ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การติดตา ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง มะม่วง มะนาว

โดย : นายอุดม มานาดี วันที่ : 2017-03-20-15:21:41

ที่อยู่ : 133 หมู่ 3 ต.โนนสะอาด อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่

พระราชทานมานานกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาขั้นพื้นฐานที่ตั้งอยู่บนทางสายกลาง และความไม่ประมาทซึ่งคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรู้และคุณธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินชิวิต ซึ่งต้องมี "สติ ปัญญา และความเพียร" เป็นที่ตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในชีวิติที่แท้จริง ดังพระราชดำรัสที่ว่า

"...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับ ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความ

พอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด       แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป..." (18 กรกฎาคม 2517)

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่ และการปฏิบัติของ

ประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง ที่มีต่อผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ในการนำวิชาต่างๆ      มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันยังต้องเสริมสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ นักทฤษฏี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ มีปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก

                        ผมนายอุดม  มานาดี ปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ด้านการติดตา ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง มะม่วง มะนาว บ้านหนองบัว หมู่ที่ ๓ ตำบลโนนสะอาด  อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น กระผมเป็นมัคคทายกในหมู่บ้าน   ตลอดระยะเวลาที่ข้าพเจ้าเสียสละเพื่อส่วนรวม กระผมทุ่มเทเวลาในการช่วยเหลือหมู่บ้าน ทำงานเพื่อส่วนรวม จนบางครั้งอาจจะละเลยการทำการเกษตร ทำนา ทำสวน ที่พ่อแม่ได้ถ่ายทอดให้ ในช่วงเวลานั้นกระผมได้รับการอบรมในหลายสาขาวิชา  ได้รับการแต่งตั้งเป็นวิทยากรด้านการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และสอนบัญชีครัวเรือนให้กับเกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในชุมชน  ซึ่งต้องถ่ายทอดการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่พ่อหลวงรัชกาลที่  9  อันเป็นที่รักยิ่งของกระผมและปวงชนชายไทยทุกคนได้พระทานไว้ซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่ายิ่งของพวกเราทุกคน

                 จากการฝึกอบรม การคลุกคลีกับส่วนราชการต่าง ๆ กระผมได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการทำการเกษตรแบบผสมผสานโดยการลองผิดลองถูกในหลายด้าน จนบัดนี้กระผมก็พอจะมีความรู้จากประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาถ่ายทอดให้ลูกหลานได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ในครัวเรือนของตนเอง

วัตถุประสงค์ ->

-          การติดตาตอนกิ่งเป็นเรื่องที่ทำกันง่าย ๆ เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ แต่คน

ส่วนมากจะละเลย  ไม่ค่อยใจเท่าที่ควรถือเป็นเรื่องยุ่งยาก

-          การติดตาตอนกิ่งเป็นการปลูกพืชโดยวิธีทางลัด พืชที่ปลูกสามารถให้ผลผลิต

ภายในระยะเวลาที่เร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด ทำให้เกษตรกรมีรายได้อย่างรวดเร็ว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

-          มีดคัตเตอร์

-          เทปกาว

-          เชือกฟาง 

-          ขุยมะพร้าว

-          ดินเหนียว

-          น้ำยาเร่งราก

-          พลาสติกใส

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การติดตามะม่วง มีขั้นตอน คือ

1.1 การคัดเลือกต้นพันธุ์ที่ดี   ใช้ต้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตได้แล้ว ไม่แก่หรือไม่อ่อน

จนเกินไป

1.2 การคัดเลือกตาที่จะมาเสียบกับต้นพันธุ์ จะต้องมีความสมบูรณ์ไม่อ่อนหรือ

แก่เกินไปจากต้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตได้แล้ว

1.3 ใช้คัตเตอร์กรีดเปลือกต้นพันธุ์ให้พอดีกับตาที่ตัดแต่งมาแล้วอย่างดี  นำตา

ที่ได้เสียบลงกับต้นพันธุ์ที่กรีดเปลือกไว้พอดีแล้ว  ใช้เทปกาวพันรอบตาให้แน่นไม่ให้อากาศหรือน้ำซึมเข้าไปได้  ประมาณ ๑๕- ๒๐ วัน ตาที่เสียบยังเขียวอยู่ก็แก้เทปกาวออก ใช้เลื่อยตัดกิ่งต้นพันธุ์ทิ้ง  หลังจากนั้นก็ดูแลต้นพันธุ์ให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างดี

ข้อพึงระวัง ->

การพันเทปกาวจะต้องไม่ให้มีที่อากาศ และน้ำเข้าได้มิฉะนั้นตาจะเน่าเสียหายไม่ติด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา