสื้อพื้นเมืองบ้านเนินขาม

โดย : นางพิมพ์สุวรรณ ทองคำ วันที่ : 2017-04-05-13:12:43

ที่อยู่ : 120 หมู่ที่ 14 ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอผ้าของคนเนินขามสืบทอดวัฒนาธรรมภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษชนชาติลาวหลวงพระบาง  เวียงจันทร์  ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓  ซึ่งวิถีชีวิตดั้งเดิมสมัย ปู่ ย่า ตา ยาย จะทอผ้าใส่กันเอง มีทั้งผ้ามัดหมี่ ผ้าไหม  ผ้าฝ้าย  ผ้าขาวม้า  ผ้าพื้น  ผ้ายกดอก  และต่อมาได้มีการพัฒนาลวดลายการทอให้ทันสมัยตามความต้องการของตลาด แต่ยังคงเอกลักษณ์ของเดิมไว้

          การทอผ้าส่วนมากจะเป็นงานของผู้หญิง สำหรับฝ่ายชายก็จะไปทำงานในไร่ในนา ดังนั้นผู้หญิงจึงมีการทอผ้าละนำมาตัดเย็บด้วยมือให้ผู้ชายเพื่อนำไวสวมใส่ไปทำไรทำนา เป็นเสื้อที่มีลักษณะแขนยาวเพื่อไวกันแดดในเวลาที่ทำไร่ทำนา หรือต้องทำกิจกรรมที่อยู่กลางแจ้ง สำหรับสีที่นำมาย้อมตั้งแต่สมัยโบราณที่จะเป็นผ้าที่ย้อมด้วยสีของต้นคราม จะได้สีออกน้ำเงินคราม สวยงามมาก

เหตุผลที่เรียกกันว่าเสื้อจุกหม้อก็เนื่องจาก กรรมวิธีการย้อมผ้าด้วยสีของต้นคราม จะต้องมีการนำต้องครามมาแช่น้ำไวในหม้อเพื่อให้ครามเกินเป็นต้นครามเกินเป็นสีครามออกมา แล้วจึงน้ำผ้าทอไปจุ่มลงในหม้อที่มีน้ำครามอยู่  จึงมีการเรียกติดปากกันต่อมาว่าเสื้อจุ่มหม้อ แล้วก็มีการเพี้ยนมาเป็น  เสื้อจุกหม้อ   ในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน เสื้อจุกหม้อ ชาวอำเภอเนินขาม นิยมใส่กันทั้งผู้หญิงและผู้ชาย  ถือได้ว่าเป็นเครื่องแต่งกายประจำอำเภอเนินขาม เด็กนักเรียนก็สวมใส่ไปโรงเรียน  วัยทำงานก็ใส่เข้าไร่เข้านา หรือใส่ไวออกงาน หรือใส่ไวไปทำบุญ 

 

วัตถุประสงค์ ->

การทอผ้าของคนเนินขามสืบทอดวัฒนาธรรมภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษชนชาติลาวหลวงพระบาง  เวียงจันทร์  ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓  ซึ่งวิถีชีวิตดั้งเดิมสมัย ปู่ ย่า ตา ยาย จะทอผ้าใส่กันเอง มีทั้งผ้ามัดหมี่ ผ้าไหม  ผ้าฝ้าย  ผ้าขาวม้า  ผ้าพื้น  ผ้ายกดอก  และต่อมาได้มีการพัฒนาลวดลายการทอให้ทันสมัยตามความต้องการของตลาด แต่ยังคงเอกลักษณ์ของเดิมไว้

          การทอผ้าส่วนมากจะเป็นงานของผู้หญิง สำหรับฝ่ายชายก็จะไปทำงานในไร่ในนา ดังนั้นผู้หญิงจึงมีการทอผ้าละนำมาตัดเย็บด้วยมือให้ผู้ชายเพื่อนำไวสวมใส่ไปทำไรทำนา เป็นเสื้อที่มีลักษณะแขนยาวเพื่อไวกันแดดในเวลาที่ทำไร่ทำนา หรือต้องทำกิจกรรมที่อยู่กลางแจ้ง สำหรับสีที่นำมาย้อมตั้งแต่สมัยโบราณที่จะเป็นผ้าที่ย้อมด้วยสีของต้นคราม จะได้สีออกน้ำเงินคราม สวยงามมาก

เหตุผลที่เรียกกันว่าเสื้อจุกหม้อก็เนื่องจาก กรรมวิธีการย้อมผ้าด้วยสีของต้นคราม จะต้องมีการนำต้องครามมาแช่น้ำไวในหม้อเพื่อให้ครามเกินเป็นต้นครามเกินเป็นสีครามออกมา แล้วจึงน้ำผ้าทอไปจุ่มลงในหม้อที่มีน้ำครามอยู่  จึงมีการเรียกติดปากกันต่อมาว่าเสื้อจุ่มหม้อ แล้วก็มีการเพี้ยนมาเป็น  เสื้อจุกหม้อ   ในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน เสื้อจุกหม้อ ชาวอำเภอเนินขาม นิยมใส่กันทั้งผู้หญิงและผู้ชาย  ถือได้ว่าเป็นเครื่องแต่งกายประจำอำเภอเนินขาม เด็กนักเรียนก็สวมใส่ไปโรงเรียน  วัยทำงานก็ใส่เข้าไร่เข้านา หรือใส่ไวออกงาน หรือใส่ไวไปทำบุญ 

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1) ผ้าทอย้อมสีครามแล้ว หรือสี่อื่นๆแล้ว                   5) กรรไกร

2) เส้นฝ้าย                                     

3) เส้นไหม                                            

4) เข็มเย็บผ้า

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

           1) เมื่อได้ผ้าทอมาแล้วก็นำมาวางแบบตัดผ้าออกเป็นชิ้นๆ ตามแบบให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ เสื้อผู้หญิงจะใช้ผ้าทอประมาณ 2-2.5 เมตร ผู้ชายจะใช้ประมาณ 2.5-3 เมตร

         2) นำเส้นฝ้ายหรือไหมร้อยเข็มเย็บด้วยมือทั้งตัวจนได้ออกมาเป็นเสื้อจุกหม้อ

         3) เย็บกระดุมติดกับเสื้อ

         4) นำเส้นไหมมาเดินเส้นตกแต่งลงลายบนตัวเสื้อตามชอบ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยนาท
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา