ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยหมัก

โดย : นายวะนิด แก้วมาตย์ วันที่ : 2017-03-15-14:58:48

ที่อยู่ : 128 หมู่ที่ 5 ตำบลสะอาด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปุ๋ย คำ ๆ นี้ก็คือ อาหารของพืช ที่เมื่อพืชได้รับไปแล้ว จะทำให้พืชผักผลไม้เจริญงอกงามนั่นเอง การทำเกษตรอินทรีย์ก็ต้องใช้ปุ๋ย ซึ่งปุ๋ยก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้สิ่งอื่นเช่นกันครับ ต้องเป็นปุ๋ยที่มาจากธรรมชาติเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้ไก่ ปุ๋ยขี้หมู หรือแม้กระทั้งปุ๋ยน้ำที่หมักจากเศษใบไม้ เศษพืชผักผลไม้ และปุ๋ยที่หมักจากเศษปลาหรือหอยเชอรี่ แต่ปุ๋ยที่หาได้ง่ายในชุมชนของเราก็คือ ปุ๋ยคอก(ปุ๋ยขี้วัว) นี่เอง และหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่า เมื่อได้ปุ๋ยคอกมาแล้ว ก็นำไปใส่พืชเลย ทั้งที่ยังเปียกหรือสดอยู่ ไม่ผิด แต่กว่าที่ปุ๋ยคอกจะย่อยสลายต้องใช้เวลานาน กว่าที่พืชจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ก็ไม่รู้ว่าต้องใช้เวลากี่วัน ทั้งนี้ปุ๋ยคอกสด ๆ ที่นำไปใช้โดยที่ยังไม่ผ่านกระบวนการย่อยสลาย มีธาตุอาหารมากก็จริง แต่พืชจะยังไม่สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจากจุลินทรีย์ในดินจะดึงไนโตรเจนจากพืชมาช่วยในการย่อยสลายปุ๋ยคอก จึงทำให้พืชขาดไนโตรเจนในช่วงนั้น จนเป็นสาเหตุให้ใบเหลืองซีด การทำปุ๋ยหมักเป็นการบำรุงดิน ปลอดสารพิษ และประหยัดต้นทุนการผลิตด้วย

วัตถุประสงค์ ->

การทำปุ๋ยคอกหมัก  ก็เพื่อที่จะให้เราสามารถนำไปใช้กับพืชเกษตรของเรา ถ้าใครมีปุ๋ยคอกมาก ก็สามารถนำไปใช้ได้กับพืชไร่ก็ได้ หรือจะหมักไว้ใช้เองกับพืชผักสวนครัวของเราก็ได้เช่นกัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 1.ปุ๋ยคอก          1 ส่วน (1 กระสอบ)

 2.แกลบ            1 ส่วน (1 กระสอบ)

 3.รำ                1 ส่วน (1 กระสอบ)

4.น้ำ EM ขยาย   1 ลิตร วิธีทำน้ำ EM ขยาย

 5.กากน้ำตาล      1 ลิตร

 6.น้ำสะอาด       25 ลิตรหรือมากกว่า

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นแรก นำปุ๋ยคอกที่ได้มาตากแดดให้แห้งเกลี่ยให้โดนแดดทิ้งไว้ 1-2 แดด ถ้าปุ๋ยคอกที่ได้มาแห้งแล้วก็ไม่ต้องตาก

เมื่อปุ๋ยคอกแห้งแล้ว ก็เตรียมส่วนผสมให้พร้อม ปุ๋ยคอก ,รำ ,ข้าวเปลือก = 1:1:1

เทส่วนผสมทั้งหมดลงพื้น

ใช้จอบเกลี่ยคลุกเคล้าให้เข้ากัน ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาพอสมควร

เมื่อเข้ากันแล้วเติมน้ำ EM ขยาย และกากน้ำตาลที่เตรียมไว้ ผสมน้ำให้เข้ากัน

นำไปรดที่กองปุ๋ยคอกที่เตรียมไว้ ถ้าไม่มีบัวรดน้ำใช้ขันตักไปก็ได้

จากนั้นใช้จอบคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใช้เวลาพอสมควร ลองใช้มือบีบดู ไม่แห้งหรือไม่เปียกเกินไป

ถ้ายังแห้งอยู่ เพิ่มน้ำอีกได้เลยโดยไม่จำเป็นต้อง 25 ลิตรเป๊ะ แล้วใช้จอบเกลี่ยไปด้วยเรื่อย ๆ

เสร็จแล้วตักใส่ไว้ในกระสอบ ตั้งไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก

ผ่านไปผ่านไป 3 วัน บางส่วนเริ่มย่อยสลายแล้ว 2 วัน เริ่มหายร้อนแล้ว ตัวปุ๋ยเองเริ่มมีการย่อยสลาย

ผ่านไป 5 วัน ลองใช้มือขยำดูรู้สึกว่าจะเป็นขุย ๆ

ผ่านไป 7 วัน จับขึ้นมาขย้ำดู สังเกตดูว่าฝุ่นคลุ้ง

หลังจากนั้นผ่านไปประมาณ 1 อาทิตย์ก็สามารถนำไปใช้กับผลผลิตของเราได้แล้ว

 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา