ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกข้าวหอมมะลิ

โดย : นายวิชัย มีรอด วันที่ : 2017-03-18-16:23:19

ที่อยู่ : 9/4 ม.4 ต.วังตะแบก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

            เริ่มต้นจากอดีต ได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการทำนามาจากบรรพบุรุษ รุ่นปู่ย่าตายาย ซึ่งได้มีการปลูกข้าวหอมมะลิ มาเป็นเวลานาน มาจนถึงรุ่นลูกหลานในปัจจุบัน  และประสบความสำเร็จในการปลูกข้าวหอมมะลิ เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาด และสามารถผลิตได้ตามความต้องการของตลาด

            การปลูกข้าวหอมมะลิที่มีความโดดเด่น เพราะเป็นที่นามาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย แทบไม่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลง บางปีเจอปัญหาโรคใบแดง ใบไหม้ในข้าว ก็จะใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านแก้ไขปัญหา โดยใช้มูลวัว มูลควาย ไปหว่านในแปลงนาข้าวที่เป็นโรค ปรากฏว่า ต้นข้าวจะกลับมีใบเขียวเหมือนเดิม และได้ผลผลิตที่ดี

            เป้าหมายในการปลูกข้าวหอมมะลิ คือการได้ผลผลิตที่ดี และลดต้นทุนการผลิต โดยการลดการใช้สารเคมี มีการใช้สารชีวพันธุ์แทนสารเคมี ซึ่งได้รับคำแนะนำจากเกษตรตำบล และมีการผลิตสารสกัดจากพืชสมุนไพรที่หาได้ในชุมชน มีการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ที่ผลิตไว้ใช้เอง

วัตถุประสงค์ ->

-

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

               2.1 การวางแผนการทำนา ก่อนการทำนาในแต่และฤดู จะมีการวางแผนการปลูก เริ่มตั้งแต่การนำดินไปตรวจวิเคราะห์ การเตรียมดิน พันธุ์ข้าวที่จะใช้ วันปลูก การใส่ปุ๋ย การฉีดยา และการเก็บเกี่ยว

   2.2 การเตรียมดิน ก่อนการเตรียมดิน จะนำดินไปตรวจวิเคราะห์ว่าในดินของเรามีธาตุอาหารอยู่มากน้อยเพียงใด เพื่อสามารถคำนวณการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับที่พืชต้องการ

            1) ในการเตรียมดินก่อนการปลูก โดยไถกลบตอซังข้าวเดิมทิ้งไว้ 15 วัน

2) เมื่อครบ 15 วัน แล้วนำรถไปไถซ้ำอีก 1 รอบ เพื่อให้ดินละเอียด จากนั้นนำรถไถเล็กไปปาดเลน

แหวกร่อง พร้อมที่จะนำข้าวปลูกหว่าน

   2.3 การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์

                        1) ก่อนการปลูกทำการหาข้อมูลก่อนว่าตลาดช่วงนั้นต้องการข้าวพันธุ์อะไร

                        2) ตรวจว่ามีสิ่งเจือปน เมล็ดวัชพืชในเมล็ดพันธุ์ข้าวหรือไม่ หากมีคัดสิ่งเจือปนออกโดยการใช้สีฝัด หรือตะแกรงคัดแยกเมล็ดข้าว

                        3) ทดสอบความงอกของเมล็ดข้าวก่อนการปลูกจริง

                        4) เตรียมเมล็ดพันธุ์ในการหว่าน โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 5 กก./ไร่

 

 

 

   2.4 การดูแลปฏิบัติในแปลง

                        1) หลังการทำเทือกให้หว่านข้าวทันที เพื่อให้โคลนเคลือบเมล็ดข้าว ซ่อนนก/หนู ปล่อยทิ้งไว้จนน้ำในแปลงนาใส จึงปล่อยน้ำทิ้ง

                         2) ถ้าหากแปลงนาที่เคยมีวัชพืชขึ้นเยอะ ให้ใช้สารคุมวัชพืชไม่ให้วัชพืชงอก โดยหลังจากปล่อยน้ำแห้งให้ฉีดยาคุมวัชพืชทันที อย่าทิ้งไว้เกิน 2 วัน ไม่เช่นนั้นวัชพืชจะงอก ยาจะไม่ได้ผล

                        3) หลังจากหว่านข้าว 4-5 วัน ถ้าไม่มีวัชพืชขึ้น ปล่อยน้ำเข้าแปลงนา ระดับน้ำประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อคุมวัชพืชอีกครั้ง จะเป็นการลดต้นทุนในการใช้สารคุมฆ่าวัชพืช

                        4) ควบคุมระดับน้ำในแปลงนาอย่าให้แห้ง จนกว่าข้าวจะอายุ 20 วัน สังเกตสีใบข้าว ถ้ามีสีเขียวอ่อน ให้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 46-0-0 อัตรา 15 ก.ก./ไร่ หรือถ้าดินแปลงนาขาดฟอสฟอรัส  ใส่ปุ๋ย 16-20-0 และ 46-0-0 โดยใช้ทั้งสองสูตรรวมกันในอัตรา 15 กก./ไร่ เพื่อให้ข้าวเจริญเติบโตดีขึ้น

                        5) หลังการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ให้ทำการสำรวจแปลงนาอย่าสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบดูโรค แมลงศัตรูพืช แมลงศัตรูธรรมชาติ หากไม่ระบาดมากตัวดีตัวร้ายยังสามารถควบคุมกันได้ก็ไม่ต้องฉีดยา

                        6) ให้ควบคุมระดับน้ำอย่าให้น้ำขาดกระทั่งข้าวอายุ 30-40 วัน จึงหยุดเติมน้ำ คือให้ลดระดับน้ำลงมาแค่ดินเปียกเพื่อให้ข้าวแตกกอ

                        7) เมื่อข้าวอายุประมาณ 40-60 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 โดยให้สังเกตข้าวว่ามีสีอ่อนหรือเขียวเข้ม    ถ้าเขียวเข้มยังไม่ควรใส่ปุ๋ยเพราะจะทำให้โรคและเมลงระบาด ถ้าข้าวใบสีเขียวอ่อน ใส่ปุ๋ย สูตร 18-5-20 หรือ 18-4-8  ซึ่งเป็นช่วงที่ควรเน้นให้ธาตุอาหารโปแตสเซียม เพื่อให้ต้นข้าวสะสมอาหาร สร้างรวง ถ้าดินของเรามีความอุดมสมบูรณ์มีอินทรีย์วัตถุเยอะ ใส่ปุ๋ยในอัตรา 20 กก./ไร่

ข้อพึงระวัง ->

    3.1 ต้องเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี มีความบริสุทธิ์ตรงตามสายพันธุ์ ที่มีอัตราความงอกไม่ต่ำกว่า 80 %

     3.2 ต้องใส่ใจดูแลการตัดข้าวปน โดยสำรวจต้นข้าวใน 2 ระยะ คือ ระยะแตกกอ โดยตรวจดูลักษณะการแตกกอ การชูใบ ขนาดความสูงของใบ หากพบต้นผิดปกติให้ถอนทิ้งทันที ส่วนระยะออกดอก ก็ต้องคอยตรวจดูความสูงของต้นข้าวในระยะออกดอก การออกดอกก่อนหรือหลัง ลักษณะของดอก สี ขนาดของเกสรตัวผู้ ถ้าพบต้นผิดปกติ ให้ตัดทิ้งทันที

     3.3 ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวข้าว ต้องทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม การกำหนดวันเก็บเกี่ยว จะนับจากวันออกดอกไปไม่น้อยกว่า 25 วัน และไม่เกิน 35 วัน เพราะการเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะทำให้ได้น้ำหนักเมล็ดสูง เปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดดี และมีคุณภาพการสีดี

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา