ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

โดย : นางบุญช่วย ชาวโพธิ์ วันที่ : 2017-03-03-14:00:53

ที่อยู่ : 90 ม.10 บ้านหนองแวง ต.บ้านหัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

พื้นที่ส่วงนใหญ่ของหมู่บ้านเป็นพื้นที่ลาบสูง ซึ่งการปลูกหม่อนเลี้ยงตัวไหมเป็นอาชีพที่ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไม้ให้หายไป

2.เป็นเพื่อรายได้ให้กับครอบครัว

3.เพื่อที่ได้ได้นำเส้นไหมที่สาวมาทอเป็นเสื้อผ้านุ่งห่ม

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ไหมวัยอ่อน

2.ใบหม่อน

อุปกรณ์ ->

1กระดงใส่ตัวไหม

2.จ่อ สำหรับใส่ไหมตัวสุขเอาไว้ชักใย

3.มุ่งกันยุ่ง

4.ชั้นวาง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ไหมวัยอ่อน เป็นหนอนไหมที่มีความต้านทานโรคต่ำ ต้องเลี้ยงในสภาพที่สะอาด เพื่อป้องกัน เชื้อโรคโดยการทำความสะอาดโรงเลี้ยงและอุปกรณ์เลี้ยงไหม
      2. ลดจำนวนสูญหายของหนอนไหม โดยเลี้ยงไหมให้แข็งแรง ซึ่งทำได้โดย
            2.1 เลือกใบหม่อนเหมาะสมกับวัยของหนอนไหม
            2.2 ก่อนให้ใบหม่อน ควรมีการกระจายตัวไหมให้สม่ำเสมอ
            2.3 ให้ใบหม่อนที่มีขนาดเหมาะสมกับวัยของหนอนไหม
            2.4 ขยายพื้นที่เลี้ยงให้กับหนอนไหมอย่างเหมาะสม

ข้อพึงระวัง ->

ใบหม่อนที่เหมาะสมกับไหมวัยอ่อน

      1. ใบหม่อนสำหรับไหมแรกฟัก (วัย 1 วันที่ 1/ไหมแรกฟัก) ใช้หม่อนใบที่ 1 – 2 โดยนับใบที่คลี่ แผ่นใบรับแสงมากที่สุดเป็นใบที่ 1
      2. ใบหม่อนสำหรับไหมวัย 1 ใช้ใบหม่อนใบที่ 1 – 3 เท่านั้น
      3. ใบหม่อนสำหรับไหมวัย 2 ใช้ใบหม่อนใบที่ 4 – 6 หรือสังเกตจากตาหม่อน โดยตาหม่อนจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จะใช่ส่วนนี้ขึ้นไปถึงยอดอาจเก็บโดยการตัดหรือเด็ดใบก็ได้ และห้ามใช้ยอดหม่อนอ่อน (ใบหม่อนที่ยังไม่คลี่แผ่นใบ)
      4. ใบหม่อนสำหรับไหมวัย 3 ให้สังเกตจากสีของกิ่งหม่อนช่วงรอยต่อระหว่างสีเขียวกับสีน้ำตาล ใบหม่อนบริเวณรอยต่อเป็นใบหม่อนที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงไหมวัย 3 ประมาณใบที่ 7 - 10

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา