ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

พุทราสามรส

โดย : นางอรุณ สาเสน วันที่ : 2017-03-20-18:23:37

ที่อยู่ : 139/1 บ้านหนองโข่ย หมูที่ 2 ตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

พุทราสามรส 

 ชื่ออื่นๆ พุทรา, นางต้มต้น, หมากทัน, มะตันหลวง, มะท้อง, มะตอง, มะตันต้นพุทราสามรส

 

พุทราเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ที่มีอายุอยู่ได้นานหลายปี และเป็นพืชที่เหมาะสมกับสภาพดินทางภาคอีสาน   สำหรับพุทราสามรส เป็นพืชที่ไม่ค่อยมีใครสนใจปลูกกันมากนัก แต่แล้วพืชชนิดนี้ มีจุดเด่นมากมาย เช่น ให้ผลผลิตได้นานหลายปี มีระยะการเก็บเกี่ยวนาน 5-6 เดือน ปลูกและดูแลรักษาได้ง่าย มีต้นทุนต่ำ ให้ผลผลิตสูง ขนาดผลใหญ่ รสหวาน กรอบ มีกลิ่นหอมคล้ายสาลี่

วัตถุประสงค์ ->

1.มีประโยชน์ด้านคุณค่าทางสารอาหารมากมาย เช่น เส้นใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี แคลเซียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส เมื่อรับประทานเข้าไปจะรู้สึกอิ่มท้องอยู่ได้นาน ทำให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น ใช้รับประทานเพื่อควบคุมน้ำหนักได้ ให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน ช่วยลดความดันโลหิต ควบคุมการเต้นของหัวใจ ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง และมีสรรพคุณทางยาโบราณที่ช่วยแก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้อาการท้องร่วง อาเจียน แก้หวัด คัดจมูก แก้อ่อนเพลีย ทำให้นอนหลับ และแก้หืด

2. ประโยชน์ด้านการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผุ้สนใจ

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การขยายพันธุ์

 ทำได้โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง การปลูกพุทราสามรสให้ได้ผลผลิตเร็ว ตรงกับความต้องการของตลาด ควรปลูกประมาณเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม ก็จะเริ่มติดดอกในเดือนเมษายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณเดือนสิงหาคม

 

การปลูก

 หากพื้นที่ปลูกเป็นที่ลุ่ม ให้ยกร่องปลูกกว้าง 4-5 เมตร สำหรับการปลูกแบบแถวเดียว เพื่อป้องกันน้ำท่วม สำหรับการปลูกแบบแถวคู่ให้ยกร่องกว้างประมาณ 7 เมตร ขุดร่องน้ำให้กว้างและลึกประมาณ 1-2 เมตร นำกิ่งพันธุ์ปลูกริมร่องทั้งสองข้าง ระดับน้ำในร่องต้องต่ำกว่าสันร่องน้ำ

 

การให้น้ำ

 พุทราเป็นพืชที่ชอบความแห้งแล้ง ในช่วงที่มีการแตกกิ่งก้านและติดดอกควรให้น้ำประมาณ 2-4 วัน/ครั้ง ควรหยุดให้น้ำหรือเว้นระยะการให้ออกไปเมื่อมีการติดผลแล้ว เพื่อป้องกันการหลุดร่วง ควรตัดแต่งกิ่งเพื่อบังคับให้เพิ่มผลผลิตเมื่อปลูกได้ 1 ปีขึ้นไป ควบคู่ไปกับการให้น้ำและใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ย

 ให้ปุ๋ยทางใบเพื่อป้องกันโรคใบไหม้ โดยฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็นที่อากาศไม่ร้อน ไม่มีลมพัดแรง ใส่ปุ๋ยคอกในช่วงที่มีการพักต้น เมื่อเริ่มแตกยอดใหม่ก็ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 เมื่อออกดอกติดผลแล้วให้ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 สลับกับสูตร 13-13-21 เพื่อเร่งดอก ทำให้ติดลูกดก บำรุงผลให้มีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย ให้ผลได้อย่างต่อเนื่อง

 

โรคและแมลงศัตรูพืช

 ใช้เพียงคาร์เบนดาซิม กับ แมนโคเซ็บ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ทุก 10-15 วัน กำจัดแมลงวันทองด้วยสารล่อ หรือฉีดพ่นด้วยสารไซเปอร์และคลอร์ไพริฟอส และยาป้องกันเชื้อรา

 

พุทราสามรส มักจะให้ผลผลิตลดลง หลังจากปลูกไปได้ประมาณ 7 ปี จึงควรมีการปลูกต้นใหม่เป็นการทดแทน

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

สำหรับพุทราสามรส เป็นพืชที่ไม่ค่อยมีใครสนใจปลูกกันมากนัก แต่ความจริงแล้วพืชชนิดนี้ มีจุดเด่นมากมายเลยทีเดียว เช่น ให้ผลผลิตได้นานหลายปี มีระยะการเก็บเกี่ยวนาน 5-6 เดือน ปลูกและดูแลรักษาได้ง่าย มีต้นทุนต่ำ ให้ผลผลิตสูง ขนาดผลใหญ่ รสหวาน กรอบ มีกลิ่นหอมคล้ายสาลี่

 

การขยายพันธุ์

 ทำได้โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง การปลูกพุทราสามรสให้ได้ผลผลิตเร็ว ตรงกับความต้องการของตลาด ควรปลูกประมาณเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม ก็จะเริ่มติดดอกในเดือนเมษายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณเดือนสิงหาคม

 

การปลูก

 หากพื้นที่ปลูกเป็นที่ลุ่ม ให้ยกร่องปลูกกว้าง 4-5 เมตร สำหรับการปลูกแบบแถวเดียว เพื่อป้องกันน้ำท่วม สำหรับการปลูกแบบแถวคู่ให้ยกร่องกว้างประมาณ 7 เมตร ขุดร่องน้ำให้กว้างและลึกประมาณ 1-2 เมตร นำกิ่งพันธุ์ปลูกริมร่องทั้งสองข้าง ระดับน้ำในร่องต้องต่ำกว่าสันร่องน้ำ

 

การให้น้ำ

 พุทราเป็นพืชที่ชอบความแห้งแล้ง ในช่วงที่มีการแตกกิ่งก้านและติดดอกควรให้น้ำประมาณ 2-4 วัน/ครั้ง ควรหยุดให้น้ำหรือเว้นระยะการให้ออกไปเมื่อมีการติดผลแล้ว เพื่อป้องกันการหลุดร่วง ควรตัดแต่งกิ่งเพื่อบังคับให้เพิ่มผลผลิตเมื่อปลูกได้ 1 ปีขึ้นไป ควบคู่ไปกับการให้น้ำและใส่ปุ๋ย

 

การใส่ปุ๋ย

 ให้ปุ๋ยทางใบเพื่อป้องกันโรคใบไหม้ โดยฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็นที่อากาศไม่ร้อน ไม่มีลมพัดแรง ใส่ปุ๋ยคอกในช่วงที่มีการพักต้น เมื่อเริ่มแตกยอดใหม่ก็ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 เมื่อออกดอกติดผลแล้วให้ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 สลับกับสูตร 13-13-21 เพื่อเร่งดอก ทำให้ติดลูกดก บำรุงผลให้มีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย ให้ผลได้อย่างต่อเนื่อง

 

โรคและแมลงศัตรูพืช

 ใช้เพียงคาร์เบนดาซิม กับ แมนโคเซ็บ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ทุก 10-15 วัน กำจัดแมลงวันทองด้วยสารล่อ หรือฉีดพ่นด้วยสารไซเปอร์และคลอร์ไพริฟอส และยาป้องกันเชื้อรา

ข้อพึงระวัง ->

ส่วนวิธีปลูก ให้ไถพรวนดิน ยกร่องให้สูงขึ้น เพื่อสามารถระบายน้ำไปเลี้ยงต้นพุทรา การปลูกระยะห่างของต้นประมาณ 1.50 ม. ควรทำในช่วงเริ่มฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคมเพื่อไม่ให้ต้นกล้าขาดน้ำ เมื่อปลูกพุทราเริ่มเติบโต ให้ใส่ปุ๋ยมูลไก่พรวนดิน ปลูก 5-6 เดือน จะเริ่มให้ผลผลิต โดยปีแรกจะมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวแค่ครั้งเดียว แต่จะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2-3 ครั้ง ในปีถัดไป   พุทราสามรสผลไม้ทำเงิน "พุทรา" เป็นพืชที่ปลูกง่ายแต่ต้องมีการดูแลและจัดการอย่างดี โดยเฉพาะการผลิตพุทราให้ติดผลในสภาพอากาศ ที่แปรปรวน เพราะต้นพุทราจะไม่ติดผล บางครั้งหลุดร่วงเกือบทั้งหมด เกษตรกรหลายรายจึงหาวิธีให้ติดผลดก นอกจากนั้นยังมีปัญหาในเรื่องของแมลงและศัตรูพืช เพราะพุทรามักมีแมลงวันทองรบกวนมากในช่วงออกดอกติดผล ทำให้ต้องใช้สารเคมีีเพื่อป้องกัน แมลงวันทอง พัฒนาที่ดินแนะนำให้ เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำร่วมกับปุ๋ยเคมี (เดิมใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว) ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์น้ำจะมีฮอร์โมนพืชเร่งการติดดอกออกผล ทั้งยังช่วยลดวงจรของแมลง และใช้เป็นสารไล่แมลงเมื่อหมักสารเร่งพด.2 กับสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่น หมัก 1 เดือน นำมาฉีดพ่นแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

 

"พุทราพันธุ์สามรส" นั้นมีลักษณะพิเศษ คือ ผลขนาดใหญ่ รสชาติหวานกรอบ กลิ่นหอม คล้ายกับผลสาลี่จีน เทคนิคที่จะทำให้ต้นพุทราติดผลดก ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำร่วมกับปุ๋ยเคมี (สูตร 16-16- 16) ในการบำรุงต้นพุทราโดยปุ๋ยอินทรีย์น้ำผลิตจากสารเร่งพด.2 หมักกับพุทรา แตงโม ผัก และกากน้ำตาล (หรือน้ำตาลก็ได้)หมักไว้ประมาณ 15 วัน หลังการเก็บพุทรา แล้ว ตัดแต่งกิ่งพุทรา แล้วใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน 2 ก.ก. ปุ๋ยเคมี 100 กรัม/ต้น แล้วนำปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่หมักได้ที่แล้ว ผสมกับน้ำแล้วอัตราส่วน 1 : 200 (ประมาณ 2 ลิตรต่อไร่) เทรดลงดินบริเวณโคนต้น 7 วันต่อ ครั้ง เมื่อพุทราแตกยอดอ่อน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ผสมแล้ว (1 : 200 ) ฉีดพ่นบนต้น ใบ และรดบริเวณโคนต้น 7 วันต่อครั้ง ส่วนสมุนไพร (ข่า บอระเพ็ด สะเดา สาบเสือ พริก ยาฉุน โลติ๊น) ที่นำมาหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำจากสารเร่งพด.2 ประมาณ 1 เดือน นำน้ำหมักสมุนไพรที่ ได้มาผสมกับน้ำ อัตราส่วน 1/2 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันแมลง 7 วันต่อครั้ง โดยผสมพร้อมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ฉีดพ่นพร้อมกัน (ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 1 ลิตร + น้ำหมักสมุนไพร 1/2 ลิตร+ น้ำ 200 ลิตร) ส่วนกากที่เหลือก็นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักเป็นอาหารของพืชต่อไปได้อีก วิธีนี้ช่วยให้ต้นพุทราติดผลดก ลูกโต รสชาติดี ผิวสวย กรอบ อร่อย พบปัญหาผล หลุด ร่วงน้อยขายได้ราคาดี ทำให้มีรายได้เพิ่ม ขึ้นอีกประมาณเท่าตัว ก่อนใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ปีที่ 1 ขายได้ 40,000 บาท (ใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และกำมะถัน) ปีที่ 2 ขายได้ 60,000 บาท หลังใช้ปีที่ 3 ขายได้ 110,000 บาท ลงทุนไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมี หรือฮอร์โมนเร่งฉีดพ่น จากเดิมรายจ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมีลดลง 70% ลดสารเคมีได้ 70%

 

เมื่อผลพุทราดังกล่าวติดผลขนาดเท่าหัวแม่มือ เกษตรกรห่อผลด้วยถุงพลาสติกป้องกันศัตรูพืชรบกวน เพื่อลดการใช้สารเคมีลง ส่วนการบำรุงดูแลต้นให้สมบูรณ์นั้น เกษตรกรปฏิบัติเช่นเดียวกันกับเกษตรกรรายอื่นๆ ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ทั้งทางดินและทางใบ หากปลูกในที่โล่งแจ้งเกษตรกรควรหาไม้ไผ่มาค้ำยันกิ่งและยังเป็นการบังคับ ไม่ให้ต้นสูงมากนัก โดยโน้มกิ่งให้แผ่ออกเพื่อให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น ช่วยลดปัญหาศัตรูพืชลงได้ และทำให้ต้นสมบูรณ์ แข็งแรงให้ผลผลิตสูง นับเป็นอีกแนวทาง หนึ่งในการเพาะปลูกไม้ผลเชิงการค้า ที่ตลาดยังมีช่องทางการจำหน่ายราคา "ที่ีคุ้มทุน กำไรงาม"

 

 

ยังไม่มีผลผลิต แถมยังต้องดูแลใส่ปุ๋ยบำรุงต้นให้เจริญเติบโตและรอดให้ได้ เมื่อเริ่มเข้าปีที่ 2 ต้นพุทราเริ่มโตสูงประมาณ 50 ซม. เริ่มออกผล แต่ยังเก็บขาย

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา