ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน

โดย : นายบุญส่ง นารีจันทร์ วันที่ : 2017-03-08-14:57:18

ที่อยู่ : 66 ม.15 ต.ดงเมืองแอม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง  สามารถทำให้ครัวเรือนของเรามีรายได้ทุกวัน  ใช้เวลาสั้น  การลงทุน

ก็ไม่สูงมากนัก  สามารถขยายหรือทำเป็นฟาร์มเห็ดแบบออร์แกนิกได้

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้ผู้สนใจอาชีพการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน  มาฝึกอบรมเรียนรู้เพื่อนำไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้  เพราะเป็นการลดรายจ่ายในเรื่องอาหารได้

2. ใช้พื้นที่น้อย  ประหยัดน้ำ ประหยัดแรงงาน

3. เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้คนรุ่นใหม่ได้สืบทอดต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      เปลือกมันสำปะหลัง

2.      มูลสัตว์แห้ง (ขี้วัว)

3.      ปูนขาว

4.      อาหารเสริม

5.      รำละเอียด

6.      น้ำหมัก กากน้ำตาล

7.      ปุ๋ยยูเรีย (ถ้ามี)

อุปกรณ์ ->

1.      ถัง 200  ลิตร 4 ใบ (หม้อนึ่งฆ่าเชื้อแบบลูกทุ่ง)

2.      ถังน้ำ/ตุ่มน้ำ

3.      บัวรดน้ำ

4.      สายยางรดน้ำ

5.      จอบ,พั้ว

6.      พลาสติกหรือผ้าใบคลุมกองวัสดุหมัก

7.      ฟืน (ใช้เป็นชื้อเพลิง)

 

 

 

 

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.      เกลี่ยกองเปลือกมันสำปะหลังให้เป็นแปลง พอประมาณความสูง  50 ซ.ม. 

2.      หว่านปูน หรือภูไมล์ โดโลไมท์  ให้ทั่วแปลงหมัก  พร้อมหว่าน มูลสัตว์แห้ง (ขี้วัว) ให้ทั่วแปลงเช่นกัน

3.      หว่านอาหารเสริม  30 ก.ก. ให้ทั่ว

4.      หว่านอาหารเสริม  25 ก.ก. ให้ทั่ว

5.      หลังจากนั้นคนให้เข้ากัน  โดยใช้จอบสับ หรือพั้วก็ได้  สับให้ทั่วทั้งแปลง รดน้ำตามด้วยน้ำหมักชีวภาพที่ผสมกับน้ำสะอาดไว้แล้ว  รดให้ทั่วทั้งแปลงจนชุ่มฉ่ำ

6.      คลุมด้วยผ้าใบให้มิดชิดทั่วทั้งแปลง คลุมไว้ประมาณ   7 – 15 วัน

7.      วันต่อมาให้ขนเปลือกมันที่หมักไว้แล้วนำขึ้นชั้นในโรงเรือนให้ครบทุกชั้น เกลี่ยแปลงให้สม่ำเสมอจนทั่วทุกแปลง จากนั้นรดน้ำตามให้ชุ่มฉ่ำจนทั่วทุกแปลง

8.      หว่านอาหารเสริม (ที่หมักไว้) ให้ทั่วทุกแปลง ปิดโรงเรือนให้มิดชิดพร้อมกับนึ่งฆ่าเชื้อราต่าง ๆ ที่จะเป็นศัตรูกับเชื้อเห็ดภายในโรงเรือน ให้สุกจนทั่ว โดยนึ่งด้วยหม้อนึ่งความดันสูง  หรือหม้อนึ่งแบบลูกทุ่งดัดแปลงทำเองก็ได้  โดยให้อุณหภูมิความร้อนประมาณ 60 C’ ขึ้นไป  นึ่งประมาณ   3 – 4 ชั่วโมงจนกว่างกากมันในโรงเรือนจะสุกดี

9.      วันรุ่งขึ้นให้เปิดโรงเรือนออกให้กว้างพอประมาณ  โดยเปิดด้านหน้า-ด้านหลัง  เพื่อให้ความร้อนในโรงเรือนได้ระบายออกมา  ทิ้งไว้สัก 30 -60 นาที  พอเย็นดีแล้วนำเชื้อเห็ดที่ขยี้ไว้แล้วนำไปโรยให้ทั่วทุกชั้น รดน้ำตามอีกทีพอให้เชื้อเห็ดยุบตัวลง พอเสร็จแล้วปิดโรงเรียนให้มิดชิด ทิ้งไว้พอถึงวันที่ 3 ให้ตัดเส้นใย  รอบแรกโดยใช้น้ำรดเป็นฝอยเบา ๆ จนทั่วทุกแปลงปิดโรงเรือนทิ้งไว้อีก

10.  วันที่  5  ตัดเส้นใยรอบที่สอง รดน้ำเป็นฝอยเบา ๆ เหมือนรอบแรก เปิดช่องอากาศด้านบนโรงเรือน ด้านข้างให้อากาศ ออกซิเจน  กับเชื้อเห็ด เพื่อกระตุ้นให้เส้นใยเห็ดรวมตัวกันเป็นดอกเห็ดต่อไป

 

ข้อพึงระวัง ->

1.      เห็ดเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่กินได้  เชื้อราที่เป็นศัตรูกับเห็ดก็มีเช่นกัน ควรระวังเชื้อราเขียว ราสีส้ม อย่างให้เกิดขึ้นในโรงเรือน

2.      รักษาความสะอาด  อย่าใช้น้ำหอมหรือทาแป้งก่อนเข้าโรงเรือนทุกครั้ง

3.      นึ่งฆ่าเชื้อให้สุก ปัญหาอย่างอื่นก็จะมีน้อย

4.      รักษาอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้สม่ำเสมอ ประมาณ 25 – 30 C’

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา