ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงนกกระทา

โดย : นายชาญชัย วงษ์ภูเย็น วันที่ : 2017-03-13-12:59:13

ที่อยู่ : 52 ม. 2 ต. ทรายมูล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อาชีพการเลี้ยงนกกะทา เป็นอีกอาชีพการเกษตรที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย เพราะผลผลิตจากนกกะทา สามารถขายได้เกือบทุกส่วน ไข่ก็ขายได้ เนื้อก็ขายได้ ขนก็ขายได้ ขี้นกก็ยังขายทำเป็นปุ๋ยได้ วันนี้ Blogger Farmfriend จะขอนำเสนอวิธีการเลี้ยงนกกะทา เพื่อสร้างรายได้เสริม หรืออาจจะเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวเลยก็ได้.......

นกกะทาที่นิยมเลี้ยงเพื่อเก็บไข่ขายนั้นเป็นนกกะทาสายพันธุ์ญี่ปุ่น มีประวัติความเป็นมาคือ แต่ก่อนนิยมเลี้ยงเพื่อฟังเสียง ต่อมาได้ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์จนได้นกกระทาที่ให้ไข่ดก สำหรับประเทศไทยเรามีนกกระทาพันธุ์พื้นเมืองอยู่ไม่น้อยกว่า 12 ชนิดแต่ให้ไข่และเนื้อน้อยกว่านกกระทาญี่ปุ่นจึงได้มีการนำนกกระทาจากญี่ปุ่นมาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายถึงแม้จะไม่กว้างขวางมากมายเท่ากับการเลี้ยงไก่ หรือเป็ดก็ตามแต่การเลี้ยงนกกระทาก็มีแนวโน้มที่จะเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรได้ดีเพราะระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ในผลตอบแทนได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆและใช้เงินลงทุนน้อย.....
 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  นกกระทา

2.  อาหารนก

อุปกรณ์ ->

1.  โรงเพาะเลี้ยง

2. ถาดใส่อาหาร

3.  ถาดรองไข่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงนกกระทาไข่เป็นการค้าในปัจจุบันนิยมเลี้ยงแบบขับกรงและวางกรงซ้อนกัน 4-5 ชั้น แต่ละชั้นจะห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร ช่องว่างระหว่างชั้นหรือด้านบนของพื้นหลังกรงก็จะใช้แผ่นสังกะสีแผ่นเรียบรองรับมูลนก การเลี้ยงแบบขังกรงนี้ในกรงแต่ละกรงจะต้องใช้ในอัตรา 5 ตัว/ตารางฟุต หรือ 180 ตารางเซนติเมตร/ตัว การเลี้ยงดูนกในกระทาไข่จะแตกต่างไปจากเลี้ยงดูนกกระทาในระยะอื่นๆ ดังนี้

การให้น้า พื้นที่อุปกรณ์ให้น้าจะต้องไม่ต่ากว่า 0.8 เซนติเมตร/ตัว อุปกรณ์ให้น้าอาจจะใช้รางน้า ถ้วย ขัน ท่อพีวีซีผ่าครึ่ง หรือภาชนะอื่นๆ ใส่น้าให้กินด้านนอกกรง จะต้องมีน้าให้นกได้กินตลอดเวลา ถ้าขาดน้าแล้วจะทาให้นกเกิดอาการเครียด และอาจจะทาให้เกิดผลเสียต่อการไข่ของนกกระทาได้ น้าควรจะเปลี่ยนวันละครั้งหรือค่อยสังเกตง่ายๆ คือ อย่าให้น้ามีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวเหม็นบูดได้
การให้อาหาร พื้นที่อุปกรณ์ให้อาหารสาหรับนกกระทาจะต้องไม่ต่ากว่า 1.6 เซนติเมตร/ตัว มักจะใช้รางอาหารแบบให้อาหารสาหรับลูกไก่ใส่อาหารให้กิน การให้อาหารควรให้วันละ 3 เวลา คือ เช้า เที่ยง และเย็น เพราะนกกระทากินอาหารทั้งวันทั้งคืน การให้อาหารนี้ควรใส่อาหารประมาณครึ่งรางเพื่อช่วยลดการสูญเสียอาหารเนื่องจากถูกคุ้ยเขี่ย เมื่อนกอายุครบ 35 วัน ควรเปลี่ยนอาหารโดยให้อาหารที่มีโปรตีนประมาณ 20% การเปลี่ยนอาหารสาหรับนกในระยะให้ไข่นี้ ไม่ควรเปลี่ยนกะทันหันเพราะจะทาให้กระทบกระเทือนต่อการให้ไข่ได้
การให้แสงสว่าง การให้แสงสว่างเพิ่มในช่วงกลางคืนจะช่วยให้นกกระทาไข่ได้ดีขึ้น ควรให้ความยาวแสงประมาณ 16 ชั่วโมง/วัน เนื่องจากแสงสว่างจะช่วยกระตุ้นการทางานของต่อมใต้สมองให้สร้างฮอร์โมนไปกระตุ้นการทางานของรังไข่
นกกระทาจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 7 สัปดาห์และนกจะมีน้าหนักตัวประมาณ 141-150 กรัม ฟองไข่จะมีน้าหนักประมาณ10-12 กรัม นกกระทาจะให้ผลผลิตไข่สูงสุดประมาณ 80-85% เมื่ออายุประมาณ 12-24 สัปดาห์ หลังจากนั้นไข่จะลดลงเรื่อย ๆ ถ้ามีการเลี้ยงและการจัดการที่ดีนกกระทาบางตัวอาจจะให้ไข่มากกว่า 260-300 ฟอง/ปี
การเก็บไข่นกกระทา นกกระทาจะเริ่มวางไข่ในช่วงค่าประมาณ 16.00-19.00 น. ดังนั้นการเก็บไข่จะเริ่มเก็บได้ตั้งแต่เวลา 19.30-20.30 น. ก่อนที่จะปิดไฟในช่วงค่า และควรเก็บทุกวัน ถ้าเป็นไปได้ควรเก็บวันละ 3-4 ครั้ง แล้วรีบนาไข่ที่ได้ไปเก็บไว้ในห้องที่เย็น เพื่อรักษาคุณภาพไข่ก่อนที่จะได้นาส่งตลาด

ข้อพึงระวัง ->

นกกระทามีความทนทานต่อโรคติดต่อมากกว่าไก่ อัตราการตายในระยะกกอาจสูงถึง 20-25% ถ้าหากมีการจัดการไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องของการให้ความอบอุ่นในการกก การกกที่หนาแน่นเกินไป หรือการใช้อุปกรณ์ให้น้าและอาหารไม่เหมาะสม ถ้ามีการจัดการและการเลี้ยงดูที่ถูกต้องนกกระทาจะมีอัตราการตายตั้งแต่แรกเกิดจนถึงจับขายเป็นนกเนื้อประมาณ 8-10% การจัดการป้องกันโรคติดต่อเหมือนกับการเลี้ยงไก่ แต่การเลี้ยงนกกระทาไม่จาเป็นจะต้องทาวัคซีนเหมือนกับไก่กระทงและไก่ไข่

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา