ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

โดย : นายเดชา ต้นกันยา วันที่ : 2017-03-06-15:52:41

ที่อยู่ : 42 ม.9 ตำบลบัวใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปุ๋ยที่ได้จากสารอินทรีย์หรือวัสดุอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ อาทิ การสับ การบด การหมัก การร่อน การสกัด หรือด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพด้วยย่อยสลายของจุลินทรีย์ก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อพืชรูปแบบการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
1. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยการกองในหลุมหรือกองพื้นสูง และนำไปใช้โดยไม่ผ่านการอัดเม็ด
2. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยการกองในหลุมหรือกองพื้นสูง และนำไปใช้โดยผ่านการอัดเม็ด

วัตถุประสงค์ ->

ความสำคัญของปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่มีความสำคัญต่อการปรับปรุงดิน และให้แร่ธาตุอาหารแก่พืช เพราะประกอบด้วยอินทรียวัตถุ และแร่ธาตุต่างๆที่จะทำให้ดินมีสภาพดีขึ้น พร้อมช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม โดยปุ๋ยอินทรีย์มีความสำคัญ ดังนี้

1. ปุ๋ยอินทรีย์มีแร่ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และธาตุอาหารรอง รวมถึงจุลชีพที่พอเพียงหรือพอเพียงต่อความต้องการของพืช
2. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในระยะแรกอาจทำให้พืชมีผลผลิตไม่มากนัก แต่หากใช้ในระยะยาว ผลผลิตพืชจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ทำให้คุณสมบัติของดินดินดีขึ้นเรื่อยๆ
3. ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยให้ความเป็นกรด-ด่างของดินมีความเหมาะสมต่อการเติบโตของพืช และช่วยให้ความเป็นกรด-ด่างเปลี่ยนแปลงได้ยากขึ้น รวมถึงช่วยในการดูดยึดธาตุอาหารไว้ในดินได้มากขึ้น
4. ช่วยให้อนุภาคของดินจับตัวกันเป็นก้อนหรือเม็ดดินได้ดี เนื้อดินไม่อัดตัวกันแน่น มีความร่วนซุย การถ่ายเทอากาศ การอุ้มน้ำ และการไหลซึมของน้ำในดินดีขึ้น
5. ช่วยให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินสามารถเจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากอินทรีย์วัตถุสามารถเอื้อประโยชน์ และสร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

6. ช่วยเพิ่มความสามารถในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้ดีขึ้นจากปริมาณจุลินทรีย์ในดินที่เพิ่มขึ้น
7. เป็นปุ๋ยที่สามารถหาได้ง่าย และทำขึ้นได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน รวมถึงวัตถุดิบที่ใช้มีราคาถูกสามารถใช้วัตถุดิบทั่วไปตามท้องถิ่น
8. มีวิธีการการใส่ไม่ยุ่งยาก และไม่เป็นอันตรายหรือมีผลข้างเคียงต่อเกษตรกร
9. ธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์มีโอกาสสูญเสียจากการซึม การไหลบ่าของน้ำ การเสื่อมสภาพ เนื่องจากสารอาหารหรือแร่ธาตุจะเป็นองค์ประกอบในสารอินทรีย์เหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียวทำให้มีข้อเสียพอสมควร ได้แก่
– การใส่ปุ๋ยอินทรีย์มากเกินความจำเป็นจะเป็นการเพิ่มแร่ไนโตรเจนมากเกินควรทำให้พืชเติบโตเฉพาะในส่วนใบ และลำต้น ทำให้ผลผลิตของผลหรือเมล็ดน้อย
– ปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อย หากต้องการผลผลิตมากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีที่มีแร่ธาตุอาหารหลักสูงร่วมด้วย
– การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมากอาจมีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าแรง ค่าน้ำมัน มากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีแต่เพียงอย่างเดียว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปุ๋ยที่ได้จากมูลของสัตว์ ทั้งในรูปของเหลว และของแข็งที่สัตว์ขับถ่ายออกมารวมถึงน้ำล้างคอก เศษฟาง และวัสดุรองคอกที่รวมกันกับมูลสัตว์ ปุ๋ยชนิดนี้ ไม่จำเป็นต้องเตรียมให้มีขนาดเล็ก เนื่องจากถูกย่อยจากตัวสัตว์มาแล้ว ถือเป็นปุ๋ยฮิวมัสที่ประกอบด้วยอินทรีย์สาร และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จำนวนมาก ทั้งนี้จะมีมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ และอาหารที่สัตว์กิน ปุ๋ยคอกที่นิยมนำมาใช้มากในปัจจุบัน ได้แก่ มูลโค มูลกระบือ มูลสุกร มูลไก่ มูลนก และมูลสัตว์อื่นๆ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์

ขั้นตอนที่ 1
การเตรียมฟางข้าวหรือเศษวัชพืช  เชื้อจุลินทรีย์ซุปเปอร์พด.1 อัตราส่วนของเศษพืช 1,000 กก.  มูลสัตว์ 200-400 กก. และเชื้อจุลินทรีย์ พด.1 จำนวน 1 ซอง/ชั้น

ขั้นตอนที่ 2
ให้กองปุ๋ยชั้นที่ 1 โดยนำเศษพืชมาวางในพื้นที่กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ให้สูง 40 ซม.

ขั้นตอนที่ 3
ใส่มูลสัตว์ 50-100 กก. โดยโรยให้ทั่วบนพื้นที่กองเศษพืชเพื่อช่วยในการย่อยสลาย และเพิ่มธาตุอาหาร

ขั้นตอนที่ 4
รดน้ำที่ผสมหัวเชื้อซุปเปอร์ พด.1 ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย      และเชื้อแอคติโนไมซิท ด้วยการแช่น้ำไว้นาน 15 นาที ก่อนนำมารดบนหลังโรยมูลสัตว์ เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโต และช่วยย่อยสลายเศษพืช รวมถึงมูลสัตว์

ขั้นตอนที่ 5
ให้นำเศษพืชมากองทับอีกชั้น และทำตามขั้นตอนข้างต้น จนได้ชั้นประมาณ 4 ชั้น

ขั้นตอนที่ 6
ให้คลุมด้วยแสลนดำในฤดูร้อนเพื่อป้องกันแสงแดด และคลุมด้วยผ้าพลาสติกในฤดูฝนเพื่อป้องกันน้ำฝนไม่ให้ขัง แต่การคลุมผ้าพลาสติกควรเปิดผ้าเป็นระยะในวันที่ฝนไม่ตก

ขั้นตอนที่ 7
มั่นตรวจสอบความเรียบร้อยของกองปุ๋ยเป็นระยะขณะทำการหมัก เพื่อป้องกันสัตว์มาอาศัยอยู่ รวมถึงการขังของน้ำ และตรวจสอบสภาพการหมัก

ขั้นตอนที่ 8
เมื่อกองปุ๋ยหมักทั้ง 4 ชั้น มีการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้ว จะเป็นขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพของปุ๋ยด้วยการเพิ่มวัสดุปรับปรุงขนาดเล็ก เช่น ขี้เถ้า แกลบ ขี้เลื่อย เป็นต้น มาผสมกับมูลวัว และปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน วัสดุปรับปรุงขนาดเล็ก 1,000 กิโลกรัม + มูลสัตว์ 200-400 กิโลกรัม + ปุ๋ยเคมี 50-100 กิโลกรัม แล้วนำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ขั้นตอนที่ 9
ให้รดน้ำกองปุ๋ยหลังการเพิ่มเศษวัสดุปรับปรุงแล้ว โดยน้ำที่ใช้รดให้ผสมด้วยหัวเชื้อซุปเปอร์ พด.1 จำนวน 3-5 ซอง อีกครั้ง

ขั้นตอนที่ 10
ทำการคลุมกองปุ๋ยด้วยวัสดุข้างต้น และมั่นดูแลรักษาจนปุ๋ยเกิดการย่อยสลายสมบูรณ์ ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่เริ่มขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย 4-6 เดือน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้หมัก ทั้งนี้ควรมั่นกลับกองปุ๋ยทุก ๆ 15 วัน หากกองปุ๋ยมีความชื้นน้อยควรรดน้ำขณะกลับกองปุ๋ยทุกครั้ง

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา