ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่

โดย : นายธวัชชัย เอี่ยมจิตร์ วันที่ : 2017-03-27-11:31:45

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ .......๑2........... หมู่ที่ ..4.... ซอย ....-.... ตำบล ........ธรรมามูล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

1. ความเป็นมา  

  ศูนย์เรียนรู้พันธุ์ข้าวชุมชนบ้านดักคะนน ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ในส่วนของเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้ พื้นที่ชัยนาทเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มีแม่น้ำสายหลักไหลผ่าน คือแม่น้ำเจ้าพระยา และมีเขื่อนเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลาง จึงมองว่าจะทำกิจกรรมในเรื่องของทำนา เพื่อสืบทอดยุวเกษตร ภูมิปัญญาการทำนา สู่เด็กและเยาวชน ถ้าเราทำนาอย่างเดียว หรือเชิงเดี่ยว รายได้จะมีจากการขายข้าวอย่างเดียว ซึ่งมองว่าไม่ยั่งยืน จึงยึดพระราชดำรัสของพระองค์ท่านมาใช้ ทำอะไรให้มีสามห่วงสองเงื่อนไข โดยเฉพาะ ความพอประมาณ การมีเหตุผล สิ่งที่ได้ ภายในศูนย์ฯ ไม่ใช่มีแต่เรื่องข้าวอย่างเดียว มีเรื่องของแหล่งน้ำ การเลี้ยงปลา เป็ด ทำนา ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ขายได้ราคาสูงกว่าข้าวปกติ มีการปลูกผัก ไม้ผล เช่น ส้มโอ อีกส่วนหนึ่งเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ทำให้ศูนย์เดินไปด้วยความมั่นคงเพราะมีแรงหนุนจากบ้าน วัด โรงเรียน แม้ปี 2554 ประสบอุทกภัย แต่ศูนย์เดินต่อมาได้เนื่องจากเราน้อมนำปรัชญาของพระองค์ท่านมาใช้ทำให้ศูนย์เกิดความมั่นคง

ศูนย์ฯ มีภูมิคุ้มกันตนเองช่วงประสบภัย สามารถยืนหยัดกลับมาได้ ในวันนี้จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่พร้อมให้เยาวชนมาเรียนรู้ ตั้งแต่อายุ 10-15 ปี มาทำกิจกรรมเกษตรทฤษฎีใหม่ภายในศูนย์นี้ เดิมศูนย์ปลูกข้าว กข ปัจจุบันเปลี่ยนมาปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรทั่วไปได้รับผลกระทบราคาข้าวตกต่ำ ทำให้ชาวนาส่วนหนึ่งได้หันมาปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ และเลิกใช้สารเคมี ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น โดยทางศูนย์ได้ผลิตข้าวถวายให้กับวัดในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วัดได้นำไปแจกชาวบ้าน ชาวบ้านเริ่มสนใจปลูกข้าวไรซ์เบอรี่มากขึ้น แม้จะไม่ทั้งหมด โดยเก็บไว้กินเองและแจกจ่ายญาติพี่น้อง ตอนนี้ข้าวไรซ์เบอรี่ของศูนย์ติดตลาดมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมกับความสำเร็จของศูนย์ฯ คือการสร้างเด็กให้เป็นชาวนาที่มีคุณภาพ สร้างอาชีพ สร้างรายได้เป็นของตัวเอง สามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นโดยนำความรู้ที่ได้จากศูนย์ฯไปต่อยอดแล้วกลับมาพัฒนาอาชีพของปู่ย่าตายายของเขาด้วย อีกส่วนหนึ่งเราต่อยอดเด็กรุ่นใหม่ให้เป็นเจ้าของแปลงนา ล่าสุด เยาวชนของเราได้รับรางวัลจาก ททบ.5 ในเรื่องของการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้

             ภายในศูนย์ฯสอนให้เด็กๆ ทำนาเป็นดูแลครัว หุงข้าว ทำอาหาร หาปลา ฝึกว่ายน้ำ พายเรือ ต้องเป็นทุกอย่าง การเก็บกวาด ทำความสะอาด แยกขยะ ซึ่งทำให้เด็กสามารถพึ่งพาตนเองได้ อย่างไรก็ตาม ศูนย์ฯ จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนไม่ได้มาจากการหนุนจากรัฐเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญคือความร่วมมือของ บ้าน วัด และโรงเรียน จะเป็นพลังให้ศูนย์ฯเดินไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์ฯ ตั้งอยู่ที่วัดดักคะนน ตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ทุกวัน หรือติดตามทางเฟสบุค "ข้าวไรซ์เบอรี่ชัยนาท"

 

 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

2. กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

1) การเลือกพื้นที่ปลูก : เราเลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง                  

2) การเตรียมดิน : การเตรียมดินเพื่อปลูกข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่ ถือเป็นหัวใจหลักของการผลิต เพราะถ้าเตรียมไม่ดีพอ จะส่งผลเสียในการผลิตคราวนั้นๆและคราวต่อๆไป เราจึงต้องปรับสภาพดินให้เหมาะสมที่สุดต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของข้าว  โดยการหมักดินด้วยจุลินทรีย์ที่เราผลิตเองตามคำแนะนำของกรมการพัฒนาที่ดิน เพื่อให้ช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิด จากนั้นจึงไถดะ ไถแปร คราด และทำเทือก

3) วิธีปลูก : การปลูกข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่ ใช้วิธีปักดำ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะการเตรียมดิน ทำเทือก การควบคุมระดับน้ำในนาจะช่วยลดปริมาณวัชพืชได้  และการปลูกกล้าข้าวลงดินจะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำ มีอายุประมาณ 20 วัน เป็นต้นกล้าที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี ปราศจากโรคและแมลงทำลาย   เพราะเราใช้เชื้อราไตโคเดอร์มาจากศูนย์ควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี จ.ชัยนาท มาใช้แช่เมล็ดพันธุ์ก่อนทำการเพาะ      

4) การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน

              (1) การจัดการดินเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสม เราไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุและ จุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ - เราเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินโดยการปลูกพืชโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วในที่ว่างในบริเวณพื้นที่นาตามความเหมาะสม แล้วใช้อินทรียวัตถุที่เกิดจากการเลี้ยงไส้เดือน ทั้งมูลและน้ำเลี้ยง บำรุงทั่วแปลงนาอย่างต่อเนื่อง ทั่วทั้งแปลงจึงอุดมสมบูรณ์ สังเกตได้จากมูลไส้เดือนกระจายตัวอยู่ทั่วไป ทำน้ำหมักชีวภาพ หรือน้ำสกัด เราทำใช้เองจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ในครัวเรือน นำมาหมักร่วมกับกากน้ำตาล ละลายน้ำ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยนาท
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา