ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำลำไยนอกฤดู

โดย : นายคมกฤษ ประทุม วันที่ : 2017-03-27-18:04:34

ที่อยู่ : 15/11

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องการทำลำไยนอกฤดูสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนได้ดี

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อส่งเสริมให้ผู้สนใจได้มีความรู้สามารถนำไปปรับใช้ได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ปุ๋ยคอก ปุ๋ยคมี ยาป้องกันโรค ยาบำรุงต้น สารราดลำไย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการปฏิบัติในสวนลำไยนอกฤดู (ราดสารเดือนมิถุนายน)

แนวทางการปฏิบัติ

เดือนมิถุนายน (ให้สารคลอเรต)

1. เลือกต้นที่สมบูรณ์ และใบเต็มที่

2. กำจัดวัชพืช และใบแห้งในทรงพุ่ม

3. ดินแห้งเกินไปควรรดน้ำให้ชื้น ดินชุ่มเกินไปปล่อยให้ดินแห้ง

4.หว่านสารโพแทสเซียมคลอเรต 100-120 ก./ศก. ทรงพุ่ม 1 เมตร

5. รดน้ำให้ชื้นทุกวัน 3-5 วัน

6.คำแนะนำในการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตที่มีสารออกฤทธิ์ 15% คืออัตรา 600 กรัมขึ้นไปต่อเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร

7.การยับยั้งการแตกใบอ่อนโดยใส่ปุ๋ยเคมี 46-0-0   

เดือนกรกฎาคม (ออกดอก) 

1. เริ่มให้น้ำเล็กน้อยเมื่อออกดอก และเพิ่มปริมาณขึ้นตามลำดับ

2. เฝ้าระวังและป้องกันกำจัดแมลงทำลายช่อดอก เช่น

   -หนอนเจาะช่อดอกเกิน 20% พ่นคลอร์ไพรีฟอส 30 มล./น้ำ 20 ลิตร

   -เพลี้ยหอยหรือเพลี้ยแป้งเกิน 20% พ่นคลอร์ไพริฟอส 30 มล.

3. ผสมปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 30 มล./น้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน  7 วัน

4. พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงก่อนดอกบาน หลีกเลี่ยงช่วงดอกบาน    

เดือนสิงหาคม (ผสมเกสร) 

1. ให้น้ำอัตรา 250-350 ลิตร/ต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

2. หากมีแมลงช่วยผสมเกสรน้อยควรน้ำผึ้งมาเลี้ยงในสวน

3. เพลี้ยไฟเกิน 30% พ่นอิมิดาโคลพริด 8 มล./น้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน        

เดือนกันยายน-ตุลาคม (ติดผลและผลพัฒนา) 

1. ให้น้ำอัตรา 250-350 ลิตร/ต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

2. เมื่อติดผลใส่ปุ๋ยเคมี เช่น 15-15-15 ผสม 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กก./ต้น

3. มวนลำไยเกิน 20 % พ่นคาร์บาริล 40 ก./น้ำ 20ลิตร

4. เพลี้ยหอยหรือเพลี้ยแป้งเกิน 20% พ่นคลอร์ไพริฟอส 30 มล. ผสมปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 30 มล./น้ำ 20 ล. 2 ครั้ง ห่างกัน  7 วัน

5. ป้องกันกำจัดผีเสื้อมวนหวานด้วยกับดักไฟฟ้า หรือเหยื่อพิษ

6. ก่อนเก็บเกี่ยว 30 วันใส่ปุ๋ยเคมี 0-0-60 หรือ 13-13-21  อัตรา 1-2 กก./ต้น7. การปรับปรุงสีผิวผลพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา Azoxystrobin (AMISTAR 25 SC) อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรจำนวน 3 ครั้งในช่วงผลอายุ 4-5 เดือน หรือสาร Benzimidazole (Carbendazim) 10 อัตรา ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 5 ครั้งในช่วงอายุผล 4-5 เดือน จะทำให้ผลมีสีทอง ในสภาพพื้นที่ลุ่มและที่ดอน

8. ควรมีการตัดแต่งช่อผลให้เหลือจำนวนผลไม่เกิน 80 ผล/ช่อ และพ่นสาร NAA 200 ppm หลังจากดอกบาน 15 วันทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น          

แนวทางการปฏิบัติ

เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ (เก็บเกี่ยวผล)

1. เก็บเกี่ยวประมาณ 22 สัปดาห์หลังติดผล เปลือกผลเรียบเกือบไม่มีกระและสีน้ำตาลอ่อน

2. หักหรือตัดช่อผลให้มีใบย่อยสุดท้ายติดไปด้วย

3. รวบรวมผลผลิตไว้ในภาชนะหรือสถานที่ที่สะอาด

4. ตัดแต่งช่อผล คัดขนาด และคุณภาพผลผลิตตามมาตรฐานลำไย     

เดือนมีนาคม (ตัดแต่งกิ่ง)

1. ตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวโดยตัดกิ่งกลาง กิ่งทับซ้อน กิ่งแห้งตายหรือโรค- แมลงทำลาย

2. เก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงดินให้เหมาะสมหรือ

3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 10-20 กก./ต้น และปุ๋ยเคมี 15-15-15

4. ผสม 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กก./ต้น

เดือนเมษายน-พฤษภาคม (เตรียมความพร้อมต้น)

1. ป้องกันกำจัดแมลงช่วงแตกใบอ่อน

    - ไรสี่ขาเกิน 10 % พ่นกำมะถันผง 40 ก./น้ำ 20 ล. หรืออามีทราซ 40 มล./น้ำ 20 ล. 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

    - หนอนคืบเกิน 20% พ่นคาร์บาริล 40 ก./น้ำ 20 ล.

2. ใส่ปุ๋ยเคมี 0-46-0 ผสม 0-0-60 สัดส่วน 1:1 ประมาณ 1-2 กก./ต้น

3. พ่นปุ๋ยเคมี 0-52-34 อัตรา 150 ก. /น้ำ 20 ล. 2 ครั้ง ห่าง  10-14 วัน

ข้อพึงระวัง ->

การให้น้ำต้องเหมาะสม และปริมาณเพียงพอ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดจันทบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา