ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกกุ้ยช่าย

โดย : นางสาวกอบแก้ว นิรันตราย วันที่ : 2017-03-15-17:11:44

ที่อยู่ : 29 หมู่ 5 ต.หนองซ้ำซาก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กุ้ยช่ายเป็นพืชล้มลุกที่อยู่ในตระกูลเดียวกับต้นหอมและกระเทียม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้นานประมาณ 3 ปี เมื่อนำมาปรุงอาหารจะมีคุณสมบัติทางยา เนื่องจากมีสารแคโรทีนและวิตามินซีสูง ดอกและใบนิยมใส่แกงเลียง มีสรรพคุณเป็นยาประสานน้ำนม เมล็ดใช้ทำยาขับพยาธิเส้นด้าย ใบนำไปทำเป็นขนมกุ่ยช่าย ใส่ก๋วยเตี๋ยว ใส่ผัดไท ดอกนำไปผัด มีคุณสมบัติเฉพาะตัวประกรอบ ทำให้เป็นที่นิยมใช้ประกอบอาหารรับประทานตามห้าง และร้านอาหาร ภัตาคารต่างๆ

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมแปลง
1. พื้นที่ที่มีระบบน้ำขังตลอด
– ทำการยกร่องสูงประมาณ 1 เมตร กว้าง 3-5 เมตร ความกว้างของร่องประมาณ 1.5-2 เมตร
– ไถพรวนแปลงเพื่อตากแดด 1 ครั้ง ตากแดดประมาณ 5-10 วัน
– ทำการหว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยมูลสัตว์ ร่วมด้วยกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตราส่วนปุ๋ยหมักต่อปุ๋ยเคมี 15:1 ใส่ในอัตรา 1000 กก./ไร่ พร้อมไถแปรอีกครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน ก่อนปลูก

2. พื้นที่ดอนหรือไม่มีน้ำท่วมขัง
– ทำการยกร่องสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 1.5-2 เมตร ความกว้างของร่องประมาณ 50-70 เซนติเมตร
– ไถพรวนแปลง และหว่านปุ๋ยตามวิธีขั้นต้น

การปลูก
1. กุยช่ายเขียว
1.1 กุยช่ายเขียวจากการหว่านแปลง
– หลังจากเตรียมแปลงเสร็จประมาณ 1 อาทิตย์ ให้หว่านด้วยเมล็ดพันธุ์ในอัตรา 1 กก./ไร่
– คราดด้วยคราด 1 รอบ พร้อมคลุมแปลงด้วยฟางข้าวหรือแกลบ
– รดน้ำให้ชุ่ม
– ดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ย จนอายุประมาณ 7-8 เดือน ก็สามารถเก็บขายได้
1.2 กุยช่ายเขียวจากการแยกเหง้าปลูก
– ใช้วิธีการปลูกแบบกุยช่ายขาว ในหัวข้อ 2.2 โดยไม่มีการคลุมด้วยวัสดุทึบแสงเท่านั้นเอง การผลิตกุยช่ายเขียวกับกุยช่ายขาวจะทำการสลับกันเป็นรุ่นๆในแปลงเดียวกัน
– ดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ประมาณ 4 เดือน หลังปลูกก็สามารถตัดใบขายได้

2.2 ขั้นตอนการปลูก
– ใช้กล้าพันธุ์ที่เตรียมได้จากเหง้ากุยช่ายเขียว ที่มีการตัดใบจำหน่ายแล้ว อย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ไม่ควรเกินอายุ 1 ปี หรืออาจใช้ต้นกล้าอายุตั้งแต่ 3-4 เดือน
– ทำการขุดเหง้ากุยช่าย และเก็บไว้ในที่ร่ม แต่ควรปลูกทันทีเมื่อขุดเหง้าขึ้น
– ทำการตัดรากให้ชิดเหง้าประมาณ 1 เซนติเมตร และตัดใบให้เหลือประมาณ 1 นิ้ว
– ปลูก 4-6 เหง้า/หลุม ในระยะระหว่างต้น และระหว่างแถว 30×30 เซนติเมตร เว้นขอบแปลงด้านละ 15 เซนติเมตร แปลงขนาด 1.3-1.5 เมตร จะได้ประมาณ 4-5 แถว
– ดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ย และเก็บเกี่ยวกุยช่ายเขียว กุยช่ายดอกจำหน่ายแล้ว จนถึงอายุประมาณ 1 ปี จะเหมาะสำหรับผลิตเป็นกุยช่ายขาวได้
– การตัดใบกุยช่ายเขียวจำหน่ายครั้งสุดท้าย ให้ตัดใบในระดับผิวหน้าดิน
– ใช้กระถางครอบแต่ละกอต้นกุยช่าย โดนออกแรงกดให้กระถางจมลงดินเล็กน้อยหรือให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดการล้มของกระถางได้
– ขุดหลุมฝังเสาไม้ พร้อมขึงตาข่ายพรางแสง
– รดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ในระยะ 10 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้

การดูแล
ทั้งกุยช่ายเขียวจากการหว่านแปลง และแยกเหง้าปลูก กุยช่ายขาว และกุยช่ายดอก มีขั้นตอนการดูและ ดังนี้
– ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง ทุกวัน ในช่วงเช้า
– ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปุ๋ย ปุ๋ยคอก 500 กก./ไร่ ปุ๋ยเคมี 50 กก./ไร่ ในทุก 2 เดือน/ครั้ง

การเก็บผลผลิต
1. กุยช่ายเขียว
1.1 กุยช่ายเขียวจากการหว่านแปลง
– สามารถตัดใบจำหน่ายได้หลังปลูกประมาณ 7-8 เดือน และครั้งต่อไปประมาณ 45 วัน
1.2 กุยช่ายเขียวจากการแยกเหง้าปลูก
– สามารถตัดใบจำหน่ายได้หลังปลูกประมาณ 4 เดือน
– การตัดใบครั้งต่อไป สามารถทำได้ในระยะประมาณ 45 วัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชลบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา