ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะปลูกเห็ดฟาง

โดย : นายเอนก เกษมสุข วันที่ : 2017-03-19-15:37:35

ที่อยู่ : 67/2 ม.13 ต.คณฑี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

     การเพาะเห็ดในประเทศไทย นับว่ามีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ทั้งเป็นอาชีพเสริมและเป็นอาชีพหลัก  เนื่องจากประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงต้องการอาหารโปรตีนที่ราคาไม่แพงแต่มีคุณค่าอาหารสูง   ปลอดจากสารเคมี ตลาดจึงมีความต้องการสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งเห็ดสด เห็ดแห้ง และเห็ดกระป๋อง

วัตถุประสงค์ ->

     เพื่อเป็นอาชีพหลัก/เสริม ในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. อาหารเพาะ

2. หัวเชื้อเห็ด

3. ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 11 นิ้ว หรือ 9 x 13

4. คอพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว

5. ฝ้าย หรือสำลี ยางรัด

6. หม้อนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน

7. โรงเรือนหรือสถานที่ บ่มเส้นใย และเปิดดอก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการเพาะ

1. บรรจุอาหารเพาะลงในถุงพลาสติกทนร้อน กดให้แน่นตึง สูงประมาณ 2/3 ของถุง

2. รวบปากถุงบีบอากาศออกสวมคอพลาสติกหรือไม้ไผ่ แล้วพับปากถุงพาดลงมา รัดยางให้แน่น อุดด้วยสำลี หุ้ม ทับด้วยกระดาษหรือ ฝาครอบพลาสติก

3. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือใช้หม้อนึ่งความดันอุณหภูมิ 90 – 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้ถุงเย็น

4. นำถุงวัสดุออกมาใส่เชื้อจากหัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง ถุงละ ประมาณ 10 – 15 เมล็ด ก็เพียงพอ (โดยเขย่าเมล็ดข้าวฟ่างให้กระจายออก) เปิดและปิดจุกสำลีโดยเร็ว โดยปฏิบัติในที่สะอาดมิดชิดไม่มีลมโกรก

5. นำไปวางในที่สำหรับบ่มเส้นใย มีอุณหภูมิตามที่เห็ดแต่ละชนิดต้องการ ไม่จำเป็นต้องมีแสง ไม่ต้องให้น้ำที่ก้อนเชื้อจนเส้นใยเห็ดเริ่มรวมตัวกันเพื่อเจริญเป็นดอกเห็ด นำไปเปิดถุงให้ออกดอกต่อไป

สถานที่ หรือโรงเรือนสำหรับปิดดอก

ควรเป็นสถานที่สะอาด สามารถรักษาความชื้นและการถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่ร้อน ภายในอาจทำชั้นวางก้อนเชื้อเห็ดหรือใช้แป้นสำหรับแขวนก้อนเชื้อ โรงเรือนสำหรับเปิดดอกควรให้มีขนาดที่สัมพันธ์กับจำนวนของก้อนเชื้อ เพื่อรักษาความชื้น และการถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือน เช่น ขนาดกว้าง x ยาว x สูง = 3 x 4 x 2.5 เมตร

การปฏิบัติดูแล รักษา

เห็ดนางฟ้า นางรม ฮังการี ภูฏาน และนางนวล ใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใยประมาณ 1- 1.5 เดือน เมื่อเส้นใยเริ่มรวมตัวกันถอดสำลีและคอขวด นำก้อนเชื้อไปวางในโรงเรือนเพื่อให้เกิดดอก รักษาอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ การถ่ายเทอากาศ ตามที่เห็ดต้องการ การให้ความชื้นภายในโรงเรือนไม่ควรให้น้ำขังอยู่ภายในก้อนเชื้อ และไม่ควรให้ถูกดอกเห็ดโดยตรง ถ้าจำเป็นควรให้เป็นละอองเห็ดหูหนู ใช้เวลาในระยะเส้นใยประมาณ 1.5 – 2 เดือน จากนั้นถอดสำลีและคอขวด มัดปากถุงปิดไว้ กรีดข้างถุงเป็นระยะเพื่อให้เกิดดอก การให้ความชื้นสามารถให้น้ำที่ก้อนเชื้อและดอกเห็ดได้ ควรให้น้ำเบา ๆ มิฉะนั้นดอกเห็ดอาจจะช้ำและเน่าเสียได้ง่าย โรงเรือนควรมีการถ่ายเทอากาศที่ดี เห็ดเป๋าฮื้อใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใยประมาณ 1.5 – 2 เดือน เมื่อเส้นใยถูกกระทบกระเทือนหรือถูกแสงมาก ๆ ทำให้เกิดเม็ดหรือตุ่มสีดำ ซึ่งถ้าเกิดมากจะทำให้ได้ผลผลิตน้อยลง วิธีการเปิดถุงให้ออกดอก และการดูแลรักษาปฏิบัติเช่นเดียวกับเห็ดนางฟ้า

การเก็บผลผลิต

เห็ดนางรม นางฟ้า ฮังการี ภูฎาน นางนวล เป๋าฮื้อ เก็บเมื่อดอกบานเต็มที่ แต่ขอบหมวกยังไม่บานย้วย

เห็ดหูหนู เก็บเมื่อดอกบานย้วยเต็มที่

เห็ดตีนแรด เก็บในขณะที่ขอบหมวกเห็ดยังงุ้มอยู่

เห็ดยานางิ เก็บเมื่อกลุ่มดอกเห็ดโตเต็มที่ แต่ขอบหมวกเห็ดยังงุ้มอยู่และเยื่อที่ยึดขอบหมวกกับก้านเห็ดยังไม่ขาดออกโดย มีส้นผ่าศูนย์กลางหมวกประมาณ 3-10 เซนติเมตร และก้านยาวประมาณ 5-11 เซนติเมตร

ควรเก็บดอกเห็ดในช่อเดียวกันให้หมด อย่าให้มีเศษเหลือติดค้างอยู่กับก้อนเชื้อ เนื่องจากจะทำให้เน่า เชื้อโรค แมลงจะเข้าทำลายได้

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา