ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำไม้กวาดดอกหญ้า

โดย : นางสากล วิบูลย์กุล วันที่ : 2017-03-14-12:33:28

ที่อยู่ : ๒๕๕ หมู่ที่ ๖ ซอย......-...........ถนน...-.........ตำบล พังทุย อำเภอ น้ำพอง จังหวัด ขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

     เมื่อประมาณปี ๒๕๑๕ ได้มีราษฎรในตำบลพังทุย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นได้เก็บดอกหญ้าบนเชิงเขาบริเวณภูเขาสวนกวางอำเภอเขาสวนกวางมาทำไม้กวาดในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งขณะนั้นขายในราคาด้ามละ ๒.๕๐ บาท ทำขายกันประมาณ ๕-๖ ครอบครัวเท่านั้น ปีต่อๆมาเริ่มขยายการทำไม้กวาดขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นเป็นด้ามละ ๒๕-๕๐ บาท และเมื่อปี ๒๕๓๙ เริ่มมีการทำกันมากขึ้นครอบคลุมขยายเกือบทุกหมู่บ้านในตำบล จนกล่าวได้ว่าตำบลพังทุยมีอาชีพทำไม้กวาดทั้งตำบลเลยก็ว่าได้  การจำหน่ายก็เริ่มจำหน่ายในหมู่บ้าน ตำบล และในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าจากจังหวัดต่างๆเกือบทั่วทุกภาคของประเทศ ทำให้มีการรวมกลุ่มการผลิตและจำหน่ายไม้กวาดดอกหญ้า ในปี ๒๕๓๙ ชื่อ “กลุ่มสตรีสหกรณ์ไม้กวาดพังทุย” และข้าพเจ้าเข้าร่วมเริ่มเรียนรู้และทำไม้กวาดจากนางมิ่งขวัญ  ทาปลัด ประธานกลุ่ม จากที่ทำเป็นไม้กวาดด้ามงอ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้มีความสะดวก รวดเร็วทันสมัยเป็นพลาสติก เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อการประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

๑)ดอกหญ้า  ที่ใช้ทำไม้กวาดมีอยู่ ๒ ชนิด

             ๑.๑) ดอกพง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าดอกแขม จะมีอยู่แถบเขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับอำเภอน้ำพอง ซึ่งเมื่อหลายปีผ่านมาสามารถไปเก็บได้เอง ปัจจุบันค่อนข้างหายากต้องรับซื้อจากแหล่งจำหน่าย......

             ๑.๒) ดอกกง  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดอกยู จะมีอยู่แถบจังหวัดเพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พะเยา น่าน  ในช่วงแรกๆ ผู้ผลิตจะไปเก็บเอง แต่ปัจจุบันจะมีผู้นำมาจำหน่ายถึงที่ทำให้สะดวกยิ่งขึ้น

                ๒) ด้ามไม้ไผ่, ด้ามพลาสติก

                ๓) เชือกไนลอน ขนาด ๑.๕ ม.ม.

                ๔) ตะปู

                ๕) เข็ม เบอร์ ๔.๕ ,๘

                ๖) ลวด เบอร์ ๒๐

                ๗) น้ำยากันรั่ว เรนโค้ท

                ๘) น้ำมันทาไม้

                ๙) น้ำมัน วานิสเงา

                ๑๐) ห่วงสำหรับร้อยเชือกกับด้ามไม้กวาดไว้ห้อยหรือแขวนเก็บไม้กวาด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิต

               ๑ เตรียมดอกหญ้า

               ๑) นำดอกหญ้าไปตากแดด ประมาณ ๓ วัน

               ๒) นำดอกหญ้ามานวดให้ดอกร่วงหลุดจากก้าน

               ๓) เลาะ คัดแยกให้ได้ขนาดเท่าๆ กัน

               ๔) มัดเป็นกำ ๆ ขนาด ๑ กำมือ

               ๕) นำดอกหญ้าที่มัดเป็นกำมามัดรวมกันประมาณ ๕-๖ กำ เป็นมัดใหญ่

               ๖) เก็บรวบรวมไว้ รอให้การทำด้ามเรียบร้อย

               ๒ การเตรียมด้ามไม้กวาด

               ๑) ตัดไม้ไผ่ที่มีอายุ ๒ ปี ขนาดความยาว ๗๐ ซม.

               ๒) ตัดตา และขอบข้อต่อ ขัดด้วยกระดาษทรายให้ผิวเรียบไม่มีเสี้ยน

               ๓) นำด้ามไม้ไผ่แช่ในน้ำ นำก้อนหินหรือไม้กดให้จมน้ำ ทิ้งไว้ประมาณ ๑ สัปดาห์

               ๔) นำขึ้นตากแดดให้แห้ง

               ๕) นำลวดมามัด พันรอบด้ามไม้ไผ่แนวทแยง

               ๖) นำด้ามไม้ไผ่ไปลนไฟ พอให้เปลี่ยนสี ยกออก

               ๗) ปล่อยให้เย็น แล้วแกะลวดออก จะทำให้เกิดลวดลาย

               ๘) ทำด้วยน้ำมันทาไม้ (แลคเกอร์) ให้มีความมัน

               ๙) ทาหรือขัดด้วยวานิสเงา จะทำให้ด้ามไม้ไผ่ขึ้นเงา

               ๑๐) ติดห่วงบนปลายด้านหนึ่งของด้ามเพื่อเอาไว้ร้อยเชือก

               หมายเหตุ กรณีที่มีการรวมกลุ่ม การเตรียมวัสดุ จะมีการแยกงานทำเพื่อความสะดวก และความถนัด เช่น

               - กลุ่มทำลายด้ามไม้ไผ่

               - กลุ่มคัดแยกดอกหญ้า (นวดและมัดเป็นกำ)

               - กลุ่มเย็บ

               ซึ่งในแต่ละกลุ่ม สามารถนำวัสดุกลับไปทำที่บ้านได้

               ๓ ขั้นตอนการเย็บไม้กวาด

               ๑) นำดอกหญ้าที่มัดเป็นกำไว้ มาตัดตกแต่ง และชั่งให้ได้ขนาดกำละ ๖.๕ กรัม

               ๒) มัดส่วนหัวด้วยลวดให้แน่น ๔ รอบ

               ๓) ชุปส่วนหัวด้านที่มัดด้วยลวดด้วยเรนโค้ท เพิ่มความคงทน

               ๔) เย็บด้วยเข็มกับไนลอนเข้ากับด้ามไม้ไผ่/ด้ามพลาสติก

               ๕) ตกแต่งให้ได้รูปตามต้องการ

               ๖) ทาด้วยเรนโค้ทตรงส่วนที่เย็บอีกครั้ง เพื่อให้ยึดเกาะแน่นไม่หลุดง่าย

               ๗) เสร็จเรียบร้อย พร้อมจำหน่าย

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวัง : ในการทำไม้กวาดด้ามไม้กวาด หากใช้ไม้รวก ไม่สามารถทาแลคเกอร์ได้ มอด แมลงจะกัดกิน ไม่คงทนต่อการใช้งาน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา