ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทำไม้กวาดดอกหญ้า

โดย : นางชนิดาภา อุดมศักดิ์ วันที่ : 2017-03-13-09:56:16

ที่อยู่ : 114 ม.2 ตำบลพังทุย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เมื่อประมาณปี  ๒๕๑๐หลังฤดูเก็บเกี่ยวว่างจากการทำนาได้เห็นคนในหมู่บ้านประกอบอาชีพทำไม้กวาดดอกหญ้าเพื่อขาย ทำให้มีรายดีข้าพเจ้าจึงมีความสนใจ เริ่มเรียนรู้กระบวนการและวิธีการทำไม้กวาดจากคนในหมู่บ้าน เริ่มจากการทำใช้เองและเกิดความชำนาญจากสั่งสอนเทคนิควิธีการของบิดามารดา จนเกิดความชำนาญและสามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ดอกกง  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดอกยู

อุปกรณ์ ->

๑.๑) ดอกพง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าดอกแขม จะมีอยู่แถบเขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับอำเภอน้ำพอง ซึ่งเมื่อหลายปีผ่านมาสามารถไปเก็บได้เอง ปัจจุบันค่อนข้างหายากต้องรับซื้อจากแหล่งจำหน่าย

                 ๑.๒) ดอกกง  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดอกยู จะมีอยู่แถบจังหวัดเพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พะเยา น่าน ในช่วงแรกๆ ผู้ผลิตจะไปเก็บเอง แต่ปัจจุบันจะมีผู้นำมาจำหน่ายถึงที่ทำให้สะดวกยิ่งขึ้น

               ๒) ด้ามไม้ไผ่, ด้ามพลาสติก

               ๓) เชือกไนลอน ขนาด ๑.๕ ม.ม.

               ๔) ตะปู

               ๕) เข็ม เบอร์ ๔.๕ ,๘

               ๖) ลวด เบอร์ ๒๐

               ๗) น้ำยากันรั่ว เรนโค้ท

               ๘) น้ำมันทาไม้

               ๙) น้ำมัน วานิสเงา

               ๑๐) ห่วงสำหรับร้อยเชือกกับด้ามไม้กวาดไว้ห้อยหรือแขวนเก็บไม้กวาด

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๒. กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

               ๒.๑ วัตถุดิบและส่วนประกอบในการผลิต

               ๑) ดอกหญ้าที่ใช้ทำไม้กวาดมีอยู่ ๒ ชนิด

                 ๑.๑) ดอกพง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าดอกแขม จะมีอยู่แถบเขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับอำเภอน้ำพอง ซึ่งเมื่อหลายปีผ่านมาสามารถไปเก็บได้เอง ปัจจุบันค่อนข้างหายากต้องรับซื้อจากแหล่งจำหน่าย

                 ๑.๒) ดอกกง  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดอกยู จะมีอยู่แถบจังหวัดเพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พะเยา น่าน ในช่วงแรกๆ ผู้ผลิตจะไปเก็บเอง แต่ปัจจุบันจะมีผู้นำมาจำหน่ายถึงที่ทำให้สะดวกยิ่งขึ้น

               ๒) ด้ามไม้ไผ่, ด้ามพลาสติก

               ๓) เชือกไนลอน ขนาด ๑.๕ ม.ม.

               ๔) ตะปู

               ๕) เข็ม เบอร์ ๔.๕ ,๘

               ๖) ลวด เบอร์ ๒๐

               ๗) น้ำยากันรั่ว เรนโค้ท

               ๘) น้ำมันทาไม้

               ๙) น้ำมัน วานิสเงา

               ๑๐) ห่วงสำหรับร้อยเชือกกับด้ามไม้กวาดไว้ห้อยหรือแขวนเก็บไม้กวาด

 

 

 

 

 

-๒-

               ๒.๒ ขั้นตอนการผลิต

               ๒.๒.๑ เตรียมดอกหญ้า

               ๑) นำดอกหญ้าไปตากแดด ประมาณ ๓ วัน

               ๒) นำดอกหญ้ามานวดให้ดอกร่วงหลุดจากก้าน

               ๓) เลาะ คัดแยกให้ได้ขนาดเท่าๆ กัน

               ๔) มัดเป็นกำ ๆ ขนาด ๑ กำมือ

               ๕) นำดอกหญ้าที่มัดเป็นกำมามัดรวมกันประมาณ ๕-๖ กำ เป็นมัดใหญ่

               ๖) เก็บรวบรวมไว้ รอให้การทำด้ามเรียบร้อย

               ๒.๒.๒ การเตรียมด้ามไม้กวาด

               ๑) ตัดไม้ไผ่ที่มีอายุ ๒ ปี ขนาดความยาว ๗๐ ซม.

               ๒) ตัดตา และขอบข้อต่อ ขัดด้วยกระดาษทรายให้ผิวเรียบไม่มีเสี้ยน

               ๓) นำด้ามไม้ไผ่แช่ในน้ำ นำก้อนหินหรือไม้กดให้จมน้ำ ทิ้งไว้ประมาณ ๑ สัปดาห์

               ๔) นำขึ้นตากแดดให้แห้ง

               ๕) นำลวดมามัด พันรอบด้ามไม้ไผ่แนวทแยง

               ๖) นำด้ามไม้ไผ่ไปลนไฟ พอให้เปลี่ยนสี ยกออก

               ๗) ปล่อยให้เย็น แล้วแกะลวดออก จะทำให้เกิดลวดลาย

               ๘) ทำด้วยน้ำมันทาไม้ (แลคเกอร์) ให้มีความมัน

               ๙) ทาหรือขัดด้วยวานิสเงา จะทำให้ด้ามไม้ไผ่ขึ้นเงา

               ๑๐) ติดห่วงบนปลายด้านหนึ่งของด้ามเพื่อเอาไว้ร้อยเชือก

ข้อพึงระวัง ->

ฤดูฝนอากาศชื้อควรเก็บในท่ีแห้ง ถ้าถูกความชื้นอาจทำให้ไม้กวาดไม่ทน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา