ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสานโอ

โดย : นางไฉน แถมเปลี่ยน วันที่ : 2017-03-02-16:39:50

ที่อยู่ : 14 ม.5 ต.วัดโบสถ์ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

“โอ” เป็นการจักสานชนิดหนึ่ง เดิม นางฉลวย  ทองนพคุณ เป็นผู้นำมาเผยแพร่ และ สอนให้คนในชุมชนฝึกทำ จนชำนาญ และ เป็นผู้สนับสนุน รวบรวมรับเอาผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย ต่อมามีการสอนสืบทอด สอนกันจากรุ่นพี่ สู่รุ่นน้องมานาน ประมาณ 40 กว่าปีมาแล้ว ได้จักสานกันเรื่อยมาแพร่หลายทั้งตำบล และปัจจุบันมีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายหลายแห่ง ทั้งมารับซื้อถึงหมู่บ้าน และ ส่งขายที่ตลาดจักสานในตัวอำเภอ

 

วัตถุประสงค์ ->

“โอ” เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำออกจำหน่ายได้ตลอดเวลา แล้วยังทำเป็นของชำร่วยสวยงาม ทำโมบายพวงกุญแจ และ ทำเป็นวัตถุมงคล เป็นที่นิยมของคนทั่วไป สำหรับ”โอ” ใบใหญ่ ก็สามารถทำเป็นแจกันปักดอกไม้สวยงาม ตั้งโต๊ะ รับแขก ได้อีกด้วย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

             - ไม้ไผ่นวล

             - น้ำมันยาง หรือ วานิช                          

             - น้ำ

อุปกรณ์ ->

                        - มีด ขนาดต่าง ๆ (มีดปลายแหลม,มีดโต้,มีดเหลาไม้ไผ่,มีดเหลาตอก) , กรรไกร

                         - เลื่อย

                         - ฝากระป๋องเจาะรูเล็กๆ สำหรับชัดเลียดตอกให้ได้ขนาด

                         - พิมพ์สร้างก้น

                         - พิมพ์ก่อปาก 

                         - ผ้าพันนิ้วเวลาเหลาตอกกันตอกบาดมือ

                         

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                        1. นำไผ่ปล้อง สีนวล ยาวพอประมาณ ขูดผิวทิ้งไปตัดส่วนที่เป็นข้อออก

                        2. ผ่าแบ่งครึ่งแล้วแยกอีกเป็นซีกเล็ก ๆ พอจักสาน จักช่วงที่เป็นขี้ไม้ทิ้งไป จักแบบๆ บางๆ พอประมาณ ควรแยกส่วนที่ติดผิวไว้ต่างหาก แล้วนำตอกที่จักแล้วไปต้มในน้ำเดือด ประมาณ 3 -5 นาที แล้วนำขึ้นมาผึ่งให้แห้ง นำส่วนหนึ่ง แบ่งมาทำเป็นตอกยืน หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “ตอกซัง”ตามสมัยโบราญ อีกส่วนหนึ่งแบ่งนำมาใช้มีดปลายแหลมกรีดเป็นเส้น เล็กๆ แล้วนำมาใส่รูฝากระเป๋า ที่เจาะเตรียมไว้ ค่อย ๆ ดึง เรียกว่า “ชักเลียด” เพื่อให้ตอกมีความอ่อนแข็ง และขนาด เสมอกัน เหมาะสำหรับการสาน สำหรับตอกที่นำมาเป็นตอกยืนยาวประมาณ 16 ซม. ใช้มีดผ่าตอดยืน ออกเป็นเส้นเล็กอย่างที่เห็นในภาพ แล้วนำมาเหลา หรือ ขูด อย่าให้อ่อนเกินไป หรือ แข็งเกินไป

                          3. ใช้กระป๋อง หรือ ภาชนะที่เรียบ ระดับความสูงตามถนัด วางตอกยืน 6 เส้น ไข้วเป็นวงกลม 

                         4. นำตอกที่เราชักเลียดแล้ว เหลาปลายตอกให้นิ่มสักหน่อย เพื่อสะดวกกับการสอดขัดเป็นวง ประมาณ แล้วแต่ขนาดของโอ โดยใช้ตอกสองเส้นสานขัดกันเป็นวงรอบเส้นตอกยืน

                             5. จากนั้นนำพิมพ์ก้น ขึ้นตั้งบนภาชนะ แล้ววางตอกที่วางไว้ขึ้นบนพิมพ์ แล้วค่อยสานขัดเป็นวงรอบมาก – น้อย ตามแต่ที่เราต้องการ

                         6. นำจักสานส่วนก้นถอดออกจากพิมพ์ และใช้มือสานประคองเป็นวงรอบจำนวนรอบพอประมาณ ให้รูปทรงได้ดังในภาพ

                         7. ใช้มือประคอมบีบเบา ๆ เข้าหากันสานต่อไปจนได้ขนาดปากเล็กลงเรียกว่าส่วน “คอ” นำพิมพ์”ก่อปาก”ที่เตรียมไว้ใส่ลงไปตรงช่องคอ ค่อย ๆ ประคองสานรอบ ๆ คอ คอย ๆ ใช้มีดปลายแหลมสะกิดให้ตอดสนิทกัน เพื่อให้ได้ความสวยของรูปโอ แล้วสานตามขึ้นมาให้เป็นปาก พอประมาณ จากนั้นถอกพิมพ์ปากออก

                         8. พับปากหนึ่งพับ สองพับ ตามเรื่อยมา ถึง สามเส้นสุดท้าย ให้พับสอดเข้าไปในช่องว่าง ดึงแต่ให้เรียบแน่น

                         9. จากนั้นนำไม้ส่วนด้านผิวที่แยกไว้ มากรีดเหลาให้พอดี ตัดให้ยาวประมาณ 3 - 5 ซม. ตามความต้องการ เสียบเป็นภู รอบตัว 6 ภู เสียบภูละ 3 เส้น  ไข้วกันดังภาพ ตกแต่งตอกให้เรียบร้อย ก่อนจะนำจำหน่าย ให้ทาชโลม น้ำมันยาง หรือ วานิช เพื่อเป็นความสวยงาม คงทน และ กันเชื้อรา ที่จะขึ้นกับเนื้อไม้

 

ข้อพึงระวัง ->

ข้อพึงระวัง

                         1. การย้างไม้ไผ่ย้างพอหมาด ๆ ใช้ไฟอ่อนๆ

                         2. ระหว่างการจักสานควรใช้ไม้ไผ่จุ่มน้ำเพื่อให้ไม้ไผ่อ่อนตัว

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชลบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา