ความรู้สัมมาชีพชุมชน

พรมทอมือเอนกประสงค์

โดย : นางอุษา วัฒนะ วันที่ : 2017-03-06-08:08:19

ที่อยู่ : 16/1 ม.1 ต.บ้านปึก อ.เมืองชลบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                     ในอดีต “ตำบลบ้านปึก” อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พื้นทีตั้งอยู่ใกล้ทะเล ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง อาชีพเสริมคือการทอผ้า เช่นผ้าถุง ผ้าขาวม้า   ผ้าโสร่งไว้ ใช้เอง สั่งซื้อวัตถุดิบ(ด้ายทอ) มาจากตำบลอ่างศิลาที่ผ่านกระบวนการย้อมสีเรียบร้อยแล้ว มาขยำรวมกับข้าวสุกเพื่อให้เส้นด้ายเหนียวและมีความคงทน ความเจริญทางด้านสังคมและประชาชนส่วนใหญ่ออกไปทำงานนอกบ้าน ไม่สนใจอาชีพทอผ้าคงเหลือไว้เพียงผู้สูงอายุที่ไม่สามารถออกไปทำงานนอกบ้านประมาณ 4- 5 คน นำโดยนางไอร์  เสริมศรี  ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษ

             ประมาณปี พ.ศ. 2545 การทอผ้าบ้านปึกกลับมาฟื้นฟูอีครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากสภา-วัฒนธรรมและนางไอร์  เสริมศรี  ถ่ายทอดความรู้การทอผ้าให้กับเยาวชนในโรงเรียนวัดใหม่เกตุงาม เมื่อปีพ.ศ. 2553 นางไอร์  เสริมศรี ได้เสียชีวิตลง ผ้าทอบ้านปึกก็ได้หยุดดำเนินการไป

   นายนคร วรรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านปึก ได้รวมกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ด้านทอผ้า ประกอบด้วย 1. นายสมพร      พรหมอินทร์        ความรู้ด้านการขึ้นเชือก

    2. นายจำนอง     จิระประภาภรณ์   ความรู้ด้านการขึ้นเชือก

     3. นายประดิษฐ์   ทองวิบูลย์          ความรู้ด้านการขึ้นเชือก

     4. นางมานะ       จันทร์กล่ำ          ความรู้ด้านทอผ้า

    5. นางสุภา         เฟื่องฟูผล          ความรู้ด้านการทอผ้า 

มาถ่ายทอกการทอและปรับใช้ในการทำพรมทอมือ และด้านเรียนเชิญวิทยากรจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ออกแบบลวดลาย ขั้นตอน วิธีการทำพรมทอมือแบบต่าง ๆ ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการหาซื้อเศษผ้าที่เหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับกลุ่ม ลวดลายจะเป็นแบบดั้งเดิมการขึ้นเชือกแต่ละครั้งต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง สินค้าที่ผลิตได้ก็จำนวนน้อย กลุ่มจึงได้หาเครื่องทอมือที่ใช้เวลาในการขึ้นเชือกเร็วและสามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากขึ้น ลวดลายที่ทอในครั้งแรกจะเป็นลายไส้ปลาไหล ปัจจุบันกลุ่มได้พัฒนาลวดลายจำนวนมากเช่น ลายธนู ลายตาราง ลายหมากฮอส  ลายก้างปลา  ลายลูกกวาด ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปและสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาดูงานให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน       

                     ในอดีต “ตำบลบ้านปึก” อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พื้นทีตั้งอยู่ใกล้ทะเล ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง อาชีพเสริมคือการทอผ้า เช่นผ้าถุง ผ้าขาวม้า   ผ้าโสร่งไว้ ใช้เอง สั่งซื้อวัตถุดิบ(ด้ายทอ) มาจากตำบลอ่างศิลาที่ผ่านกระบวนการย้อมสีเรียบร้อยแล้ว มาขยำรวมกับข้าวสุกเพื่อให้เส้นด้ายเหนียวและมีความคงทน ความเจริญทางด้านสังคมและประชาชนส่วนใหญ่ออกไปทำงานนอกบ้าน ไม่สนใจอาชีพทอผ้าคงเหลือไว้เพียงผู้สูงอายุที่ไม่สามารถออกไปทำงานนอกบ้านประมาณ 4- 5 คน นำโดยนางไอร์  เสริมศรี  ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษ

             ประมาณปี พ.ศ. 2545 การทอผ้าบ้านปึกกลับมาฟื้นฟูอีครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากสภา-วัฒนธรรมและนางไอร์  เสริมศรี  ถ่ายทอดความรู้การทอผ้าให้กับเยาวชนในโรงเรียนวัดใหม่เกตุงาม เมื่อปีพ.ศ. 2553 นางไอร์  เสริมศรี ได้เสียชีวิตลง ผ้าทอบ้านปึกก็ได้หยุดดำเนินการไป

   นายนคร วรรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านปึก ได้รวมกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ด้านทอผ้า ประกอบด้วย 1. นายสมพร      พรหมอินทร์        ความรู้ด้านการขึ้นเชือก

    2. นายจำนอง     จิระประภาภรณ์   ความรู้ด้านการขึ้นเชือก

     3. นายประดิษฐ์   ทองวิบูลย์          ความรู้ด้านการขึ้นเชือก

     4. นางมานะ       จันทร์กล่ำ          ความรู้ด้านทอผ้า

    5. นางสุภา         เฟื่องฟูผล          ความรู้ด้านการทอผ้า 

มาถ่ายทอกการทอและปรับใช้ในการทำพรมทอมือ และด้านเรียนเชิญวิทยากรจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ออกแบบลวดลาย ขั้นตอน วิธีการทำพรมทอมือแบบต่าง ๆ ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการหาซื้อเศษผ้าที่เหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับกลุ่ม ลวดลายจะเป็นแบบดั้งเดิมการขึ้นเชือกแต่ละครั้งต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง สินค้าที่ผลิตได้ก็จำนวนน้อย กลุ่มจึงได้หาเครื่องทอมือที่ใช้เวลาในการขึ้นเชือกเร็วและสามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากขึ้น ลวดลายที่ทอในครั้งแรกจะเป็นลายไส้ปลาไหล ปัจจุบันกลุ่มได้พัฒนาลวดลายจำนวนมากเช่น ลายธนู ลายตาราง ลายหมากฮอส  ลายก้างปลา  ลายลูกกวาด ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปและสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาดูงานให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน       

วัตถุประสงค์ ->

คนสูงอายุได้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  1. กรรไกร

  2. เชือกไนล่อน ขนาด  200 กรัม และ 500 กรัม

  3. เศษผ้า

  4. ไม้กั้นผ้า

  5. ไม้เฟรม

  6. กี่ทอ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1  นำเชือกไนล่อนขึ้นเฟรมโดยร้อยทวนกี่ดึงให้ตึง ใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ขั้นตอนนี้จะต้องใช้บุคคลจำนวน 2 คน

2. คัดแยกเศษผ้าขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร ตามสีและขนาดของเฟรม

3. นำเศษผ้ามายึดให้ตึง ความของเศษผ้า 50 เซนติเมตรเป็นต้นไปแล้ว

4. นำเศษผ้าที่ดึงเรียบร้อยแล้วมาใส่เฟรมทีละเส้นตามแบบและลวดลาย ตามขนาดของพรมที่ต้องการ มี 4 ขนาด

          - ขนาดเล็ก     กว้าง 40  ยาว  50  เซนติเมตร

          - ขนาดกลาง   กว้าง 40  ยาว  60  เซนติเมตร

          - ขนาดใหญ่    กว้าง 60  ยาว  70  เซนติเมตร

          - ขนาดพิเศษ    กว้าง 90  ยาว  1.80  เซนติเมตร

5. เมื่อได้พรมฯตามขนาดทีต้องการแล้วตัดออกจากเครื่อง ในการทอแต่ละครั้งขนาดกลางจะได้พรมจำนวน 10 ผืน

6. ตัดพรมออกจากกี่ทอผูกเชือกซ่อนปลายเชือกทั้งหัวและท้ายไม่ให้เศษผ้าหลุดออกมา

7. ตรวจสอบความเรียบร้อยและตัดเก็บปลายผ้าของพรมแต่ละชิ้นให้เสมอกัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชลบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา