ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ดฟาง

โดย : นางวิรยา จมจา วันที่ : 2017-03-13-05:57:03

ที่อยู่ : 147 หมู่ 3 ตำบลพลวงทอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าพเจ้ามีอาชีพเกษตรกรรม เมีอปีพ.ศ.2549 ได้ไปศึกษาดูงานกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ที่จังหวัดนครนายก เรื่องการเพาะเห็ดฟาง และไปดูอีกหลายที่ จึงมีความสนใจที่จะทำเผื่อว่าจะเป็นอาชีพเสริมได้ จึงได้เริ่มทำ

การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน เป็นการใช้ความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่เข้าช่วยในทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโต จนกระทั่งเกิดดอกและเก็บเกี่ยว ซึ่งผู้ที่จะเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน จึงควรจะผ่านการเพาะเห็ดแบบกองสูงหรือกองเตี้ยมาแล้ว เพื่อจะได้ทราบถึงความต้องการปัจจัยต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตของเห็ดฟางทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต ทั้งนี้เพราะการเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ต้องลงทุนครั้งแรกสูงมากในด้านการก่อสร้างโรงเรือน เครื่องกำเนิดไอน้ำ และอุปกรณ์อื่น ๆ มีขั้นตอนในการเพาะเห็ดมากขึ้น โดยจะต้องหมักปุ๋ยที่จะใช้เพาะ, นำมาตีให้ละเอียด, ใส่ในโรงเรือน, เลี้ยงเชื้อรา, อบฆ่าเชื้อ, ปรับอุณภูมิความชื้นและแสง เป็นต้น หากปรับสภาพแวดล้อมไม่ถูกวิธีอาจทำให้เสียทั้งหมดได้

             ข้าพเจ้าเริ่มจากสร้างโรงเพาะเห็ดฟาง จำนวน 2 หลัง ราคาประมาณ 10,000 บาท ซี่งในระยะเริ่มแรกได้มีการทดลองทำไปมาจนกลายเป็นอาชีพ  ปัจจุบันมี อาคารโรงเพาะเห็ดฟาง จำนวน 36 หลัง  มีรายได้ต่อเดือน 100,000 บาท

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเพิ่มรายได้และเป็นอาชีพของคนในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. ทะลายปาล์มน้ำมันจากโรงงาน

    2. อาหารเสริมเป็นสิ่งสำคัญในการเพาะเห็ด เพราะวัสดุที่นำมาใช้มีธาตุอาหารน้อย จึงต้องเพิ่มสารอาหารให้แก่แปลงเห็ด

          3. เชื้อเห็ดฟาง ควรเป็นเชื้อเห็ดพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง และเชื้อเห็ดไม่ควรแก่หรืออ่อนจนเกินไป

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.      นำทะลายปาล์มน้ำมันมาแช่น้ำไว้ประมาณ 3 วัน คลุมด้วยผ้าพลาสติก

2.      หมักจนครบกำหนด จึงนำทะลายปาล์มมาเรียงเป็นแถวๆ บนชั้นเพาะเห็ด

3.      ทำการอบฆ่าเชื้อ โดยก่อไฟแล้วปล่อยควันไฟไห้ลอยเข้าไปในโรงเห็ด ประมาณ 6-7 ชั่วโมงในระยะเวลา 2-3 วัน โดยต้องทำการอบทั้งวัน

4.      เตรียมเชื้อเห็ดฟางผสมกับอาหารเสริม หว่านบนแถวที่เตรียมไว้

5.      ปิดโรงเพาะเห็ดให้สนิท หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน และวันที่ 4 ค่อยเปิดดู เมื่อเห็ดเดินใยก็เอาน้ำฉีด ฉีดทุกชั้น และให้อุณหภูมิที่ 35 องศา (ห้ามให้เกิน ถ้าเกินเห็ดจะฝ่อ) จากนั้นก็ทำการเปิดประตูโรงเพาะเห็ดเพื่อให้ระบายอากาศ

6.      หลังจากนั้นเปิดดูทุกวันได้ อีกประมาณ 7-10 วัน ดอกเห็ดก็จะออก และสามารถเก็บผลผลิตขายได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชลบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา