ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกมะม่วงนอกฤดู

โดย : นายบุญช่วง มีทา วันที่ : 2017-03-24-19:22:15

ที่อยู่ : 100 บ้านโนนทัน หมู่ที่ 8 ตำบลโนนสมบูรณ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายบุญช่วง มีทา เริ่มปลูกมะม่วงเมื่อปี ๒๕๒๗ ในพื้นที่ ๓๑ ไร่ ในปีแรกได้ผลผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เช่นตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ตลาดมหานาค ในปี ๒๕๕๒ เริ่มผลิตเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศเช่นประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน และเวียตนาม    

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเป็นอาชีพเสริม
2. เพื่อเพิมรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. ต้นพันธ์ุมะม่วงกะล่อน
๒. ปุ๋ยอินทรีย์
๓. ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15
๔. ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21
๕. ปุ๋ยเคมี สูตร 0-0-60

อุปกรณ์ ->

๑. คัตเตอร์

๒. เลื่อยแต่งกิ่ง

๓. ถุงห่อมะม่วง

๔. เทปใสติดตา
๕. ถังพ่นยา
๖. รถพ่นยา
๗. สายลาก
 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. จัดเตรียมอุปกรณ์  ปุ๋ยเคมี  สารเคมีฯ ถุงคาร์บอนสำหรับห่อผลมะม่วง เตรียมไว้ก่อนเริ่มกระบวนการผลิตมะม่วง 
                ๒. ใส่ปุ๋ยสูตร  ๑๕-๑๕-๑๕ ก่อนการตัดแต่งกิ่ง ๗ วัน  อัตรา ๕๐๐ กรัมต่อต้น เพื่อให้ต้นมะม่วงมีการสะสมอาหารก่อน(เมื่อตัดแต่งกิ่งเสร็จ ต้นพืชสามารถดึงอาหารที่สะสมมาใช้ในการแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น) และจะใส่ปุ๋ยคอก(มูลวัว) อัตรา ๒๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ โดยจะใส่ปีเว้นปีเพื่อให้โครงสร้างดินดีขึ้นรากสามารถชอนไชหาอาหารได้มากขึ้นและต้นพืชแข็งแรง แต่หากใส่ปีเว้นปีจะทำให้มะม่วงแตกยอดมากเกินไปการออกดอกติดผลลดลง
                ๓. ตัดแต่งกิ่งมะม่วงให้เหลือกิ่งไว้ประมาณ ๖๐ % ของต้น (๔-๕ กิ่ง) แต่งทรงพุ่มแบบเปิดฝาชีหงาย  เพื่อให้สารเคมีที่ฉีดพ่นไปได้ทั่วถึงทั้งทรงพุ่ม
               ในระยะการตัดแต่งกิ่งจะทำความสะอาดสวน โดยฉีดพ่นเมโทมิล อัตรา ๓๐๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐๐ลิตร 
เพื่อป้องกันกำจัดแมลง (มด,เพลี้ยจักจั่น และแมลงอื่นๆ) ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา คาร์เบนดาซิม อัตรา ๓๐๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐๐ ลิตร เพื่อลดการสะสมโรค และทำให้การจัดการ การตัดแต่งกิ่งทำได้สะดวก โดยฉีดพ่นจากด้านล่าง (โคนต้น) ขึ้นไปด้านบน จำนวน ๒ ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน ๕ วัน
                ๔. หลังตัดแต่งกิ่งไม่เกิน ๑๕ วัน ทำดึงยอดมะม่วง  โดยการฉีดพ่นไทโอยูเรียเพื่อกระตุ้นให้มะม่วงแตกใบอ่อนพร้อมกัน ในช่วงใบอ่อนหากมีแมลงค่อมทองและด้วงเข้ากัดกินใบ จึงจะฉีดพ่นอะบาเม็กตินหรือเมโทมิล อัตรา ๓๐๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐๐ ลิตร

                                                -๒-
                ๕. ราดสารพาโคลบิวทราโซล มะม่วงน้ำดอกไม้ อัตรา ๒๐๐ ซี.ซี./น้ำ ๑ ลิตร  มะม่วงแก้ว  อัตรา
๑๐๐ ซี.ซี./น้ำ ๑ ลิตร  เขียวเสวย อัตรา ๓๐๐ ซี.ซี./น้ำ ๑ ลิตร  ห่างจากโคน ๑๕ เซนติเมตร  
                ๖. หลังราดสารพาโคลบิวทราโซล ๑๕- ๓๐ วัน ใส่ปุ๋ยทางดิน สูตร ๘-๒๔-๒๔ อัตรา๕๐๐ กรัมต่อต้น และฉีดพ่นปุ๋ยเคมี สูตร ๐-๕๒-๓๔ ทุกๆ ๗ วัน ฉีดประมาณ ๓ ครั้ง เพื่อเพิ่มการสร้างตาดอก
                ๗. หลังราดสารพาโคลบิวทราโซล ๖๐ วัน ฉีดพ่นไธโอยูเรีย อัตรา ๕๐๐ กรัม ผสมกับโปแตสเซียม
ไนเตรท (๑๓-๐-๔๖) อัตรา ๒ กิโลกรัม ต่อน้ำ ๒๐๐ ลิตร ฉีดพ่น ๒ ครั้ง ห่างกัน ๗ วัน และหลังจากนั้นฉีดพ่นเฉพาะโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา ๒๐๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ประมาณ ๓-๔ ครั้ง ทุก ๗ วัน เพื่อให้ออกดอกพร้อมๆ กัน หลังจากนั้นประมาณ ๑๕ วัน  มะม่วงจะเริ่มออกดอก  ประมาณ ๓๐ วัน ติดผลเท่ากับหัวไม้ขีดไฟ ในระหว่างที่มะม่วงออกดอกติดผลฉีดพ่นแคลเซียม โบรอน ในอัตรา ๓๐๐ ซีซี ต่อน้ำ ๒๐๐ ลิตร ทุก ๗ วัน 
                ๘. การสำรวจศัตรูพืชและวางแผนป้องกันกำจัด หากสภาพอาการร้อนแห้งจะมีการระบาดของเพลี้ยไฟเกษตรกรจะเลือกฉีดพ่น อะบาเม็กติน  เมโทมิล อิมิดาคลอพริด คาร์บาริล ในอัตราที่แนะนำ และเมื่อมีฝนตกหรือความชื้นสูงเกษตรกรจะเลือกฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา ซึ่งได้แก่ โพรคลอราช โปรพิแนบ แคบแทน คาร์เบนดาซิม ในอัตรา ๒๐๐-๓๐๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐๐ ลิตร โดยที่เกษตรกรจะไม่ฉีดสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชแต่ละชนิดติดต่อกันเกิน
๒ ครั้ง เพื่อไม่ให้ศัตรูพืชดื้อยา
                        -  ทำกับดักแมลงวันผลไม้จากขวดพลาสติกและวัสดุเหลือใช้ เพื่อเป็นการตรวจเช็คปริมาณแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นศัตรูมะม่วงที่สำคัญมาก โดยมีวิธีการคือเจาะขวดน้ำพลาสติกและใช้สารล่อแมลงเมทิล ยูจินอล ผสมกับมาลาไทออน ซึ่งจะทำให้มีกลิ่นคล้ายฝรั่งที่แมลงวันทองชอบและบินติดในกับดัก ทำวางกับดักทั่วทั้งสวนประมาณ ๒๐ จุด
                        - ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการเผาถ่าน โดยหลังจากการตัดแต่งกิ่งมะม่วงแล้วนำกิ่งที่มีขนาดใหญ่มาเผาถ่านเพื่อใช้ใน ครัวเรือน รองเอาน้ำส้มควันไม้จากเตาเผาทิ้งไว้ ๔-๕ เดือน ก่อนนำมาใช้ฉีดพ่นไล่แมลงในอัตรา ๓๐๐
ซีซีต่อน้ำ ๒๐๐ ลิตร ฉีดพ่นทุก ๔-๕ วัน สลับกับการใช้สารเคมี ใช้น้ำส้มควันไม้ปีละประมาณ ๕ ลิตร โดยเฉพาะในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วคือเดือน พฤศจิกายน และธันวาคม ซึ่งทำให้ลดปริมาณการใช้สารเคมีและต้นทุนในการผลิตลง
                        - ปัญหาที่พบได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ แมลงค่อมทอง ด้วงกัดกินใบอ่อน แมลงวันทอง   โรคแอนแทรคโนส และราน้ำมัน
                ๙.  เริ่มห่อผลมะม่วงเมื่อมีผลขนาดเท่าไข่ไก่ โดยเลือกห่อเฉพาะผลที่มีรูปทรงสวยงาม ส่วนผลที่ไม่ได้คุณภาพหรือมีลักษณะที่ไม่ตรงตามความต้องการจะคัดทิ้ง (ห่อผลมะม่วง ไม่เกิน ๓ ผลต่อช่อ)
                        -  ก่อนห่อผลผลิต ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง (อะบาเม็กตริน, อิมิดาคลอพริด) และสารป้องกันจัดเชื้อรา (โปรพิแนบ) เพื่อป้องกันเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟและโรคแอนแทรคโนส มีการตัดแต่งผลผลิตที่รูปทรงผิดปกติ ผิวไม่สวยและไม่ได้คุณภาพออก
                        -  ห่อผลมะม่วงด้วยถุงกระดาษคาร์บอน แทนการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันการทำลายของศัตรูพืช แมลงวันผลไม้และทำให้ผิวสวย ปลอดภัยจากสารพิษ คุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาด โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ
                        -  ทำสัญลักษณ์ถุงห่อเพื่อง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากการห่อผลด้วยกระดาษคาร์บอนแล้วต้องทำสัญลักษณ์การห่อผล ซึ่งในมะม่วงหนึ่งต้นหรือในพื้นที่หนึ่งจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่เท่ากันคือ ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยว
๒ ครั้ง จึงต้องติดริบบิ้นสีต่าง ๆ เพื่อบ่งบอกถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเพื่อป้องกันการเก็บเกี่ยวผลอ่อนไม่ได้ อายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม และประหยัดเวลาในการเก็บเกี่ยวโดยไม่ต้องแกะถุงดูผลมะม่วงทุกถุงก่อนเก็บผลผลิต

                                                -๓-
                ๑๐. การเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยหลังจากห่อผลมะม่วงประมาณ ๕๐ วัน เริ่มทยอยเก็บผลผลิตขายได้ หรือที่ความสุกแก่ประมาณ ๘๐-๘๕ เปอร์เซ็นต์ (โดยการแช่น้ำ ส่วนที่โผล่พ้นน้ำมีขนาดเท่าเหรียญบาท) การเก็บเกี่ยวต้องใช้ความระมัดระวังสูงเพื่อป้องกันผลผลิตเสียหาย วิธีการจึงเปลี่ยนจากที่เคยใช้ตะกร้อสอยเปลี่ยนเป็นการใช้บันไดปีนขึ้น                เก็บ ผลผลิตด้วยมือทีละลูก บรรจุในตะกร้าพลาสติกขนย้ายไปคัดแยก
                ๑๑. การคัดคุณภาพผลผลิต เมื่อเก็บผลผลิตแล้วนำมาคัดแยกก่อนที่จะนำไปยังจุดจำหน่ายผลผลิตของกลุ่ม ซึ่งจะมีแรงงานจากบริษัทรับซื้อมาคัดแยกอีกครั้ง ในขั้นตอนการคัดแยกนี้เจ้าของสวนจะพาแรงงานไปศึกษาวิธีการคัดแยก ดูลักษณะผลผลิตที่บริษัทรับซื้อต้องการมาก่อนที่จะทำการคัดที่สวน มีการสวมถุงมือ และทำงานด้วยความประณีต โดยมะม่วงแต่ละพันธุ์จะมีการคัดคุณภาพดังนี้
                - มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ หากส่งออกจะเก็บที่ความสุกแก่ ๘๐-๘๕ เปอร์เซ็นต์ จำหน่ายภายในประเทศจะเก็บที่ความสุกแก่ ๙๐-๙๕ เปอร์เซ็นต์ โดยเกรด A จะต้องมีน้ำหนัก ๒๕๐ กรัมขึ้นไป ผิวสวยเรียบ ไม่มีรอย จุดดำ ไม่มีราน้ำมันและแอนแทรคโนส  เกรด B น้ำหนัก ๓๐๐ กรัมขึ้นไป ผิวมีรอยจุดกระดำมีตำหนิได้เล็กน้อย เกรด C น้ำหนักต่ำกว่า ๓๐๐ ผิวมีรอยจุดกระดำมีตำหนิได้

ข้อพึงระวัง ->

๑.ทำความสะอาดแปลงให้โปร่ง

 ๒.ดูแลตรวจสอบแปลงสม่ำเสมอ

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา