ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสานผักตบชวา

โดย : นางจรวยพร เกิดเสม วันที่ : 2017-03-29-14:05:58

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 16/1 หมู่ที่ 7 ตำบลสรรพยา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              การจักสานผักตบชวาบ้านอ้อย ผลิตจากภูมิปัญญาการจักสานประเภทต่างๆ ของคนรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นงานฝีมือของกลุ่มคนในชุมชนที่มีความสนใจด้านงานจักสาน การรวมกลุ่มทำให้สมาชิกกลุ่มมีส่วนร่วมในการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ มีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่มผลิตภัณฑ์และชุมชนอื่น ทางกลุ่มมีการถ่ายทอดความรู้สู่ท้องถิ่นใกล้เคียง จังหวัดต่างๆ และผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน มีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร ในลักษณะกลุ่มเครือข่ายการผลิต การตลาด สร้างงาน สร้างรายได้ ความสามัคคีในกลุ่ม สร้างงานสร้างอาชีพแก่คนในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          การจักสานผักตบชวา

๒.๑ การเลือกและตัดผักตบชวาเพื่อตากแห้ง

๑. เลือกผักตบชวาที่มีสีเขียว ไม่เหี่ยวหรือแห้ง ลำต้นไม่มีรอย มีสีเขียวตลอด ทั้งลำต้น มีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ขึ้นไป

                    2. การทำความสะอาด ใช้ผงซักฟอกและสกอตไบร์ทขัด

                   3. นำต้นผักตบชวาที่มีลำต้นขนาดใหญ่ผ่าครึ่งตามตามความยาวของลำต้น ถ้าลำต้นขนาดเล็กไม่ต้องผ่าครึ่ง

4. ตากแดดให้แห้งใช้เวลา 10 วัน วันที่ 6 ถึงวันที่ 10 ห้ามตากน้ำค้าง เพราะจะทำให้ขึ้นรา การตากแห้งมีทั้งแบบผ่าครึ่งและตากทั้งต้น

๒.2 การควั่นเกลียวและถักเปียผักตบชวา

๑. การควั่นเกลียว นำผักตบชวาที่ตากแห้งแล้วมาตัดหัว ตัดท้าย ฉีกเป็นเส้น ผักตบชวา ๑ ต้น จะฉีกได้ประมาณ 6-8 เส้น นำผักตบชวาที่ฉีกแล้ว จำนวน ๒ เส้น มาควั่นเกลียวจนหมดตามความยาวของเส้นผักตบชวา แล้วนำเส้นผักตบชวาที่ฉีกมาต่อเพื่อควั่นเกลียวต่อไปเรื่อยๆ จนได้ความยาว ๑๐๐ เมตร/ ๑ เส้น

2. การถักเปีย นำผักตบชวาที่ตากแห้งแล้วมาตัดหัว ตัดท้าย และตัดตามความยาวของลำต้น ผักตบชวา ๑ ต้น จะตัดได้ประมาณ 3-4 เส้น นำเส้นผักตบชวา ๓ เส้น มาถักเปีย ให้ได้ความยาวประมาณ ๓๐ เมตร/ ๑ เส้น

๒.๓ การมัดแบ่งช่วงสีเพื่อย้อม

๑. การมัดแบ่งช่วงสี คือการนำผักตบชวาที่ควั่นเกลียวและถักเปียแล้ว มัดด้วยสันผักตบชวาแห้งเป็นช่วงๆ ความยาวแต่ละช่วงขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการจะให้แต่ละสีมีช่วงความยาวเท่าไหร่

๒. การย้อมสี วีธีการย้อมสีมีอัตราส่วนในการย้อมสีไม่แน่นอนแล้วแต่ความต้องการสีเข้มอ่อนระดับไหน โดยการนำสีเคมีผสมตามส่วนที่ต้องการ

 วิธีการย้อม สีเข้มต้องต้มน้ำให้เดือดมากๆ ผสมสีลงไปในหม้อใช้ไม้ คนให้สีละลาย นำผักตบชวาที่ควั่นเกลียวหรือถักเปียที่มัดแบ่งช่วงสีแล้ว ลงย้อมทีละช่วง มัดละประมาณ ๑ นาที ยกดูว่าได้สีเข้มตามต้องการหรือยัง ถ้าต้องการสีอ่อน ใช้วิธีตักสีในหม้อเทลาดบนเส้นที่จะย้อม เมื่อย้อมสีเสร็จแล้วนำไปล้างน้ำ โดยใช้สายยางฉีดน้ำจนสังเกตเห็นว่าน้ำไม่มีสีจึงนำไปตากแดดจนแห้งสนิท จึงนำไปจักสานผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ

๒.๔ การออกแบบรูปร่างผลิตภัณฑ์

การออกแบบมีหลายรูปแบบตามการสั่งงานของลูกค้าจึงกำหนดไม่ได้ว่ามีกี่รูปแบบสมาชิกในกลุ่มฯ จะเป็นผู้ออกแบบแล้วส่งให้ลูกค้าพิจารณาหรือลูกค้าเป็นผู้ออกแบบให้กลุ่มเป็นผู้ผลิต

วัสดุที่ใช้ในการทำรองแบบพิมพ์ ใช้โฟมที่มีความหนาขนาด ๒ นิ้ว ติดซ้อนกันให้ได้ตามความหนาตามต้องการ วาดรูปกระเป๋าหรือกล่องที่ต้องการผลิตลงบนแผ่นโฟมเสร็จ แล้วใช้คัตเตอร์ตัดตามรูปแบบ ก็จะได้รองแบบตามต้องการและวัสดุที่ใช้อีกอย่างได้แก่ไม้เนื้ออ่อนมีวิธีการทำเหมือนโฟม

๒.๕ การขึ้นแบบเพื่อจักสานกระเป๋า

ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดจะต้องมีรองแบบ การจักสานกระเป๋าหรือกล่องมีหลายลอดลายได้แก่ ลายเม็ดแตง ลายก้างปลา ลายขัด ลายสายฝน ลายพันต้น ลายเม็ดมะยม ลายมัดหมี่ผัก ลายมัดหมี่เกลียว ลายเถาวัลย์ นำรองแบบมาทำแกนกระเป๋า (หมายถึงเส้นยืน) กระเป๋าบางแบบก็ใส่หูบนรองแบบ เมื่อทำแกนแล้วตามด้วยเส้นสาน ซึ่งจะสานตามลวดลายของแบบที่ต้องการจนเสร็จ สำหรับเส้นยืนและเส้นสาน ใช้เส้นควั่นเกลียว เส้นถักเปีย ลำต้นผักตบชวา จะใช้เส้นชนิดไหนขึ้นกับรูปแบบและลวดลาย

๒.๖ การเก็บขอบ

การเก็บขอบกระเป๋า เมื่อจักสานเสร็จเรียบร้อยตามแบบแล้ว การเก็บขอบจะบิดเส้นผักตบชวาที่เป็นเส้นยืนให้กลมแล้วเสียบลงเส้นสานใช้กรรไกรตัดให้เรียบร้อย

๒.7 การบุผ้า

ผลิตภัณฑ์จากเส้นผักตบชวา จะมีรอยต่อในการสานทำให้ไม่สวยงามจึงใช้วิธีบุผ้า ส่วนมากจะใช้สำหรับกระเป๋า การบุผ้าจะต้องสร้างแบบตามผลิตภัณฑ์ที่จะบุผ้าตัดตามแบบเย็บให้เรียบร้อย นำไปบุกระเป๋าซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำไปจำหน่าย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยนาท
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา