ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกกล้วย

โดย : นางสาวทิพวัลย์ สุขสันต์ วันที่ : 2017-03-27-12:17:30

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ .......๑๓........ หมู่ที่ ..7..... ซอย ....- ตำบล ........ธรรมามูล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

1. ความเป็นมา  

             เป็นคนชอบปลูกผักทำสวน ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การปลูกกล้วยเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ไม่ยาก ตนเองทดลองปลูกเอง และสอบถามเพิ่มเติมจากผู้ใหญ่ จึงปลูกกล้วยจนเชี่ยวชาญสามารถเป็นรายได้เสริมให้ตนเองได้

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

2. กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ       

๑) เลือกพันธุ์กล้วยให้เลือกจากการเพาะเนื้อเยื่อ จะทำให้กล้วยปลอดโรคและออกลูกได้พร้อมกันและเลือกหน่อกล้วยที่สมบูรณ์แข็งแรง

๒) ทำการเตรียมดินโดยการไถแปร ตากดินประมาณหนึ่งเดือนแล้วกำหนดระยะและขนาดหลุมปลูกโดยระยะที่เหมาะสมคือ 4x4 เมตร และควรขุดหลุม 50x50x50 เซนติเมตร การขุดหลุมขนาดนี้จะทำให้กล้วยหากินได้ไกลขึ้น

๓) ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ ๒ กิโลกรัม รองหนาขึ้นมาประมาณ ๓๐ เซนติเมตร แล้วจึงปลูกต้นกล้วยและกลบบริเวณโคนต้นให้แน่นทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้นของดินและควรรองก้นหลุมด้วยฟูราดานป้องกันหนอนกอกล้วยประมาณ ๑ ช้อนโต๊ะ ต่อหลุมปลูกเสร็จให้น้ำตามทันทีให้ชุ่มชื้นพอเพียง

๔) ในระยะเดือนแรกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและดินต้องชุ่มชื้นเพียงพอเป็นเดือนที่ต้องการเอาใจใส่อย่างมากและเริ่มให้ปุ๋ยสู๖ณ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัมต่อต้น หลังปลูกได้ 1 เดือนและเดือนที่ ๒ ส่วนเดือนที่ ๓ ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทน เดือนที่ ๔ การเจริญเติบโตเร็วมากทั้งความสูงและรอบต้นถือว่าเดือนนี้เป็นเดือนที่รอดตายในช่วง 1-6 เดือน หลังปลูกการดูแลทำเช่นกันโดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทนและงดใส่ปุ๋ยจนกว่าจะแทงปลี เมื่อเข้าสู่เดือนที่ ๙ กล้วยจะเริ่มแทงปลีหรือการตกเครือ เพียงแค่ปฏิบัติตามขั้นตอนเพียงเท่านี้เราก็จะมีกล้วยน้ำว้าที่ลูกใหญ่และดกถึงเครือละไม่ต่ำกว่าสิบหวีไว้บริโภคและจำหน่าย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยนาท
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา