ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ด้านวัฒนธรรมประเพณีไทยทรงดำ

โดย : นายจำลอง โตจอ วันที่ : 2017-03-29-00:22:40

ที่อยู่ : 26 หมู่ที่ 4 ซอย - ถนน - ตำบลวังยาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                                ชาวไทยทรงดำหรือคนทั่วไปเรียกว่า “ลาวโซ่ง” มีถิ่นกำเนิด ณ ดินแดนสิบสองจุไท ดินแดนแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ประเทศเวียดนามและประเทศลาว ชาวไทยทรงดำเรียกตัวเองว่า “ผู้ไต” หรือผู้ไตดำ” ชนชาตินี้มีประวัติความเป็นมานานนับพันปี และเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปะ วัฒนธรรมและจารีตประเพณี มีการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรและปฏิทินขึ้นใช้เองในชนเผ่า วัฒนธรรมการแต่งกายมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หญิงและชายจะสวมใส่เสื้อผ้าด้วยสีดำเป็นสีพื้นและมีการปักลวดลายด้วยเส้นไหม สีฉูดฉาดลงบนผืนผ้าพอดูงามตาคติความเชื่อของชาวไทยทรงดำ จะนับถือและให้ความสำคัญกับผีและเทวดา เพราะเชื่อว่าธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเช่นแม่น้ำ ลำคลอง ป่าไม้ ภูเขา จะมีดวงวิญญาณต่างๆสิงสถิตอยู่ และจะให้ความสำคัญสูงสุดกับ “พระยาแถน” ผู้เป็นใหญ่ในจักรวาลและดวงวิญญาณของพ่อแม่ และบรรพชนของตระกูล ในวิถีชีวิตของไทยทรงดำ จึงมีพิธีกราบไหว้บวงสรวงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ในการประกอบอาชีพทางการเกษตรตลอดจนพิธีกรรมที่เกี่ยว ข้องกับดวงวิญญาณต่างๆ ของบรรพชน ซึ่งส่งผลให้สภาพสังคมโดยทั่วไปของชาวไทยทรงดำ มีกรอบของจารีตประเพณีและวัฒนธรรมช่วยจัดระเบียบสังคม จึงทำให้ชาวไทยทรงดำในดินแดนสิบสองจุไทอยู่ร่วมกันและดำรงความเป็นกลุ่ม ชาติพันธุ์มาเนิ่นนานนับพันปี

    ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ไทยได้อพยพชาวไทยทรงดำจากดินแดนสิบสอง จุไทยมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ณ จังหวัดเพชรบุรี ด้วยเหตุผลทางการปกครอง ครั้นต่อมาในปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๐๐-๒๔๒๐)ได้มีไทยทรงดำหลายกลุ่มทยอยอพยพจากจังหวัดเพชรบุรี มาตั้งถิ่นฐานในหลายพื้นที่ของจังหวัดสุพรรณบุรี และส่วนหนึ่งได้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านดอนมะนาว บ้านบางเลน บ้านหัวโพธิ์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มากว่า ๑๐๐ ปีมาแล้ว

 

    วิถีชีวิตชาวไทยทรงดำมีความเชื่อเรื่อง “ผี” และเรื่อง “ขวัญ” โดยเชื่อว่าสิ่งต่างๆในโลกอยู่ภายใต้อำนาจของผีและสิ่งเหนือธรรมชาติ ดังนั้น ชีวิตความเป็นอยู่และพิธีกรรมต่างๆจึงมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องอย่างใกล้ ชิดกับผีประเภทต่างๆการนับถือผีของไทยโซ่งมีทั้งผีดีและผีร้าย ที่สามารถบันดาลให้ชีวิต และครอบครัวเป็นไปตามความพอใจของผี จากการนับถือผีและความเชื่อเรื่องขวัญ จึงได้ก่อให้เกิดพิธีกรรมและจารีตประเพณีต่างๆในวิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าที่เด่นๆ เช่น “พิธีเสนเรือน” “พิธีหน่องก๊อ” “พิธีป้าดตงข้าวใหม่” ไทยโซ่งจะมีการลำดับชั้นทางสังคมโดยใช้วงศ์ตระกูลหรือครอบครัวเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น ๒ ชนชั้น ได้แก่”ชนชั้นผู้ท้าว”หมายถึงผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้า “ชนชั้นผู้น้อย”คือคนที่เกิดในตระกูลสามัญชน วิถีชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นสังคมเกษตรกรรมทำนา ทำไร่

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                                พิธีงานแต่งงาน  ในวันแต่งงานหรือที่เรียกว่า ส่งเจ้าบ่าวและญาติพี่น้อง จะยกขันหมาก กะเหล็บเอาไว้ใส่หมากพลู ยาสูบ หมาก ๒๐ ใบ พลู ๑ ห่อ ยาสูบ ๑ ห่อ ปูนแดง ๑ ห่อ ๔ กะเหล็บ เครื่องเรือน ที่นอน ของใช้อื่นๆ ที่จำเป็น ขนม ๔ ถาด เหล้าขาว ๑ เท ของไหว้ผีเรือน หมู ไก่ ขนมใส่กระจาด เมื่อไปถึงบ้านเจ้าสาวก็จะทำพิธีให้เจ้าบ่าวไหว้ผีเรือน กินดองหรือกิน ดองประเพณีการแต่งงานหลังจากที่หนุ่มสาวได้ตกลงปลงใจต่อกันแล้ว จะส่งผู้ใหญ่ไปสู่ขอซึ่งเรียกว่าไป ส่อง หรือส่องขันหมากน้อย ซึ่งมีความหมายเท่ากับการหมั้นโดยจัดหมากพลูใส่กะเหล็บ ผู้ต้าวใช้ ๔ กะเหล็บ ผู้น้อย ๒ กะเหล็บ ซึ่งฝ่ายหญิงจะนำไปแจกญาติของตน เดือนที่ไม่นิยมแต่งงาน คือเดือน ๕ สำหรับวันต้องไม่ใช้วันเวนตง ของฝ่ายหญิง (วันเวนตงคือวันเลี้ยงผีประจำบ้าน) วันแต่งงานเจ้าบ่าว เจ้าสาวต้องใส่เสื้ฮี ผู้ต้าวมีเพื่อนเจ้าบ่าว เจ้าสาวจำนวน ๖ - ๘ คน ผู้น้อยใช้ ๒ - ๔ คน ชุดเจ้าบ่าวต่างจากชุดเพื่อนเจ้าบ่าวต้องใส่เสื้อฮีทุกคน เฉพาะเจ้าบ่าวต้องสวมหมวกงอบ สะพายย่ามแดงบ่าขวา สะพายฝักมีดบ่าซ้าย

พิธีงานศพไทยทรงดำ เมื่อผู้ตายเกิดขึ้นในบ้านเจ้าของบ้านยิงปืนขึ้นฟ้า เพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปที่ชอบ

ความเป็นจริงคือแจ้งเพื่อนบ้านให้รู้ว่ามีการตายเกิดขึ้นเมื่อผู้ชราเสียชีวิตในบ้านบรรดาญาติพี่น้องในหมู่บ้านนั้นจะหยุดทำงานและมาชุมนุมแสดงความเสียใจ ศพจะตั้งไว้ในบ้าน หลังจากได้ทำความสะอาดและสวมเสื้อฮีประจำตัวให้และบรรจุโลงเรียบร้อยแล้วจากนั้นจะนำศพไปยังป่าช้า (แฮ่ว) หรือวัดเพื่อทำการเผา รุ่งขึ้นเช้าจึงทำการเก็บกระดูกหมอพิธีจะนำกระดูกบรรจุลงในภาชนะดินเผามีฝา ปิดฝังลงใต้ถุนบ้านซึ่งสร้างขึ้นอย่างหยาบๆ เพื่ออุทิศให้ศพ เช่น เสื้อผ้าที่ตัดเย็บเป็นตัวแล้ว เสื้อฮีและผ้าทอเป็นผืนๆ แขวนไว้บนเสาหลวงสร้างเรือนแก้วและเสายอดเป็นปลีดอกไม้ให้ จากนั้นที่บ้านของผู้ตายจะทำพิธีล้างเรือนให้เรือนสะอาด เขาเชื่อกันว่าเรือนที่มีคนตายจะเป็นเรือนที่ไม่สะอาด จึงต้องให้แม่มดมาทำพิธีรับเคราะห์และปล่อยไป รุ่งขึ้นจึงทำพิธีเชิญวิญญาณผู้ตายเข้าบ้านเพื่อเป็นผีเรือนประจำบ้านต่อไป บางรายก็ส่งวันเดียวแล้วห่อข้าวเผื่อวันรุ่งขึ้นกรณีที่ผู้ตายอายุ ๖๐ ปีเศษๆ หากอายุสูงปฏิบัติเช่นนี้ไม่ได้ การตายผู้ใดสิ้นลมที่บ้านมีลูกหลาน ห้อมล้อมถือว่ามีบุญ การอวยพรให้ทายาทผู้ตายนิยมกล่าวว่า ?เออเอ็มได้วางมั่นวางยืนไว้เห่าเน้อเห่าอายุมั่นขวัญยืนกวามเจ็บอย่าได้ไห กวามไล้อย่าได้มี? คำขีดเส้นใต้คือสถานภาพของผู้ตาย หากมีศักดิ์เป็น พ่อ ลุง อา ก็ว่าตามศักดิ์ หลังจากพิธีดังกล่าวมาแล้วนัดวันเอาผีขึ้นเรือนคือเชิญวิญญาณมาปกป้องคุ้ม ครองลูกหลานแต่ผู้นั้นต้องไม่ตายโหง

พิธีขึ้นบ้านใหม่ เมื่อปลูกเรือนใหม่ก็จะทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ มักทำเวลาบ่ายหลังจาก 15.00 น. ล่วงไป

แล้ว หมอพิธีจะมาข่มขวง คือข่มสิ่งเลวร้าย ไล่สิ่งที่ไม่ดีออกไปให้หมด ผีร้ายออกจากไม้ไปอยู่ที่อื่น แล้วจึงเอาผีขึ้นบ้าน หมอจะเรียกขึ้น จะมีหาบ ที่นอน หมอน มุ้ง สิ่งที่เป็นมงคลขึ้นมาไว้ในห้อง ของใช้จำเป็นห้ามขาด เช่น เงิน ทอง น้ำ เกลือ ไปไว้ในห้องผีเรือน

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา