ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกกุหลาบ

โดย : นางขจร สงวนพิมพ์ วันที่ : 2017-03-20-17:40:19

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 310 หมู่ที่ 4 บ้านผาน้ำเที่ยง ตำบลบริบูรณ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจาก กลุ่มสตรีบ้านผาน้ำเที่ยงได้รวมตัวกันในการหาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน ประกอบกับพื้นที่ในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ สปก.และเป็นที่ว่างจึงมีแนวคิดในการในการจัดสรรพื้นที่ปลูกกุหลาบ คนละ 1 งาน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อหาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

กิ่งพันธุ์กุหลาบ และดอกไม้

อุปกรณ์ ->

1. มือตัดกิ่ง

2. จอบ เสียม

3. ดินสำหรับปลูก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีเตรียมดินปลูกกุหลาบ......
การปลูก..... ปลูกลงดิน ควรเว้นระยะห่าง 60-80 ซม.
ส่วนผสมของดินปลูก.....- ดิน 1 ส่วน
- อินทรีย์วัตถุ (ปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ หรือ แกลบ) 2 ส่วน
- ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
- ขุยมะพร้าว (ใช้หรือไม่ก็ได้) 1/2 ส่วน
ที่ตั้งแปลง หรือ ที่วางกระถาง..... เป็นที่มีแดดอย่างน้อย 1/2 วัน ปกติกุหลาบต้องการแดดเต็มวัน แต่เนื่องจากกุหลาบไม่ชอบอากาศร้อน ดังนั้นในช่วงฤดูร้อนควรให้กุหลาบถูกแดดนานแค่ 1/2 วันก็พอ อาจจะย้ายที่วางใหม่ หรือ พรางแสงด้วยซาแลน
การให้น้ำ..... ปกติ 1 ครั้งต่อวัน หรือ ประมาณ 1 ลิตรต่อกระถาง 10 นิ้ว แต่ฤดูร้อน อากาศแห้งมาก อาจต้องเพิ่มเป็น 2 ครั้งต่อวัน
การให้ปุ๋ย.....
- ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรอ 16-16-16 หรือ 14-9-20 หรือ 15-5-20 หรือ 21-9-24
- ปุ๋ยคอก (มูลสัตว์) ขี้ไก่ (แบบอัดเม็ด จะดีกว่าจากฟาร์ม เพราะเวลารดน้ำจะกลิ่นเหม็นมาก) ขี้วัว (ต้องใช้ปริมาณมากกว่าขี้วัว แต่ข้อเสีย เรื่องวัชพืชที่ตามมา)
- ปุ๋ยคอก มีแร่ธาตุอาหารน้อยกว่าปุ๋ยเคมี จึงควรใช้ปุ๋ยคอกและเคมีสลับกัน โดยใช้ปุ๋ยคอกประมาณ 3-4 เดือนครั้ง เพื่อแก้ปัญหาดินแข็ง เหนียวจากปุ๋ยเคมี และทุกๆ 6 เดือน 
- ปูนโดโลไมท์ (มีแคลเซียมและแมกนีเซียม) ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อกระถาง 10-12 นิ้ว เพื่อแก้ความเป็นกรดจากปุ๋ยเคมี
- เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วควรรดนำทันที เพื่อไม่ให้เข้มข้นตรงจุดใดจุดหนึ่งมากไป ทำให้รากเสียหาย ปุ๋ยเคมีควรใส่น้อยๆ แต่บ่อยๆ ไม่ควรใส่มากเกินไปเพราะจะทำให้ขอบใบไหม้ และตายได้
การตัดแต่ง.....
- ต้นใหม่ ตัดแต่งกิ่งลีบ เล็ก ที่เป็นกิ่งรุ่นแรกๆ ออกที่โคนกิ่ง เหลือไว้แต่กระโดงใหญ่ๆ
- ต้นที่โตแล้ว ตัดกิ่งผอม กิ่งเป็นโรค บิดงอ กิ่งที่ง่ามแคบ หรือกิ่งที่พุ่งเข้าในพุ่ม กิ่งแก่ที่ไม่แตกยอดดอกอีกแล้วทิ้ง
- ดอกโรย ควรรีบตัดออกเพื่อไม่ให้เสียอาหารต่อไป ถ้าเป็นกุหลาบก้านยาวควรตัดเอาความยาวออกครึ่งนึ่งของความยาวก้าน หรือต่ำลงมาจนถึง 5 ใบชุด ไว้ซัก 2-3 ชุด
- การตัดแต่งประจำปี ควรทำปีละ 2 ครั้ง ในเดือนตุลาคม (ก่อนหนาว) และเดือนเมษายน (ก่อนฝน) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้ตั้งพุ่มใหม่ เพื่อลดความสูง โดยตัดกิ่งกระโดงให้สั่นลงเหลือประมาณ 30-40 ซม. ถ้าต้นแข็งแรง แต่ถ้ามีกิ่งกระโดงมาก ก็ให้ตัดกิ่งแก่ออกเสียบ้าง
การเปลี่ยนกระถาง..... ทำปีละ 1 ครั้ง อาจทำพร้อมการตัดแต่งช่วงเดือนเมษายน โดยควักดินรอบๆขอบกระถางออกส่วนหนึ่ง หรือ ถอดออกทั้งต้นแล้วเปลี่ยนดินใหม่
โรค และ แมลง.....
- เพลี้ยไฟ เป็นแมลงตัวเล็กแหลมเหมือนเข็ม ซ่อนอยู่ใต้กลีบดอก ทำให้ยอดอ่อนหงิกงอ ดอกด่าง
- ไรแดง เป็นแมลงมุมตัวเล็ก สีเหลืองส้ม อยู่ใต้ใบ ดุดกินน้ำเลี้ยงจนใบซีด ขุ่นมัว
- ใบจุดสีดำ ที่มีขอบพร่า ทำให้ใบเหลืองหลุดร่วง จะเริ่มมีอาการจากใบแก่ที่โคนต้นขึ้นมา
- ราน้ำค้าง เป็นปื้นๆ จุดสีน้ำตาลม่วงเป็นที่ยอดอ่อน ทำให้ใบร่วงตั้งแต่ยังเขียว 
- ราแป้ง เหมือนผงสีขาวเหมือนแป้งจับ ใบหงิกพองเหมือนข้าวเกรียบว่าว
ราสีเทา (บอไทรทิส) กลีบนอกจะเหี่ยว และ เป็นรา ดอกไม่ยอมบาน
- แคงเกอร์ ทำให้กิ่งเนแผลวงกลมสีน้ำตาลของเหลือง ส่วนมากเป็นที่โคนกิ่ง กิ่งแก่ ในที่สุดจะลามเหลืองทั้งกิ่ง แห้งดำ และลุกลามจนต้นตาย
การควบคุมโรค และ แมลง..... ควรพ่นยาอย่างน้อย 10 วันครั้ง
- หนอน และ แมลงปีกแข็ง ใช้ เมโธมิล หรือ ไซเปอร์เมทริน ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องควรจับทิ้งด้วยมือ
- เพลี้ยไฟ ใช้ อิมิดาคลอร์ปิด ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องตัดดอก ทำลายทิ้ง
- ไรแดง ใช้ อะบาแมกติน หรือ ทอร์ค ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องฉีดลางด้วยน้ำใต้ใบ
- โรคใบจุดดำ (ฤดูฝน) ใช้แมนโคแซบ หรือ ดาโคนิล หรือ ไตรโฟไรน์ ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องคลุมด้วยหลังคาพลาสติก
- ราน้ำค้าง (ฤดูหนาว) ใช้เมทาแล็กซิล + แมนโดคเซ็บ ถ้าไม่ใช้สารเคมี ไม่มีข้อแนะนำ
- ราแป้ง (กลางวันร้อน กลางคืนเย็น) ใช้ไตรโฟไรน์ หรือ แอนวิลล์ ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องพ่นด้วยน้ำ
- ราสีเทา ใช้ไตรไฟไรน์ หรือ รอฟรัล ถ้าไม่ใช้สารเคมี ไม่มีข้อแนะนำ
- แคงเกอร์ ไม่มียารักษา ใช้วิธีตัดทิ้งห่างๆจากกิ่งที่เป็นมากๆ
การฟื้นฟูกุหลาบที่ทรุดโทรม..... โดยเฉพาะต้นที่เป็นโรคใบจุดดำ ใบจะร่วงหมด ทำให้ต้นขาดอาหาร แต่ถ้ายังปล่อยให้ออกดอก จะทำให้ต้นอ่อนแอหนัก วิธีง่ายๆ ให้ตัดดอกทิ้งให้หมด เด็ดยอดอ่อนที่มีใบ 3 ใบชุดทิ้ง รวมถึงมีดอกติดมาทิ้ง หมั่นสังเกตว่า ถ้ายอดใหม่ที่ออกมาหลังการเด็ดยังไม่แข็งแรง ก็ต้องเด็ดซ้ำจนว่าจะได้ยอดที่แข็งแรง และควรงดปุ๋ยจนกว่ากุหลาบจะเริ่มแตกใบ                  

ข้อพึงระวัง ->

การเก็บดอกเพื่อจำหน่ายควรใช้มีดสำหรับตัดกิ่งเพื่อป้องกันกิ่งกุหลาบชีดขาด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา