ความรู้สัมมาชีพชุมชน

นายเดชา ต้นกันยา

โดย : การทำปุ๋ยอินทรีย์ วันที่ : 2017-06-20-13:44:29

ที่อยู่ : บ้านคอกคี ม.10 ตำบลบัวใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอินทรีย์หรือวัสดุอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ อาทิ การสับ การบด การหมัก การร่อน การสกัด หรือด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพด้วยย่อยสลายของจุลินทรีย์ก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อพืชรูปแบบการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
1. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยการกองในหลุมหรือกองพื้นสูง และนำไปใช้โดยไม่ผ่านการอัดเม็ด
2. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยการกองในหลุมหรือกองพื้นสูง และนำไปใช้โดยผ่านการอัดเม็ด

วัตถุประสงค์ ->

ความสำคัญของปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่มีความสำคัญต่อการปรับปรุงดิน และให้แร่ธาตุอาหารแก่พืช เพราะประกอบด้วยอินทรียวัตถุ และแร่ธาตุต่างๆที่จะทำให้ดินมีสภาพดีขึ้น พร้อมช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม โดยปุ๋ยอินทรีย์มีความสำคัญ ดังนี้

1. ปุ๋ยอินทรีย์มีแร่ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และธาตุอาหารรอง รวมถึงจุลชีพที่พอเพียงหรือพอเพียงต่อความต้องการของพืช
2. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในระยะแรกอาจทำให้พืชมีผลผลิตไม่มากนัก แต่หากใช้ในระยะยาว ผลผลิตพืชจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ทำให้คุณสมบัติของดินดินดีขึ้นเรื่อยๆ
3. ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยให้ความเป็นกรด-ด่างของดินมีความเหมาะสมต่อการเติบโตของพืช และช่วยให้ความเป็นกรด-ด่างเปลี่ยนแปลงได้ยากขึ้น รวมถึงช่วยในการดูดยึดธาตุอาหารไว้ในดินได้มากขึ้น
4. ช่วยให้อนุภาคของดินจับตัวกันเป็นก้อนหรือเม็ดดินได้ดี เนื้อดินไม่อัดตัวกันแน่น มีความร่วนซุย การถ่ายเทอากาศ การอุ้มน้ำ และการไหลซึมของน้ำในดินดีขึ้น
5. ช่วยให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินสามารถเจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากอินทรีย์วัตถุสามารถเอื้อประโยชน์ และสร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

6. ช่วยเพิ่มความสามารถในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้ดีขึ้นจากปริมาณจุลินทรีย์ในดินที่เพิ่มขึ้น
7. เป็นปุ๋ยที่สามารถหาได้ง่าย และทำขึ้นได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน รวมถึงวัตถุดิบที่ใช้มีราคาถูกสามารถใช้วัตถุดิบทั่วไปตามท้องถิ่น
8. มีวิธีการการใส่ไม่ยุ่งยาก และไม่เป็นอันตรายหรือมีผลข้างเคียงต่อเกษตรกร
9. ธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์มีโอกาสสูญเสียจากการซึม การไหลบ่าของน้ำ การเสื่อมสภาพ เนื่องจากสารอาหารหรือแร่ธาตุจะเป็นองค์ประกอบในสารอินทรีย์เหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียวทำให้มีข้อเสียพอสมควร ได้แก่
– การใส่ปุ๋ยอินทรีย์มากเกินความจำเป็นจะเป็นการเพิ่มแร่ไนโตรเจนมากเกินควรทำให้พืชเติบโตเฉพาะในส่วนใบ และลำต้น ทำให้ผลผลิตของผลหรือเมล็ดน้อย
– ปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อย หากต้องการผลผลิตมากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีที่มีแร่ธาตุอาหารหลักสูงร่วมด้วย
– การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมากอาจมีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าแรง ค่าน้ำมัน มากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีแต่เพียงอย่างเดียว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

เทคนิคการทำปุ๋ยหมัก

                หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้
           นอกจากนี้ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า"หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ"เมื่อนำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ชนิดปุ๋ยอินทรีย์ที่สาคัญ

1. ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมัก หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการหมักซากพืช ซากสัตว์ รวมถึงมูลสัตว์ เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สารจนผุพังกลายเป็นอาหารแก่พืช ด้วยการนำวัตถุดิบเหล่านั้นมากองรวมกัน และรดน้ำให้ชื้นแล้วนำผ้าพลาสติกมาคลุม และปล่อยให้เกิดการย่อยสลาย การแปรสภาพ จนกลายเป็นเศษอินทรีย์วัตถุสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ที่มีลักษณะพรุน ยุ่ย มีความร่วนซุยจนถึงขั้นเป็นฮิวมัส ก่อนนำไปใช้บำรุงดินหรือว่านโรยแก่พืช

2. ปุ๋ยคอก ปุ๋ยคอก หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากมูลของสัตว์ ทั้งในรูปของเหลว และของแข็งที่สัตว์ขับถ่ายออกมารวมถึงน้ำล้างคอก เศษฟาง และวัสดุรองคอกที่รวมกันกับมูลสัตว์ ปุ๋ยชนิดนี้ ไม่จำเป็นต้องเตรียมให้มีขนาดเล็ก เนื่องจากถูกย่อยจากตัวสัตว์มาแล้ว ถือเป็นปุ๋ยฮิวมัสที่ประกอบด้วยอินทรีย์สาร และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จำนวนมาก ทั้งนี้จะมีมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ และอาหารที่สัตว์กิน ปุ๋ยคอกที่นิยมนำมาใช้มากในปัจจุบัน ได้แก่ มูลโค มูลกระบือ มูลสุกร มูลไก่ มูลนก และมูลสัตว์อื่นๆ

3. ปุ๋ยพืชสด
ปุ๋ยพืชสด หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากต้นพืชในแปลงไร่นาที่ปลูกให้เจริญเติบโตจนถึงระยะที่เหมาะสมในการไถกลบลงดินขณะที่พืชยังยืนต้นอยู่ เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุหรือธาตุอาหารให้แก่ดินจาการเน่าเปื่อย และย่อยสลายหลังการไถกลบ และเป็นการเพิ่มปริมาณธาตุอาหาร และเชื้อจุลินทรีย์ให้แก่ดินโดยตรง โดยเฉพาะการปลูกพืชตระกูลถั่วที่มีเชื้อไรโซเบียม และธาตุไนโตรเจนที่พืชตระกูลถั่วตรึงได้ โดยพืชที่ปลูกจะเรียกว่า “พืชปุ๋ยสด” (green manure crop)

ข้อพึงระวัง ->

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์

ขั้นตอนที่ 1
การเตรียมฟางข้าวหรือเศษวัชพืช  เชื้อจุลินทรีย์ซุปเปอร์พด.1 อัตราส่วนของเศษพืช 1,000 กก.  มูลสัตว์ 200-400 กก. และเชื้อจุลินทรีย์ พด.1 จำนวน 1 ซอง/ชั้น

ขั้นตอนที่ 2
ให้กองปุ๋ยชั้นที่ 1 โดยนำเศษพืชมาวางในพื้นที่กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ให้สูง 40 ซม.

ขั้นตอนที่ 3
ใส่มูลสัตว์ 50-100 กก. โดยโรยให้ทั่วบนพื้นที่กองเศษพืชเพื่อช่วยในการย่อยสลาย และเพิ่มธาตุอาหาร

ขั้นตอนที่ 4
รดน้ำที่ผสมหัวเชื้อซุปเปอร์ พด.1 ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย      และเชื้อแอคติโนไมซิท ด้วยการแช่น้ำไว้นาน 15 นาที ก่อนนำมารดบนหลังโรยมูลสัตว์ เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโต และช่วยย่อยสลายเศษพืช รวมถึงมูลสัตว์

ขั้นตอนที่ 5
ให้นำเศษพืชมากองทับอีกชั้น และทำตามขั้นตอนข้างต้น จนได้ชั้นประมาณ 4 ชั้น

ขั้นตอนที่ 6
ให้คลุมด้วยแสลนดำในฤดูร้อนเพื่อป้องกันแสงแดด และคลุมด้วยผ้าพลาสติกในฤดูฝนเพื่อป้องกันน้ำฝนไม่ให้ขัง แต่การคลุมผ้าพลาสติกควรเปิดผ้าเป็นระยะในวันที่ฝนไม่ตก

ขั้นตอนที่ 7
มั่นตรวจสอบความเรียบร้อยของกองปุ๋ยเป็นระยะขณะทำการหมัก เพื่อป้องกันสัตว์มาอาศัยอยู่ รวมถึงการขังของน้ำ และตรวจสอบสภาพการหมัก

ขั้นตอนที่ 8
เมื่อกองปุ๋ยหมักทั้ง 4 ชั้น มีการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้ว จะเป็นขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพของปุ๋ยด้วยการเพิ่มวัสดุปรับปรุงขนาดเล็ก เช่น ขี้เถ้า แกลบ ขี้เลื่อย เป็นต้น มาผสมกับมูลวัว และปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน วัสดุปรับปรุงขนาดเล็ก 1,000 กิโลกรัม + มูลสัตว์ 200-400 กิโลกรัม + ปุ๋ยเคมี 50-100 กิโลกรัม แล้วนำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ขั้นตอนที่ 9
ให้รดน้ำกองปุ๋ยหลังการเพิ่มเศษวัสดุปรับปรุงแล้ว โดยน้ำที่ใช้รดให้ผสมด้วยหัวเชื้อซุปเปอร์ พด.1 จำนวน 3-5 ซอง อีกครั้ง

ขั้นตอนที่ 10
ทำการคลุมกองปุ๋ยด้วยวัสดุข้างต้น และมั่นดูแลรักษาจนปุ๋ยเกิดการย่อยสลายสมบูรณ์ ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่เริ่มขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย 4-6 เดือน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้หมัก ทั้งนี้ควรมั่นกลับกองปุ๋ยทุก ๆ 15 วัน หากกองปุ๋ยมีความชื้นน้อยควรรดน้ำขณะกลับกองปุ๋ยทุกครั้ง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา