ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทอผ้าไหม

โดย : นางลำดวน จันทร์ดา วันที่ : 2017-03-16-15:32:36

ที่อยู่ : 96 บ้านท่อนน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมืองขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ประวัติความเป็นมา

การปลูกหม่อน เป็นหัวใจสำคัญของการเลี้ยงไหม บ้านท่อนน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เป็นหมู่บ้าน ที่มีอาชีพเสริมด้านการเลี้ยงไหม มีครัวเรือนที่เลี้ยงไหม ประมาณ ร้อยละ 30 ของครัวเรือนทั้งหมู่บ้าน ในปัจจุบัน 

เดิมชาวบ้าน ปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหม แล้วนำมาทอเป็นผ้าเพื่อใช้ในครอบครัวของตนเอง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ทำกันมาแต่ดั่งเดิม เป็นการพึ่งตนเองของชาวบ้านในอดีตที่ผ่านมา ทุกครัวเรือนจะปลุกหม่อน บริเวณบ้าน หรือสถานที่ใกล้เคียงเพื่อนำมาเลี้ยงไหม สามารถเลี้ยงได้ทุกฤดูกาล 

หม่อน อาจจะไม่ใช่อาหารอย่างเดียวของหนอนไหม เพราะหนอนไหม บางชนิดก็กินพืชอย่างอื่นด้วย แต่ หม่อนก็เป็นอาหารอย่างเดียวของหนอนไหมชนิดที่เรานิยมเลี้ยงกัน หม่อนเป็นพืชยืนต้นในตระกูล Moraceae สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในเขตหนาว และเขตร้อย ในเขตหนาว หม่อนจะพักตัวในการเจริญเติบโต แต่ในเขตร้อน หม่อนจะเจริญเติบโดตลอดระยะเวลา หม่อนจึงเป็นต้นไม้ที่อยู่ในชุมชนข้าง ๆบ้าน หรือในปัจจุบัน จะอยู่ที่ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อที่จะสามารถรดน้ำได้ ในฤดูแล้ง 
ไหม เป็นแมลงจำพวกผีเสื้อ จะพ่นใยเพื่อใช้ในการทำรัง ห่อหุ้มตนเองแล้วลอกคราบกลายเป็นดักแด้ อยู่ภายในรังนั้น และเส้นใยไหมที่ใช้ทำรังนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์และมีราคาแพง หนอนไหม ชอบกินใบหม่อนเป็นอาหาร มนุษย์รู้จักนำรังไหมมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานแล้ว  บ้านท่อนน้อย เป็นหมู่บ้าน ที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตั้งแต่เดิมมาแล้ว ซึ่งชาวบ้าน มีกิจกรรมการเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหม เพื่อใช้ในครัวเรือน และทอเพื่อจำหน่าย ได้ร่วมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มอาชีพและขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่ม OTOP เพื่อเข้ารับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการขาย กับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเมืองขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2557

แรงบันดาลใจที่ถ่ายทอดอาชีพทอผ้า   เป็นอาชีพเสริม ที่ทำได้ทุกฤดูกาล สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับครอบครัว และได้สืบทอดภูมิปัญญาของปู่ย่าตายาย ไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลา  มีความภูมิใจในการประกอบอาชีพ ทำให้คนในชุมชนพึ่งตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ ->

  •  เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาของปู่ ย่า ตา ยาย
  •  เพื่อเป็นอาชีพเสริมของครัวเรือน ที่สามารถทำได้ทุกฤดูกาล
  •  เพื่อสร้างรายได้ ให้กับคนในครัวเรือน
  • เป็นอาชีพที่ยั่งยืน ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. วัตถุดิบ และส่วนประกอบของการเลี้ยงไหม 
     1) หม่อน
     2) หนองไหม

 2.2 วัตถุดิบการทอผ้าไหม 
1) เส้นไหม
 

อุปกรณ์ ->

1. อุปกรณ์การเลี้ยงไหม 
1) กระด้ง
2) จ่อ

3) มุ้ง

4. ผ้า

5.โรงเลี้ยงไหม

2) อุปกรณ์สาวไหม

   1.เตา   หม้อ   กวัก  ใน  เข็น

2) อุปกรณ์การทอ
      - กี่
      - ฟืม
      - กระสวย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วงจรของการเลี้ยงไหม ประกอบด้วย 
1. ไข่ ใช้ระยะพักตัว 10-12 วัน
2.หนอนไหม วัยอ่อน 
วัย 1 (3-5 วัน) นาน 1 วัน
วัย 2 (2-3 วัน)นอน 1 วัน
วัย 3 (3-4 วัน) นอน 1 วัน
3.หนอนไหมวัยแก่
วัย 4 (4-5 วัน)นอน 1 วัน
วัย 5 (7-8 วัน) (จะแก่จัด ชาวบ้านเรียกว่า สุก )
4.ชักใยในรังไหม ใช้เวลา 2-3 วัน 
5.ลอกคราบเป็นดักแด้ 2 วัน (ในระยะนี้ ผู้เลี้ยงจะนำมาสาวไหม เพื่อเอาเส้นใยมาทอผ้าต่อไปภายใน 9-10 วัน)
6.จะออกมาเป็นผืเสื้อ แล้ววางไข่ ต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

  • ดูแลรักษาต้นหม่อน ต้องไม่ใส่ปุ๋ยเคมี
  • การเลี้ยงไหม ต้องระวังอย่าฉีดพ้นสารเคมีใกล้บริเวณที่เลี้ยงไหม

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา