ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาหมอเทศ

โดย : นายสำลี ยูรศรี วันที่ : 2017-03-21-09:35:28

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 51 บ้านวังหิน หมู่ที่ 1 ตำบลวังหิน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากปลาหมอในธรรมชาติที่ลดน้อยลง ซึ่งสวนทางกับความต้องการที่สูงขึ้น เพราะปลาหมอมีรสชาติที่มีความหอม เนื้อรสหวานและกลมกล่อม ถ้าหากสามารถเพาะเลี้ยงได้จะสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในชุมชน และยังนำแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

สร้างอาชีพให้เกิดขึ้นในชุมชน เดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนพึ่งพาตนเองได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.พันธุ์ปลาหมอเทศ
2.อาหารปลา

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาหมอ

2.การคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอ พ่อพันธุ์ ควรมีลักษณะลำตัวยาวว่ายน้ำปราดเปรียว และในการคัดพ่อพันธุ์ให้ทำตอนเช้า หลังจากเปลี่ยนถ่ายน้ำก่อนให้อาหาร  พ่อพันธุ์ที่พร้อมการผสมพันธุ์บริเวณปลายหัวจะออกเป็นสีแดง เกล็ดนวลเงา ไม่เป็นแผล แม่พันธุ์ ควรจะมีขนาดป้อมสั้น ลำตัวมีความยาวประมาณ 3 นิ้ว การคัดเลือกแม่พันธุ์ปลาหมอนาให้ทำตอนเช้า หลังจากเปลี่ยนถ่ายน้ำก่อนให้อาหารแม่พันธุ์ที่พร้อมจะมีลักษณะท้องบวมเป่ง แสดงว่ามีไข่ อวัยวะเพศมีสีแดงชมพูเรื่อ

3.การให้อาหาร ใช้ปลาป่นผสมรำละเอียดเป็นอาหารในช่วง 3วันแรก เริ่มให้ไข่ พอเริ่มวันที่ 4 ให้ไก่ต้มสุกเอาเฉพาะไข่แดงบดผ่านผ้าขาวบางผสมน้ำสาดทั่วบ่อ และอาหารผงสำเร็จรูปหรือรำละเอียดผสมปลาป่น อัตรา 1 ต่อ 1 หลังจากอนุบาล 3 สัปดาห์

4.ถึงแม้ปลาหมอจะเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพน้ำ แต่ก็ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี และกินอาหารได้มากขึ้น  โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณเดือนละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำในบ่อ เพื่อให้ปลาปรับตัวได้ง่าย และประหยัดน้ำได้มากกว่าเปลี่ยนหมดทั้งบ่อ

5.ระยะเวลาและการจับปลาหมอ  โดยทั่วไปใช้เวลาเลี้ยง ประมาณ 90-120 วัน ถ้าจำหน่ายเมื่อโตเต็มที่ จะได้ราคาอย่างน้อยกิโลกรัมละ 150 บาท แต่ถ้าเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์ลูกปลาขาย  ราคาทั่วไปที่จำหน่ายคือ ตัวละ 1 บาท

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา