ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การอนุรักษ์ป่ายชายเลน

โดย : นายสมิต ธารา วันที่ : 2017-03-16-16:14:58

ที่อยู่ : 71/3 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองตำหรุ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในอดีตตำบลคลองตำหรุ เคยได้ชื่อว่าเป็นตำบลที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์น้ำป่าชายเลน ของจังหวัดชลบุรี แต่ในปัจจุบันจากสภาพการขยายตัวอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรมและการเจริญเติบโตของชุมชน ตลอดจนการทำนากุ้ง ที่ล้ำเกินเข้าไปในผืนป่าชายเลน ทำให้พื้นที่ป่าที่เคยใช้ใน การเป็นที่อยู่อาศัยขยายพันธ์ของสัตว์น้ำ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ ดำรงชีวิตเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของคนในชุมชนหมดไป กลายเป็นที่อยู่อาศัยของคนและโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนจำนวนมาก ที่เคยใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์น้ำป่าชายเลนในการเลี้ยงชีพ จนกระทั่งสัตว์น้ำบางชนิดสูญพันธุ์ไปก็มี

                   ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2538 องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตำหรุ ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา การลุกล้ำพื้นที่ป่าชายเลน จากชาวบ้านเพื่อประกอบอาชีพทำนากุ้ง ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก ด้วยการใช้วิธีเจรจา สร้างความเข้าใจในเรื่องสิทธิ และเขตพื้นที่ครอบครองที่ดินในการประกอบอาชีพ ชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเยี่ยม โดยยินยอม อพยพออกจากพื้นที่ ด้วยความสมัครใจ หลังจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลคลองตำหรุ ได้จัดหางบประมาณ ทำโครงการขุดคลองกั้นเขตเป็นกันชนระหว่างพื้นที่ของชาวบ้านและป่าชายเลนออกจากกันอย่างชัดเจนเป็นระยะทางยาวประมาณ 6,000 เมตร จากพื้นที่ที่ขอคืนมาจากชาวบ้านมีเนื้อที่กว่า 450 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างเปล่าและพื้นที่ข้างเคียงก็เป็นพื้นที่เสื่อมโทรมจากสารเคมีตกค้างที่ชาวบ้านเคยใช้ฆ่าปลาหมอเทศและสัตว์น้ำส่วนเกินในบ่อกุ้งนั่นเอง

                   ปี พ.ศ. 2544 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองตำรุ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและประชาชน ได้ร่วมกันทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 72 พรรษา ขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากสิ้นสุดกิจกรรมของโครงการ ปรากฏว่าโครงการที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จ เปอร์เซ็นต์รอดต่ำ มีผลมาจากเป็นที่พื้นดินเสื่อมสภาพ หรือดินตาย จากการใช้สารเคมีฆ่าปลาในบ่อกุ้ง ทำให้สารเคมีตกค้างทั่วพื้นที่ข้างเคียง จากนั้น นายสมิต ธารา จึงได้ริเริ่มชักชวนชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่มีจิตอาสารเสียสละ ร่วมกันสานต่อโครงการปลูกป่าต่อจากโครงการเดิม

ปี พ.ศ.2545 ส่วนบริหารจัดการป่าชายเลนที่ 1 จังหวัดชลบุรี และสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 5 (ชลบุรี) ได้เข้ามาสนับสนุนงบประมาณและพันธุ์กล้าไม้ให้ชาวบ้านได้ดำเนินการปลูกต่อมาอย่างจริงจัง โดยมีกลุ่มจิตอาสาเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและปัญหาแต่อย่างใด

                   ปี พ.ศ.2547 ส่วนบริหารจัดการป่าชายเลนที่ 1 ชลบุรี และสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 5 (ชลบุรี) ได้ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมให้ความรู้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ชายฝั่ง หมู่ 1 หมู่ 4 และ หมู่ 6 เสริมสร้างความรู้ในด้านบริหารจัดการ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนอย่างเข้มข้น และยังส่งเสริมผลักดันให้ชาวบ้านท่านการฝึกอบรมและประชาชนในพื้นที่ จัดตั้งกลุ่มองค์กรภาคประชาชนเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน ในการแก้ไขปัญหาป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนมา เป็นการจุดประกายสร้างขวัญกำลังใจอย่างจริงจัง ใช้หลักการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา ทำให้สัตว์น้ำที่เคยหมดไปได้กลับคืนมา และพลิกฟื้นผืนป่ากลับมาเป็นผืนป่าที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ และอุดมสมบูรณ์ที่สุดด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์นำป่าชายเลนของจังหวัดชลบุรี ภายใต้ชื่อกลุ่มที่มีชื่อว่า “กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อการพัฒนาอาชีพตำบลคลองตำหรุ” ร่วมกันกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการ กำหนดระเบียบข้อบังคับ เพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติร่วมกัน และกำหนดโครงการร่วมกันชื่อ โครงการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พัฒนาอาชีพและฟื้นฟูป่าชายเลน เป็นกิจกรรมทำร่วมกันมาอย่างเข้มแข็ง ด้วยการรู้จักการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความผูกพัน เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างจริงจัง และให้ชุมชนรู้จักการเคารพความคิดเห็นที่ขัดแข็งกันอย่างมีสติ โดยการน้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้ในการดำเนินชีวิตของชุมชนตลอดมา

                   ปัจจุบันกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนฯ โดยการนำของ นายสมิต ธารา ประธานกลุ่มฯ ได้เป็นผู้ประสานงาน เชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุนงบประมาณ และโครงการปลูกป่า พร้อมทั้งปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างต่อเนื่อง และช่วยกันรณรงค์ปลูกจิตสำนึก ให้ประชาชนและเยาวชนให้ตระหนักถึงคุณค่าป่าชายเลน โดยร่วมกัน ลด เลิก การใช้สารเคมีในบ่อกุ้งและแหล่งน้ำต่าง ๆ แก้วิกฤตให้เป็นโอกาส โดยการนำปลามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและปุ๋ยชีวภาพ ส่งผลให้สัตว์น้ำกลับคืนมาอย่างรวดเร็ว สำหรับใช้เลี้ยงชีพของคนในชุมชนและตำบลข้างเคียง สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านอย่างมั่นคง สำหรับกลุ่มอนุรักษ์ฯ ยังสร้างผลงาน สร้างชื่อเสียง กิจกรรม ความภูมิใจให้กับหมู่บ้าน/ตำบล สู่ระดับจังหวัดและประเทศ จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นผืนป่าที่ใหญ่ และอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดชลบุรี จากความร่วมแรงร่วมใจของประชาชน เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชนและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นสมบัติของชาติและประชาชนอย่างยั่งยืนตลอดไป

วัตถุประสงค์ ->

-

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. จัดประชุมประชาคมชาวบ้านในหมู่บ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจในการอนุรักษ์ป่าชายเลน

2. จัดทำแผนการพัฒนาฟื้นฟูผืนป่าชายเลน/กำหนดกิจกรรมในการพัฒนาฯ

3. ดำเนินกิจกรรมตามแผนฯ

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชลบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา