ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสานผักตบชวา

โดย : นางโสภา เกตุช้าง วันที่ : 2017-03-29-11:26:50

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 29/2 หมู่ที่ 6 ตำบลสรรพยา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                   ผักตบชวา เป็นวัชพืชไม้น้ำลำต้นสีเขียว ดอกสีม่วง บางท้องถิ่นเรียกว่าผักปอด สร้างความรำคาญในทางน้ำและแหล่งน้ำต่างๆ เป็นที่สุด เพราะเป็นวัชพืชที่กีดกันทางคมนาคม ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินและขัดขวางทางน้ำไหล จึงทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขุดลอกคูคลอง หนองบึง เพื่อเก็บกักน้ำไว้สำหรับใช้อุปโภคบริโภค และจัดการแหล่งน้ำให้มีความสวยงาม การเดินทางสัญจรไปมาด้วยความสะดวก ในการจัดการผักตบชวาที่เป็นวัชพืชน้ำนี้ เพื่อนำมาสร้างให้เกิดประโยชน์ได้ดี ทำให้หลายหน่วยงานของราชการคิดค้นการใช้ประโยชน์จากผักตบชวาด้วยการนำมาทำเชื้อเพลิง อาหารสัตว์ ปุ๋ยหมัก และเครื่องจักสาน ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกลุ่มหัตถกรรมผักตบชวาบ้านอ้อย หมู่ที่ 7 ตำบลสรรพยา อำเภอสรรพยา เป็นการนำผักตบชวามาใช้ในการจักสานประเภทต่างๆ โดยการสืบทอดภูมิปัญญาของคนรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย เมื่อมีการรวมกลุ่มจึงได้ร่วมกันประยุกต์งานจักสานเป็นของใช้ที่สวยงามมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน เป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เช่น การพันเกลียวผักตบชวา และพัฒนารูปแบบการจักสานมาเป็นกระเป๋าสุภาพสตรี กระจาด ตะกร้าใส่ของใช้ต่างๆ มากมาย

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                       การเตรียมผักตบชวา

                    1. เลือกผักตบชวาที่มีสีเขียว ไม่เหี่ยวหรือแห้ง ลำต้นไม่มีรอย มีสีเขียวตลอด ทั้งลำต้น มีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ขึ้นไป

          2. การทำความสะอาด

                    3. นำต้นผักตบชวาที่มีลำต้นขนาดใหญ่ผ่าครึ่งตามตามความยาวของลำต้น ถ้าลำต้นขนาดเล็กไม่ต้องผ่าครึ่ง

          4. ตากแดดให้แห้งใช้เวลา 10 วัน ห้ามตากน้ำค้าง เพราะจะทำให้ขึ้นรา การตากแห้ง

          5. หลังจากตากแห้งเรียบร้อยแล้วเราก็นำมาผ่าครึ่งแบ่งเป็นเส้น ขนาดเส้นเล็กหรือใหญ่แล้วแต่รูปแบบกระเป๋าที่เราจะสาน

    การจักสานผักตบชวา

          1. การออกแบบมีหลายรูปแบบตามการสั่งงานของลูกค้าจึงกำหนดไม่ได้ว่ามีกี่รูปแบบสมาชิกในกลุ่มฯ จะเป็นผู้ออกแบบแล้วส่งให้ลูกค้าพิจารณาหรือลูกค้าเป็นผู้ออกแบบให้กลุ่มเป็นผู้ผลิต วัสดุที่ใช้ในการทำรองแบบพิมพ์ ใช้โฟมที่มีความหนาขนาด ๒ นิ้ว ติดซ้อนกันให้ได้ตามความหนาตามต้องการ วาดรูปกระเป๋าหรือกล่องที่ต้องการผลิตลงบนแผ่นโฟมเสร็จ แล้วใช้คัตเตอร์ตัดตามรูปแบบ ก็จะได้รองแบบตามต้องการและวัสดุที่ใช้อีกอย่างได้แก่ไม้เนื้ออ่อนมีวิธีการทำเหมือนโฟม

          2. การขึ้นแบบเพื่อจักสานกระเป๋า   ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดจะต้องมีรองแบบ การจักสานกระเป๋าหรือกล่องมีหลายลอดลายได้แก่ ลายเม็ดแตง ลายก้างปลา ลายขัด ลายสายฝน ลายพันต้น ลายเม็ดมะยม ลายมัดหมี่ผัก ลายมัดหมี่เกลียว ลายเถาวัลย์ นำรองแบบมาทำแกนกระเป๋า (หมายถึงเส้นยืน) กระเป๋าบางแบบก็ใส่หูบนรองแบบ เมื่อทำแกนแล้วตามด้วยเส้นสาน ซึ่งจะสานตามลวดลายของแบบที่ต้องการจนเสร็จ สำหรับเส้นยืนและเส้นสาน ใช้เส้นควั่นเกลียว เส้นถักเปีย ลำต้นผักตบชวา จะใช้เส้นชนิดไหนขึ้นกับรูปแบบและลวดลาย

การเก็บขอบ

          3. การเก็บขอบกระเป๋า เมื่อจักสานเสร็จเรียบร้อยตามแบบแล้ว การเก็บขอบจะบิดเส้นผักตบชวาที่เป็นเส้นยืนให้กลมแล้วเสียบลงเส้นสานใช้กรรไกรตัดให้เรียบร้อย

          4. การตกแต่ง ลวดลาย กระเป๋า การตกแต่ง ลวดลาย กระเป๋า โดยการนำผ้าลายที่ต้องการ มาตัดตามแบบขนาดที่เตรียมไว้ เพื่อนำมาทำเป็นโบ เพื่อติดกระเป๋า แล้วแต่ไอเดียของแต่ละคนว่าจะทำออกมาในรูปแบบไหนหรือาจจะใช้ผ้าสีลายฉูดฉาดมาประดับตกแต่งลวดลายเพิ่มความสวยงาม เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ แนวใหม่ ที่เน้นความน่ารัก นำสมัย เหมาะกับลูกค้าทุกกลุ่มพร้อมด้วยดีไซด์สายของกระเป๋าเป็นสายเชือกลูกปัดแบบสวยงาม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยนาท
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา