ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำน้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายศักดิ์ ตาต่อมวงศ์ วันที่ : 2017-03-28-16:48:20

ที่อยู่ : 171 หมู่ที่ 17 ตำบลนาบ่อคำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                   ปัจจุบันมีการนำสารเคมีมาใช้ในการเกษตรเป็นอย่างมาก  ซึ่งทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำลายดินให้เสื่อมโทรม ทำให้ได้พืชผลทางการเกษตรที่น้อยลงและด้อยคุณภาพ จึงมีการรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้น้ำหมักชีวภาพมากขึ้น   ที่เรียกว่า  น้ำหมักชีวภาพ  เป็นอีกทางเลือกที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชแทนปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้  ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรมีการหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพมากขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

                   1.    เศษผัก                                     จำนวน      60     กิโลกรัม

                   2.    กากน้ำตาล                                จำนวน      20     กิโลกรัม

                   3.    สารเร่ง พด. 2                             จำนวน      1       ซอง

                   4.    น้ำสะอาด (ไม่มีคลอรีน)                   จำนวน      100   ลิตร

                   5.    ถังพลาสติกทึบแสง ขนาด 200 ลิตร     จำนวน      1       ใบ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                   1. นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ

                   2. บรรจุลงในภาชนะ

                   3. เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง

และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน

                   4. คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ

หมักไว้ 7 - 15 วัน

                   5. ครบตามกำหนดปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม

                   6. หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาล

หรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป

                   7. การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก

 

                   วิธีการนำไปใช้

                   1. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพมีค่า ความเข้มข้นของสารละลายสูง ( ค่า EC เกิน 4 Ds/m ) และเป็น กรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ก่อนนำไปใช้กับพืชต้องปรับสภาพให้เป็นกลาง โดยเติมปูนขาว กระดูกป่น อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 5 - 10 กิโลกรัม/ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ 100 ลิตร แล้วผสมปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ อัตรา 30-50 CC/น้ำ 20 ลิตร

                   2. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ จะเป็นประโยชน์สูงสุด ต้องใช้เวลาในการหมัก จนแน่ใจว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สมบูรณ์แล้ว จึงนำไปใช้กับพืชได้

                   3. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ธาตุอาหารเกือบทุกชนิด แต่มีในปริมาณต่ำ จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยเคมีเสริม

                   4. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ฮอร์โมนพืช ในระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำน้ำหมักน้ำชีวภาพ  เช่น การเร่งการเจริญเติบโตของยอด กระตุ้นการเกิดรากของกิ่งปักชำ ช่วยทำลายการฟักตัวของเมล็ด กระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น และช่วยให้พืชผักมีความสดนานขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

                   1. ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติกหรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพจากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทรอการใช้งานต่อไป

                   2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การหมักจะเกิดก๊าชต่างๆ ขึ้น

                   3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายการทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรที่ตายตัว เราสามารถทดลองทำปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่นหมักชีวภาพการใช้น้ำสกัดชีวภาพในพืชจำเป็นต้องให้ในอัตราเจือจาง สารอินทรีย์บางชนิดในน้ำสกัดชีวภาพเป็นสารเพิ่มความต้านทานให้แก่พืชที่ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลง 

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา