ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสานกระติบข้าวออกแบบลวดลายตัวหนังสือ

โดย : นายบุญธรรม ทองดี วันที่ : 2017-03-19-20:54:28

ที่อยู่ : 110 บ้านหัวคู ม.10 ต.โสกนกเต็น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านหัวคู  หมู่ที่ 6  ตำบลโสกนกเต็น  อำเภอพล  จังหวัดขอนแก่น เป็นหมู่บ้านที่มีการจักสานกระติบข้าวมานานแล้วแต่ยังไม่ได้มีการรวมกลุ่มกัน  ชาวบ้านจะจักสานกระติบข้าวไว้ใช้ในครัวเรือนอย่างเดียวต่อมา มีการพัฒนาการสานกระติบข้าวโดยการออกแบบใหม่ที่จะทำให้กระติบข้าวใช้งานได้นานกว่าเดิมและสวยงามน่าใช้ จึงคิดที่จะออกแบบลวดลายเป็นตัวหนังสืออยู่บนกระติบข้าว ให้สวยงาม  

วัตถุประสงค์ ->

  1. เพื่อเพิ่มมูลค่ากระติบข้าวให้สูงขึ้น สวยงามน่าใช้
  2. เพื่อถ่ายทอภูมิปัญญาไปสูลูกหลาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ไม้ไผ่

2.ไม้ตาล

อุปกรณ์ ->

  1. ไม้ไผ่  เครื่องเหลาตอก
  2. ไม้ตาล เข็ม  ด้าย  ไนลอน
  3. เลื่อย
  4. ตะปู ค้อน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1. นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้ายตัดเอาข้อออกผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ ๒-๓ ม.ม.ขูดให้เรียบและบาง
  2. นำเส้นตอกที่มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี ๒ ฝามาประกอบกัน
  3. นำกระติบข้าวที่ได้มาพับครึ่งให้เท่ากันพอดีเรียกว่า 1 ฝา
  4. ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้วสานเป็นลายตามะกอก ลายตัวหนังสือ และลายขัด
  5. นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลมมาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง  
  6. ใช้ด้ายไนลอนและเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย
  7. นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว
  8. นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะและเพื่อความสวยงาม ทนทาน ไม่เกิดราดำ
  9. นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบบางเท่ากับฝากระติบพันด้วยด้ายหรือไนลอน แล้วเย็บ
  10. เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รูให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะเชิงไว้ ใช้ด้ายไนลอนสอดเข้าไปเป็นสายใช้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อยติดฝาขอบบนเพื่อความสวยงาม

ข้อพึงระวัง ->

1.เส้นตอก ก่อนจะนำมาสานจะต้องรีดให้เรียบเนียน และอ่อนบางที่สุด จะได้กระติบที่สวยงาม และเวลาสานถ้าเป็นตอกอ่อนจะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมือ

2. ใช้ตอกเส้นเล็กเพื่อความแน่นเหนียวและทนทาน

3. การย้อมสีตอกเพื่อเพิ่มลวดลายของกระติบข้าว โดยนำตอกไปแช่สี เช่น สีส้มได้จากการนำแก่นฝางไปต้มน้ำให้แดง สีเขียวได้จากดอกอันชันหรือใบยานางหรือตำลึง สีดำหรือสีน้ำตาล ได้จากน้ำมะเกลือ

 4. ควรเลือกไม้ตาลที่มีความแก่พอที่จำทำเป็นฐานได้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา