ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกข้าวหอมมะลิ

โดย : นายประทิน กันอุไร วันที่ : 2017-03-25-15:58:40

ที่อยู่ : 235 หมู่ที่ 10 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 62000

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อาชีพทำนา ปลูกข้าว เป็นอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ตั้งแต่สมัย ปู่ ยา ตา ยาย และสืบทอดมาถึงปัจจุบัน   ประกอบกับครอบครัวและคนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านประมาณ 90% มีอาชีพทำนา และและเห็นว่าข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีราคาสูง คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยปลูกกันมากนัก และชาวต่างชาตินิยมรับประทานมากที่สุดในบรรดาข้าวสายพันธุ์ต่างๆ จึงส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านปลูกข้าวหอมมะลิ โดยให้สมัครเป็นสมาชิกศูนย์เมล็ดพันข้าว และปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ในชุมชน   

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เมล็ดพันธุ์

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์การปลูกข้าว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการปักดำ การเตรียมแปลงกล้า
               1. ไถดะประมาณกลางเดือนมิถุนายน ทิ้งไว้ 10-15 วัน และไถแปร 1-2 ครั้ง ขึ้นกับปริมาณวัชพืชและคาดทำเทือก เก็บวัชพืชและข้างรื้อออกให้หมด และปรับระดับพื้นที่ให้ราบเรียบสม่ำเสมอระวังมิให้เทือกเละหรือแข็งเกินไป

               2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนหว่าน โดยนำเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้ใส่กระสอบป่านหลวมๆ นำไปแช่น้ำ 1 คืน แล้วนำออกมาหุ้มหรือหมักไว้ 1-2 คืน ขณะหุ้มหมั่นรดน้ำและพลิกกระสอบเพื่อให้เมล็ดงอกสม่ำเสมอ
               3. หว่านกล้า
                    3.1  แบ่งแปลงเป็นแปลงย่อย กว้างประมาณ 2-4 เมตร ยาวไปตามทิศทางลมให้มีการระบายอากาศดี เพื่อป้องกันมิให้ต้นกล้าเป็นโรคง่าย
                    3.2  นำเมล็ดพันธุ์ที่หุ้มแล้ว หว่านในอัตรา 80 กิโลกรัม/แปลงกล้า 1 ไร่

การปักดำ
                 1. ปักดำเมื่อกล้าอายุเหมาะสมคือ 25-30 วัน แต่ไม่ควรเกิน 35 วัน เพราะกล้าที่แก่เกินไปจะแตกกอและเจริญเติบโตช้า และการถอนกล้ามิควรให้กล้าบอบช้ำ ไม่ทิ้งกล้าค้างคืน ควรปักดำให้เสร็จทันที
                 2. ระยะปักดำ ควรใช้ระยะระหว่างแถว 20-25 cm ระหว่างกอ 20-25 cm ควรปักดำให้ลึก 2-3 cm เพราะถ้าปักดำลึกเกินไป การแตกรากใหม่จะเกิดขึ้นบนข้อที่ลำต้น ส่วนที่อยู่ชิดดินจะทำให้เสียเวลา 5-7 วัน สำหรับการเริ่มเจริญเติบโต
                 3. การซ่อมข้าว ควรซ่อมให้เสร็จภายใน 10 วันหลังปักดำ และกล้าควรเป็นกล้ารุ่นเดียวกัน

การทำนาหว่าน
                 1.  ควรหว่านข้าวให้กระจายสม่ำเสมอ โดยทำแปลงต้นแบบใช้เมล็ดพันธุ์ 9 ขีด (900 g) หว่านให้กระจายในพื้นที่ 10×10 m หว่านให้กระจายสม่ำเสมอ ฝึกให้ชำนาญเพื่อให้ประมาณความหนาแน่นของเมล็ดพันธุ์ที่หว่านได้ ซึ่งจะได้อัตราเมล็ดพันธุ์ต่อไร่ประมาณ 15 kg ถ้ามีปัญหาเรื่องคุณภาพเมล็ดพันธุ์มีความงอกไม่ถึง 80% ก็สามารถเพิ่มอัตราเมล็ดพันธุ์ได้อีกถึง 20 kg/ไร่

                 2.  ช่วงเวลาการปลูกที่เหมาะสม
                          2.1  ระยะที่เหมาะสมคือ ระหว่าง 1-15 สิงหาคม เก็บเกี่ยว 28 พฤศจิกายน-5 ธันวาคม เหมาะสำหรับพื้นที่ดังนี้
                                  1) เขตควบคุมน้ำได้ ทั้งสภาพน้ำฝนและนาในเขตชลประทาน
                                  2) เขตนาน้ำฝนที่เคยมีปัญหา ฝนทิ้งช่วงเดือนกรกฎาคม
                           2.2  หว่านระหว่าง 15 มิถุนายน-31 กรกฎาคม เก็บเกี่ยวระหว่าง 10-28 พฤศจิกายน เหมาะสมสำหรับ
                                   1) เขตพื้นที่ลุ่มน้ำขัง
                                    2) เขตฝนมาเร็วหมดเร็ว ช่วงเวลาในการหว่านข้าวดังกล่าว จะให้ผลแน่นอน หากไม่มีการเกิดฝนแล้งในเดือนกันยายนและตุลาคม
                   3. การหว่านข้าวมี 3 แบบคือ

                           3.1  หว่านข้าวแห้งดินแห้ง เป็นการหว่านโดยไม่ต้องแช่ข้าว หว่านเมล็ดเสร็จแล้วไถ่กลบหรือคราดกลบรอให้ฝนตก
                           3.2  หว่านข้าวแห้งดินชื้น ปฏิบัติเหมือนหว่านข้าวแห้งดินแห้ง เพียงแต่อาจจะแช่ข้าวก่อนก็ได้ โดยแช่ 1 วัน หุ้ม 1 วัน เป็นข้าวตุ่มตา หลังจากหว่านข้าวเสร็จแล้ว หากมีฝนตกต้องระบายน้ำออก
                           3.3  หว่านน้ำตม
                                       1)  กรณีดินเหนียว ทำเทือกแล้วระบายน้ำออกให้หมดแล้วจึงหว่านข้าวงอก คือ แช่ 1 วัน หุ้ม 2 วัน หลังจากหว่านข้าวเสร็จแล้ว หากมีน้ำขังต้องระบายออกให้หมดเพื่อมิให้เมล็ดข้าวเน่า
                                        2) กรณีดินทราย ไถแปร โดยมีน้ำพอขลุกขลิก หว่านข้าวตุ่มตา (แช่ 1 วัน หุ้ม 1 วัน) แล้วคราดกลบ จุดที่มีน้ำขังต้องระบายน้ำออก

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา