ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาหมอ

โดย : นางอรวรรณ วงศาทอง วันที่ : 2017-05-05-16:19:39

ที่อยู่ : 45 หมู่ที่ 5 บ้านจิตตมาส ตำบลวังหามแห

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาหมอ  เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยถูกปากของผู้บริโภค  แต่เมื่อได้ทดลองเลี้ยงแล้วปรากฏว่ามีผู้สนใจซื้อเป็นจำนวนมาก จึงได้ทำเป็นอาชีพเพื่อเลี้ยงปลาหมอขาย ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จ ปลาหมอขายได้ราคาดี สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์ปลาหมอ

อุปกรณ์ ->

1.บ่อซีเมนซ์/บ่อดิน

2.กระชังไนลอนตาถี่

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.เตรียมบ่อตามขนาดที่ผู้เลี้ยงต้องการ

2.เมื่อลูกปลาได้ขนาด จะทำการปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ อัตราเลี้ยงที่เหมาะสม 30-50 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000-80,000 ตัว/ไร่ ส่วนวิธีปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาให้ผสมพันธุ์ และวางไข่ในบ่อเลี้ยงเลย อัตราพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 25-50 คู่/ไร่ จะได้ลูกประมาณ 50,000-100,000 ตัว/ไร่ สำหรับเกษตรกรไม่มีความรู้เรื่องการเพราะพันธุ์ปลา อาจหาซื้อลูกปลาตามฟาร์มหรือโรงเพาะพันธุ์ ขนาด 2-3 นิ้ว (อายุ 60-75 วัน หรือ 2-3 เดือน) อัตราการปล่อยประมาณ 25 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000 ตัว/ไร่ บ่อที่ใช้เลี้ยงควรขึงด้วยผ้าเขียวรอบบ่อ เพื่อป้องกันศัตรูของปลาหรือปลาปีนป่ายออกนอกบ่อ โดยเฉพาะเวลาฝนตก และอาจติดตั้งระบบการเพิ่มออกซิเจนหากคุณภาพน้ำมีปัญหา

3.อาหาร และการให้อาหาร
อาหารปลาหมอในระยะเลี้ยงดูในบ่อดิน ในระยะ 1-2 เดือน จะใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ระยะ 2-3 เดือน ขึ้นไป อาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 หรืออาหารเม็ดปลาดุกเล็ก ร่วมกับอาหารเสริมอื่นๆ เช่น ไรแดง ปลวก รำข้าว เป็นต้น ระยะเวลาในการเลี้ยงที่เริ่มจับขายได้ 90-120 วัน หรือประมาณ 4-5 เดือน

ข้อพึงระวัง ->

ควรกำจัดวัชพืชและพรรณไม้ต่างๆ เช่น กก หญ้า ผักตบชวา ให้หมดโดยนำมากอองสุมไว้ เมื่อแห้งแล้วนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักในขณะที่ปล่อยปลาลงเลี้ยงถ้าในบ่อเก่ามีเลนมากจำเป็นต้องสาดเลนขึ้นโดยนำไปเสริมคันดินที่ชำรุด หรือ ใช้เป็นปุ๋ยแก่พืชผัก ผลไม้  บริเวณใกล้เคียง พร้อมทั้งตกแต่งเชิงลาดและคันดินให้แน่นด้วย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา