ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พันธ์ไข่

โดย : นางสัมผัด บุญมี วันที่ : 2017-03-20-17:10:22

ที่อยู่ : 196 บ้านหัวทุ่ง หมู่ที่ 1 ตำบลหัวทุ่ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การต้องการมีอาชีพเลี้ยงไก่พันธ์ไข่ของชาวบ้านบ้านหัวทุ่ง  เริ่มจากการได้รับแรงบันดาลใจจาก การจัดทำบัญชีครัวเรือน แล้วพบว่ารายจ่ายไม่สมดุลกับรายรับ ส่วนใหญ่จะซื้อมากกว่าการหา  แม้นแต่ไข่ไก่ซึ่งราคาในท้องตลาดบางครั้งก็มีราคาสูงมาก แต่ก็ต้องซื้อมารับประทาน ถ้าพูดถึงวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร และที่ทุกบ้านต้องมีติดไว้ในครัวหรือตู้เย็น สิ่งนั้นที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ “ไข่ไก่”จึงได้คิดถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง ที่พระองค์ทรงให้แนวทางและสอนให้ราษฏรของพระองค์ให้ใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการดำรงอยู่และปฏิบัติตนอยู่บนเส้นทางสายกลาง อยู่บนความพอเพียง ซึ่งหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ด้วยการรู้จึกพึ่งตนเอง จึงมีความต้องการเลี้ยงไก่พันธ์ไข่ขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

1. เป็นอาชีพเสริมหลักฤดุการทำนา

2. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

3. สืบทอดภุมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัสดุอุปกรณ์สำหรับเลี้ยงไก่พันธ์ไข่

1.โรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่

2 ไก่พันธ์ไข่ ไก่สาว อายุประมาณ 15 สัปดาห์ พร้อมที่จะไข่

3. อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่

ส่วนนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากในไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานอย่างเช่น ถาดหรือรางอาหาร รางน้ำ และอุปกรณ์ที่พิเศษขึ้นมาก็ยกตัวอย่าง เช่น

1.      อุปกรณ์การให้อาหาร มีหลายแบบ เช่น ถาดอาหาร รางอาหาร ถังอาหาร เป็นต้น

2.    อุปกรณ์ให้น้ำ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับอายุไก่ เช่น แบบรางยาว แบบขวดมีฝาครอบ

3.     ผักต่างๆ ที่ให้เป็นอาหารเสริมแก่ไก่ เช่น ผักตำลึง  หยวกกล้วย เป็นต้น

4.      รังไข่ โดยปกติรังไข่จะควรมีความมืดพอสมควร และมีอุณหภูมิที่เย็น ซึ่งถ้าหากเลี้ยงแบบโรงเรือนก็จะเป็นรางที่ควรทำความสะอาดง่าย หรือถ้าใครเลี้ยงแบบปล่อย ก็ควรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการออกไข่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น

5.    วัสดุรองพื้น จำพวก ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ เป็นต้น เพื่อความสะอาดและความสบายของตัวไก่

6.   อุปกรณ์การให้แสง ทั้งแสงจากธรรมชาติ และแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์

ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่

1.      อาหารผสม เป็นอาหารผสมจากวัตถุดิบที่บดละเอียดแล้วหลายๆ อย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน สามารถนำไปเลี้ยงไก่ได้ทันที

2.      หัวอาหาร เป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบพวกโปรตีนจากพืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุ และยาต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหาร

3.   อาหารอัดเม็ด เป็นอาหารสำเร็จรูปมีให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับอายุของไก่

 

อุปกรณ์ ->

1. ไก่พันธ์ไข่พร้อมที่จะไข่ (ไก่สาว)

2. โรงเรือนที่มีกรงล้อมรอบ ขนาดพอเหมาะกับจำนวนไก่

3. อาหารไก่

4. รางน้ำ  รางอาหาร สำหรับไก่

5. ฟางปูในโรงเรือน

6. วัคซืนสำหรับไก่พันธ์ไข่

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงดูไก่สาว ( อายุ 15 – 20 สัปดาห์)

       การเลี้ยงดูไก่สาวจะใกล้เคียงกับการเลี้ยงดูไก่รุ่น แต่ต้องควบคุมปริมาณอาหาร และน้ำหนักตัวของไก่ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของไก่ไข่แต่ละสายพันธุ์ ควรจัดการ ดังนี้

  1. เมื่อไก่อายุ 15 สัปดาห์ ให้เปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่รุ่นเป็นไก่ไข่สาว
  2. ควบคุมและกำจัดแมลงต่างๆ
  3. หมั่นตรวจสุขภาพไก่ ทำวัคซีนตามกำหนด และสุ่มชั่งน้ำหนักไก่จำนวน 5 % ขอฝูง ทุกสัปดาห์
  4. ในกรณีที่เลี้ยงแบบรวมฝูงเมื่อไก่อายุ 17 – 18 สัปดาห์ ควรติดตั้งรังไข่ ขาดช่องละ 8x12 นิ้ว ในอัตรา 1 ช่อง ต่อไก่ 4 ตัว
  5. ในกรณีที่เลี้ยงแบบกรงตับ ให้ย้ายไก่ขึ้นกรงตับเมื่ออายุ 18 – 20 สัปดาห์
  6. ควรมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด และจัดการด้านสุขาภิบาลที่ดี เพราะไก่กำลังจะเริ่มให้ผลผลิตในการเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 20 สัปดาห์ อัตราการตายและคัดทิ้งไม่ควรเกิน 10%
  7. ก่อนที่ทำการย้ายไก่ขึ้นกรงตับ ควรกำจัดเหาไร และถ่ายพยาธิก่อน ไก่เริ่มให้ไข่ประมาณ 3 – 4 สัปดาห์
  8. จดบันทึกการเจริญเติบโตและช่วงการออกไข่ของไก่ตลอดเวลา

ข้อพึงระวัง ->

1. โรคไก่ที่เกิดตามฤดูกาล

2. การเลี้ยงไก่ต้องทำให้ถุกต้องตามหลักสุขาภิบาล อย่างเคร่งครัด

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา