ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำน้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายธนู ปัญญามณี วันที่ : 2017-03-28-16:39:04

ที่อยู่ : 43 หมู่ที่ 17 ตำบลนาบ่อคำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                   แมลงต่างๆ นับเป็นศัตรูพืชตัวร้ายของเกษตรกร เพราะมักจะมากัดกินใบพืชที่ปลูกไว้และจนทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย จึงได้นำวัตถุดิบที่คุณอาจมองข้ามไปนั่นคือ รกหมู ซึ่งหาซื้อได้ตามเขียงหมูทั่วไป คนส่วนใหญ่ไม่นิยมรับประทานแต่จะนำไปให้ปลากิน เกษตรกรบางท่านไม่รู้ประโยชน์ของรกหมูอาจจะนำไปทิ้ง จริงๆ แล้วรกหมูสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย จึงได้นำมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพรกหมูเพื่อป้องกันกำจัดแมลงประเภทตั๊กแตนและแมลงปากกัด และเป็นฮอร์โมนบำรุงข้าวก่อนออกรวงหรือเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

                   1.    รกหมู                                     จำนวน        3       กิโลกรัม

                   2.    กากน้ำตาล                               จำนวน        1       กิโลกรัม

                   3.    สารเร่ง พด. 2                            จำนวน        1       ซอง

                   4.    แป้งข้าวหมาก                            จำนวน        1       ลูก

                   5.    นมเปรี้ยว (ขนาด 160 มล.)             จำนวน        1       ขวด

                   6.    น้ำสะอาด (ไม่มีคลอรีน)                  จำนวน        10     ลิตร

                   7.    ถังพลาสติกทึบแสง ขนาด 20 ลิตร     จำนวน        1       ใบ

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                   สับรกหมู (ไม่ต้องละเอียดมาก) ใส่ลงไปในถัง จากนั้นนำแป้งข้าวหมากมาบดแล้วเทลงไปตามด้วยกากน้ำตาล พด. 2 และน้ำ จากนั้นคนให้เข้ากันเมื่อเข้ากันดีแล้วจึงปิดฝาถังหมักแต่ไม่ต้องสนิทมาก ตั้งถังหมักไว้ในที่ร่มหมั่นคนทุกวัน ประมาณ 1 เดือน สามารถนำไปใช้ได้

 

                   วิธีการนำไปใช้

                   นำน้ำหมักจากรกหมู ในอัตราส่วน 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นพืชผลทางการเกษตรทุกๆ 7 วัน ประมาณ 2 สัปดาห์ จะสังเกตเห็นว่าตั๊กแตนจะไม่เข้ามากัดกินพืช เนื่องจากน้ำหมักจากรกหมูจะมีรสฝาด ซึ่งเมื่อเคลือบติดอยู่บนผิวใบของพืชจะกลายเป็นรสชาติที่ตั๊กแตนไม่ชื่นชอบ จึงไม่เข้ามากัดกินพืชให้ได้รับความเสียหาย

ข้อพึงระวัง ->

                   ปุ๋ยหมักชีวภาพประกอบด้วยสารอินทรีย์หลากหลายชนิด เช่น เอนไซม์ฮอร์โมน ธาตุอาหารต่างๆ ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นอาหารของจุลินทรีย์ และเป็นอาหารของต้นพืช ฮอร์โมนหลายชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นก็เป็นประโยชน์ต่อพืชถ้าให้ปริมาณเล็กน้อย แต่จะมีโทษ     ถ้าให้ในปริมาณที่เข้มข้นเกินไป ฉะนั้น ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพในพืชจำเป็นต้องให้ในอัตราเจือจาง สารอินทรีย์บางชนิดในน้ำสกัดชีวภาพเป็นสารเพิ่มความต้านทานให้แก่พืชที่ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลง  และทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา