ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำไม้กวาดดอกหญ้า

โดย : นางพัชนี ดงสมบัติ วันที่ : 2017-03-13-20:08:20

ที่อยู่ : 262 หมู่ที่ 1 ต.พังทุย อ.น้ำพอง จ. ขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นอาชีพที่มีความถนัด  และเป็นภูมิปัญญาท้องภิ่นที่สืบทอดกันมายาวนาน  ตามประวัติ  ดังนี้เมื่อปีพุทธศักราช 2515 ได้มีราษฎรในหมู่บ้านพังทุย หมู่ที่ 10 ตำบลพังทุย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ไปเก็บดอกหญ้าที่ขึ้นบนเชิงเขาที่ภูเขาสวนกวางมาทำไม้กวาดเอาไว้ใช้เหลือก็ใช้เป็นของฝากบ้างขายบ้างให้คนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งตอนนั้นไม่ค่อยจะมีใครสนใจในการเอาดอกหญ้ามาทำไม้กวาดมากเท่าไหร่ เพราะตั้งแต่เดิมคนโบราณเขาใช้ผ้าผูกมัดกับไม้ทำเป็นไม้กวาด ต่อมาก็มีชาวบ้านขึ้นไปถางป่าบนชิงเขาเพื่อทำไร่ เห็นดอกหญ้าขึ้นอยู่มากมาย ก็เลยเกิดความคิดที่จะเอาดอกหญ้ามาทำไม้กวาดขาย ซึ่งขณะนั้นราคาขายด้ามละ 2 บาท ห้าสิบสตางค์ ทำขายประมาณ 5 – 6 ครอบครัวเท่านั้น หลายปีต่อมาก็เริ่มขยายกิจกรรมการทำไม้กวาดมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากไม้กวาดบ้านพไงทุยมีความคงทนจนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จากการขายด้ามละ 2 บาท ห้าสิบสตางค์ จนราคา 5 บาท
ต่อมาปีพุทธศักราช 2530 ก็มีชาวบ้านทำกันมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเรียกได้ว่าเกือบจะทุกครัวเรือน แถมยังขยายการทำออกไปหมู่บ้านอื่นในตำบลอีกด้วยแต่ในตอนนั้นต่างคนต่างทำ ดังนั้นชาวตำบลพังทุยจึงได้รวมกลุ่มปรึกษาหารือกันว่าเมื่อทำมากขึ้นตลาดในหมู่บ้านก็ไม่มีจึงจำเป็นต้องขายตลาดออกไปต่างตำบล อำเภอ และต่างจังหวัดจึงได้จัดตั้งกลุ่มกันขึ้นเพื่อเป็นการต่อรองทางการตลาด โดยการนำของ นางมิ่งขวัญ ทาปลัด เมื่อปีพุทธศักราช 2539 ชื่อกลุ่ม “ สตรีสหกรณ์ไม้กวาดตำบลพังทุย ” มีสมาชิกทั้งสิ้น 11 หมู่บ้าน 331 คน ( โดยการประสานของเกษตรและสหกรณ์อำเภอน้ำพอง ) และยืมเงินจากสหกรณ์การเกษตรอำเภอน้ำพอง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน 300,000 บาท ( สามแสนบาทถ้วน ) โดยมีเงื่อนไขการส่งใช้ 10 ปี ๆ ละ 30,000 บาท( ปัจจุบันใช้หนี้หมดแล้ว ) โดยได้นำเงินยืม 100,000 บาท สร้างอาคารเก็บวัตถุดิบและสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว อีก 200,000 บาท นำไปเป็นทุนหมุนเวียน ต่อมาเมื่อตลาดกว้างมากขึ้นจึงมีสมาชิกเพิ่มขึ้น จาก 11 หมู่บ้าน เป็น 13 หมู่บ้าน 450 คน มีนางมิ่งขวัญ ทาปลัด เป็นประธานกลุ่ม มีที่ทำการตั้งอยู่ เลขที่ 169 หมู่ที่ 10 บ้านพังทุย ตำบลพังทุย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

วัตถุประสงค์ ->

1.  เพื่อสร้างงาน  สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน  จากอาชีพเสริม  จนปัจจุบันกลายเป็นอาชีพหลัก

2.  เพื่อสืบทอดภูมิปัญญา และส่งต่อให้ลูกหลานต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ดอกหญ้า
2.ด้ามไม้ไผ่
3.หัวพลาสติก
4.เชือก
5.ลวด
6.ตะปู

อุปกรณ์ ->

1.  จักรเย็บไม้กวาด

2.  เตาไฟสำหรับทำลายด้าม

3.  ตาชั่ง

4.  กรรไกร

5.  เข็ม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.นำดอกหญ้ามาเด็กออกเป็นช่อ
2.นำมาชั่งน้ำหนัก แต่ละด้ามต้องมีน้ำหนักเท่ากัน ตามขนาด
3.นำมามัดเป็นมัดเล็ก ๆ 4 กำ
4.นำมาถักใส่หัวพลาสติก และนำมาเย็บรูปร่าง
5.นำไปใส่ด้ามไม้ไผ่ โดยการตอกตะปู
6.มัดเป็นมัด มัดหนึ่งมี 10 ด้าม เพื่อรอส่งจำหน่าย

ข้อพึงระวัง ->

-  ควรมีผ้าปิดปาก  จมูก  เพื่อป้องกันฝุ่นละอองจากดอกหญ้า

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา