ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ปลูกกล้วยน้ำหว้าและหอมทอง

โดย : นายประยูร บุญอนันต์ วันที่ : 2017-03-20-17:34:33

ที่อยู่ : เลขที่ 79 หมู่ 7 ต.บึงเนียม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านปากเปือย หมู่7 ต.บึงเนียม มีพื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร และมีดินที่อุดมไปด้วยอินทรีย์สาร จึงทำให้มีแรงบันดาลใจในการคิดเพื่อจะปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อบริโภคในครัวเรือน และจำหน่ายในชุมชน ซึ่งปัจจุบันการปลูกกล้วยเป็นการช่วยบำรุงดิน ส่วนผล ต้น ใบ สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ดี ทำให้มีรายได้เพิ่มในครัวเรือน

- จากการฝึกอบรมและสื่อต่าง ๆ จึงเป็นแรงบันดาลใจ ทำให้เกิดความคิดความต้องการที่จะทำอาชีพนี้ประกอบการทำอาชีพนี้มีมายาวของบรรพบุรุษ  เป็นการเสริมรายได้ให้กับครอบครัว ตลอดทั้งเป็นพืชที่มีความต้องการของตลาดสูง ผลผลิตของกล้วยสามารถนำไปขายได้ทุกส่วน เช่น ใบ /หยวกกล้วย /ปลีกล้วยและผลกล้วยทั้งผลดิบและผลสุก

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้กับชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง เป็นแรงบันดาลใจให้เกษตรกรสามารถมาเรียนรู้นำไปปฏิบัติเองได้

2. สร้างรายได้ให้กับครอบครัว/ชุมชน

3. มีอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยวการทำนา/การทำสวน

4. ประชาชนไม่ทิ้งถิ่นฐานไปอยู่ต่างจังหวัด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ปุ๋ยรองพื้น

2. ปุ๋ยชีวภาพ/ปุ่ยคอก

3. หน่อพันธ์ุกล้วยน้ำหว้า/กล้วยหอมทอง

อุปกรณ์ ->

1. จอบ

2. เสียม

3. มี

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูก

 -ขุดหลุมให้มีขนาดความ กว้าง 50x50x50 เซนติเมตร นำดินที่ขุดได้กองตากไว้ 5 - 7 วัน หลังจากนั้นเอาดินชั้นบนที่ตากไว้ลงไปก้นหลุม ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว ให้สูงขึ้นมาประมาณ 20 เซนติเมตร  คลุกเคล้าปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักกับดินชั้นบนที่ใส่ลงไป แล้วจึงเอาหน่อกล้วยที่เตรียมไว้ วางที่ตรงกลางหลุม เอาดินล่างกลบ รดน้ำ และกดดินให้แน่น ยอดของหน่อควรสูงกว่าระดับดินประมาณ 10 เซนติเมตร

การให้ปุ๋ย
           กล้วยเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารมาก การติดผลจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอาหารและน้ำที่ได้รับ ดังนั้นควรบำรุงโดยใส่ปุ๋ย ทั้งปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี ตั้งแต่เริ่มปลูก ในระยะแรกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในช่วง 2 เดือนแรก โดยให้ปุ๋ยยูเรียเดือนละครั้ง และเดือนที่ 3 และ 4 ให้ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 ต้นละ 1/2 กิโลกรัม ส่วนในเดือนที่ 5 และ 6 ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 21 ต้นละ1/2 กิโลกรัม
          ต้นกล้วย (กล้วยน้ำว้า)นั้นนับว่าแข็งแรงทนทานต่อโรคต่อสภาพอากาศที่สุด ส่วนกล้วยหอมและกล้วยไข่นั้นค่อนข้างจะต้องการการดูแลเอาใจใส่ ทั้งเรื่องของโรคและศัตรูพืช หรือแม้กระทั่งเรื่องน้ำเรื่องปุ๋ย ผู้ปลูกควรพิจารณาตามความเหมาะสม

ข้อพึงระวัง ->

-หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพราะการใช้สารเคมีมากทำให้ต้นทุนเพิ่มและอันตราย   

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดขอนแก่น
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา