ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เย็บที่นอน ,หมอน

โดย : นางชูศรี มังจันทึก วันที่ : 2017-03-27-12:49:33

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๒๔ หมู่ที่ ..3.... ซอย เทศบาล ๑๑ ถนน ชัยณรงค์ . ตำบล เขาท่าพระ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

1. ความเป็นมา  

             การเย็บที่นอน มีความประณีต พิถีพิถันด้วยฝีมือการเย็บ มากด้วยต้องมีประสบการณ์ ลวดลายที่นอนเป็นแบบลายไทย สำหรับที่นอนแบบท่อน และแบบชิ้นเดียว เป็นลายข้าวหลามตัด ส่วนที่นอนแบบสามพับติดกัน จะเป็นลายลูกระนาด ที่นอนทุกหลังมีลิ้นผ้าด้านในสำหรับเป็นช่องในการเย็บ และยัดให้เกิดลวดลายที่สวยงาม ไม่ยุบตัวและไม่ปวดหลัง

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

2. กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

             1) การตีนุ่น นำนุ่นที่ได้มาจากต้นนุ่น ฝักนุ่นจะต้องแก่จัด สังเกตุจากฝัก จะมีสีน้ำตาล ฝักแตกออกเห็นใยนุ่น นำมาตากแดดให้แห้งและแกะออกจากฝัก (ในฝักนุ่นมีทั้งเม็ดนุ่น แกนนุ่น และใยนุ่น ปนกันอยู่) พอนุ่นแห้งสนิทดีแล้ว นำเข้าเครื่องปั่นแยก เม็ดนุ่น แกนนุ่น และให้เหลือแต่ใยนุ่นเท่านั้น คนงานจะนำใยนุ่น ที่ได้ใส่กระสอบ พอเสร็จขั้นตอนการปั่นแยกใยนุ่นเรียบร้อยแล้ว จะนำใยนุ่นนำมาตากแดดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ได้นุ่นที่มีคุณภาพมากที่สุด ในการผลิตหมอนและที่นอนนุ่นเป็นลำดับต่อไป

             2) การเย็บที่นอนนุ่น ใช้วัตถุดิบคือ ผ้าไหมญี่ปุ่น มีคุณสมบัติ หนา เงา (ผ้าแจ๊คการ์ด) มีลวดรายบนเนื้อผ้า ระบายอากาศได้ดีและใช้ทนนาน ความหนาของเนื้อผ้าจะช่วยในการป้องกันฝุ่นคลุ้งได้อย่างดี ความเงา ช่วยให้ฝุ่นไม่เกาะติดกับที่นอนง่าย ระบายอากาศได้ดี เพราะคุณสมบัติของผ้าเป็นผ้าเงา ช่วยให้เย็นนอนสบายและใช้ทนนาน คือ เส้นด้ายที่ใช้ในการทอ มาเป็นผืนมีความคงทน แข็งแรง และหนาแน่น ใช้งานได้นานกว่า 5 ปีขึ้นไป

3) การยัดที่นอน เป็นขั้นตอนที่ยากและต้องใช้ข้อมือที่แข็งแรง เป็นงานฝีมือของผู้ชำนาญงาน ต้องใช้แรงใน

การยัดนุ่นใส่ช่องลิ้นผ้าให้แน่นและเสมอกันทั้งพับของที่นอน วิธีการคือ นำใยนุ่นที่ได้จากผ่านขั้นตอนปั่นแยก นำมายัดใส่ในที่นอนที่ทำการเย็บเสร็จเรียบร้อย และมีลิ้นผ้าคอยกั้นให้เกิดลวดลาย ในการยัดนุ่นจะต้องยัดให้แน่นๆ ด้วยฝีมือของผู้มีความชำนาญงาน เพื่อให้เกิดลวดลายนูนบนที่นอน และที่นอนจะไม่ยุบตัวง่ายเหมาะสำหรับคนที่ปวดหลัง
สำหรับความหนาของที่นอนขั้นต่ำ ประมาณ 3-4 นิ้วขึ้นไป ความหนาสูงสุดไม่เกิน 10 นิ้วค่ะ    

4) การคัดที่นอน คือ การทำให้ที่นอนมีความประณีตเรียบร้อยด้วย การหยิบริมหรือเรียกว่า คัดหน้าที่นอน

ด้วยด้ายสีขาว ให้เป็นสองชั้น ทั้งแปดด้านของที่นอน(ด้านหน้า – ด้านหลัง)
          5) การห่อที่นอน คือ การใช้พลาสติกใสห่อแต่ละพับและใช้ความร้อนปิดพลาสติกไว้ ให้เรียบร้อย เสร็จขั้นตอนนี้แล้ว ก็นำออกจัดจำหน่าย

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยนาท
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา