ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เทคนิคการทอผ้ามัดหมี่

โดย : นางเกษร หงษ์ประสิทธิ วันที่ : 2017-07-01-10:09:21

ที่อยู่ : 155 บ้านป่าเป้า ม.2 ต.โสกนกเต็น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านป่าเป้า หมู่ที่ 2  ตำบลโสกนกเต็น มีอาชีพรองจากการทำนาคือ การทอผ้าไหมผ้าฝ้ายเกีอบทุกครัวเรือน ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายไปจนถึงรุ่นลูกหลาน มีทั้งผ้าไหมผ้าฝ้ายพื้น ผ้ามัดหมี่ ซึ่งในการมัดหมี่นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความชำนาญ และคิดค้นลวดลายใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าผ้าไหมให้ได้ราคาตามความต้องการของตลาด

วัตถุประสงค์ ->

  1. เพื่อเพิ่มมูลค่าผ้าไหมผ้าฝ้ายให้ได้ราคาราสูงขึ้น
  2. เพื่อถ่ายทอดการออกแบบลวดลายหมี่ให้ผู้สนใจ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  1. ผ้าไหม 
  2. ผ้าฝ้าย
  3. สีธรรมชาติ

อุปกรณ์ ->

  1. เชือกฟาง      4. กง                 7.  หูก               10.หลักตีนกง
  2. หลักหมี่        5. อัก                 8. ฟืม                11. หลา
  3. สีย้อมฝ้าย    6. โฮงหมี่             9. หลอดใส่ด้าย    12. กระสวย

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การมัดหมี่ 
        การมัดหมี่ เป็นการทำลวดลายของผืนผ้า โดยการใช้เชือกฟางมัดกลุ่มเส้นฝ้ายเป็นลวดลายตามต้องการ ก่อนนำฝ้ายย้อมน้ำสี เมื่อแก้เชือกฟางออกจึงเกิดสีแตกต่างกัน ถ้าต้องการเพียง 2 สี จะแก้เชือกฟางเพียงครั้งเดียว หากต้องการหลายสีจะมีการแก้มัดเชิอกฟางหลายครั้ง
         ก่อนมัดหมี่ ต้องค้นหมี่ก่อน โดยการนำเส้นฝ้ายพันรอบหลักหมี่ 1 คู่ นับจำนวนเส้นฝ้ายให้สัมพันธ์กับลายหมี่ที่จะมัด จากนั้นจึงทำการมัดหมี่กลุ่มเส้นฝ้ายในหลักหมี่ ตามลวดลายหมี่ที่ต้องการ เมื่อถอดฝ้ายมัดหมี่ออกจากหลักหมี่ นำไปย้อมสี บิดให้หมาดแล้วจึงแก้ปอมัดหมี่ออก ทำให้เกิดลวดลายตรงที่แก้ปอออก นำฝ้ายที่แก้ปอมัดแล้วนี้ไปพันรอบหลอดไม้ไผ่เรียกว่า การปั่นหลอด ร้อยหลอดฝ้ายตามลำดับก่อน-หลัง เก็บไว้อย่างดีระวังไม่ให้ถูกรบกวนจนเชือกร้อยขาด ฝ้ายมัดหมี่ในหลอดฝ้ายใช้เป็นเส้นพุ่งในการทอ

ข้อพึงระวัง ->

การร้อยฝ้าย การร้อยหลอดฝ้ายที่ปั่นแล้วตามลำดับก่อนหลังหากร้อยหลอดผิดลำดับหรือเชือกร้อยหลอดขาดทำให้ลำดับฝ้ายผิดไปจะไม่สามารถทอเป็นลวดลายตามความต้องการได้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา