ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกมะนาว

โดย : นายไพโรจน์ ทองเพ็ชร วันที่ : 2017-03-02-15:01:09

ที่อยู่ : 42/1 หมู่ที่ 1 ต.ท่าข้าม อ.พนัสนิคม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

- กิ่งพันธุ์มะนาวแป้นพิจิตร

- ปุ๋ยคอก

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมกิ่งพันธุ์

ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ควรหาซื้อจากแหล่งมี่มีความน่าเชื่อถือได้เรื่องสายพันธุ์ หลังจากนำมาเพราะลงถุงดำประมาณ 20 วัน โดยใช้ถุงดำขนาด 4x9 นิ้ว ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุในการเพาะเนื่องจากจะทำให้ระบบราก อวบใหญ่ ไม่เป็นฝอยเหมือนใช้ดิน หากรากเดินได้สวยเมื่อนำไปปลูกระบบรากสามารถหาอาหารได้เป็นอย่างดี ดังนั้นมะนาวของเราจะตั้งตัวได้เร็วมาก

เริ่มต้นปลูก

ในการปลูกนั้นจะใช้ระยะห่าง 5x5 หรือ 6x6 ก็ได้ เมื่อได้ตำแหน่งที่จะปลูกแล้วใหเทำการขุดหลุมเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 50x50 เซนติเมตร ทำการรองก้นหลุมด้วยมูลสัตว์เช่น มูลวัว ตากแห้ง หรือหากหาไม่ได้ก็ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 หรือ 25-7-7 โรยรองก้นหลุมบางๆระมาณครึ่งกำมือ จากนั้นฉีกถุงดำออกมาแล้ว ทำการวางต้นมะนาวลงไปในหลุมพร้อมทั้งใช้มือแผ่รากที่อยู่บริเวณด้านข้างให้กระจายตัวออก แล้วทำการโกยดินกลบและทำการกดให้บริเวณรอบๆโคนนั้นให้แน่ จากนั้นใช้ไม่กลมปักเพื่อมัดต้นมะนาวไม่ให้โยกเยกเมื่อลมพัด

เริ่มทำการดูแลรักษาให้มะนาวโตอย่างรวดเร็ว

   หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์จะเห็นว่ามะนาวจะเริ่มแตกยอดอ่อนออกมาบ้างแล้ว ให้ทำการดูแลรักษายอดอ่อนในแต่ละชุดที่ออกมาโดยการพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูต่างๆที่จะมาทำลายมะนาวของเราโดยฉีดพ่นช่วงที่มียอดอ่อน เมื่อยอดอ่อนชุดแรกเริ่มเป็นเพลาดแล้ว ให้ทำการใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 ประมาณครึ่งกำมือ รอบๆบริเวณทรงพุ่ม ต่อมาก็ให้ปุ๋ยทุก 20 วัน อาจจมีสลับให้เป็นสูตร 46-0-0 บ้างก็ได้ และหากพบว่ามีกิ่งอ่อนแตกออกมาบริเวณโคนต้นใกล้ๆพื้นดิน ให้ทำการตัดออกเสียเพราะหากปล่อยไว้เมื่อมะนาวโตขึ้นทรงพุ่มจะเตี้ยไม่สูงโปร่ง (วิธีนี้ห้ามเสียดายเด็ดขาด) ต้องหมั่นพรวนดินรอบๆทรงพุ่มเสมอโดยเฉพาะก่อนการให้ปุ๋ยทุกครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ยสามารถลงไปสู่รากมะนาวได้อย่างเต็มที่

ข้อพึงระวัง ->

เชื้อแบคทีเรีย  สามารถเข้าทำลายใบอ่อน กิ่ง และผลมะนาว ซึ่งแพร่กระจายได้ตามกระแสลม น้ำค้าง ฝน แมลง และมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเคลื่อนย้ายกิ่งที่มีโรคโดยรู้เท่า ไม่ถึงการณ์ จากแหล่งหนึ่งไปยังสถานที่อื่นๆ เป็นระยะทางไกลๆ ได้ เกษตรกรสามารถสังเกตอาการของโรคได้จากแผลตกสะเก็ดนูนสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ ทั้งใบ กิ่งและผล แผลจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เห็นเป็นวงซ้อนๆ กัน ต่อมาจะเหลืองแห้ง และหลุดร่วงไป มักพบเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายใบอ่อน กิ่งอ่อน ผลอ่อนในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันและอากาศชื้น อาการจะลุกลามติดกับใบอ่อนที่เกิดบาดแผลจากหนอนชอนใบเข้าทำลายอาการเริ่มแรก ที่พบเห็นเป็นจุดฉ่ำน้ำใสๆ เท่าหัวไม้ขีดไฟและจะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตรงกลางแผล จะตกสะเก็ดนูนขึ้น สีน้ำตาลอ่อน ส่วนอาการ ที่เกิดตามกิ่งอ่อนและผลจะพบแผลตกสะเก็ดนูนขึ้นสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน แผลที่กิ่งและผลอาจจะแตกเป็นแผลทำให้เกิดยางไหล ลุกลามไปยังใบทำให้ใบหลุดร่วงและกิ่งแห้งตายไปในที่สุด โรคแคงเกอร์เป็นโรคประจำตัวของพืชตระกูลส้ม บางสายพันธุ์ทนทานต่อโรคนี้ บางสายพันธุ์ก็อ่อนแอต่อโรคนี้ แต่มักจะพบในมะนาวทุกสายพันธุ์ ถ้าพบเห็นโรคที่เกิดควรเก็บใบ กิ่ง และผลที่เป็นโรคแคงเกอร์ไปเผาทำลาย จะช่วยลดการระบาดของโรคนี้ได้
 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชลบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา