ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

น้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายเทโพ ครุธแก้ว วันที่ : 2017-03-24-05:23:29

ที่อยู่ : 100/2 หมู่ 5 ต.คลองพิไกร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                1. เริ่มต้นจากการทำอาชีพช่างไม้และได้รับประสบการณ์มาจากบิดา

                2. ได้เรียนรู้จากบุคคลต่างๆที่มีการประกอบอาชีพทำเฟอร์นิเจอร์ โดยมีคนรู้จักให้การแนะนำ

                3. ในการทำงานแต่ละขั้นตอน จะต้องอาศัยความใจเย็น วิธีคิดต่างๆคิดในงานแต่ละชิ้นงาน เนื่องจากงานแต่ละชิ้นงานจะต้องทำการวัด ตัด แต่ง เพื่อให้เข้าฉาก เข้ามุม เข้ารูป และตรงกัน การประกอบแต่ละชิ้นงานต้องอาศัยความประณีต ละเอียด และใช้ฝีมือในการประกอบ

                4. ความสำเร็จที่ได้รับจะออกมาเป็นอาชีพและรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. ถังน้ำหมักที่มีฝาปิดสนิท ควรเป็นถังพลาสติก หรือกระเบื้องเคลือบ ไม่ควรใช้ถังประเภทโลหะหรือปูนซิเมนต์เพราะน้ำหมักจะเข้าไปกัดกร่อนภาชนะ

2. น้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด อาทิ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง กากน้ำตาล ฯลฯ โดยเฉพาะกากน้ำตาล  ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำตาลชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากอุตสาหกรรมน้ำตาล นอกจากนี้อาจใช้พืชจำพวกอ้อยได้เช่นกัน

3. ส่วนผสมกับน้ำตาล

- เศษซากพืชสด อาทิ พืชอวบน้ำอวบน้ำ ผัก ผลไม้ทั้งแก่และอ่อน รวมทั้งเปลือกผลไม้ ฯลฯ

- เศษซากสัตว์สด อาทิ หอยเชอรี่ ปลา ปู ฯลฯ

- พืชสุมนไพรเพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ สะเดา ไหลแดง หนอนตายอยาก ตะไคร้หอม ฯลฯ

โดยทั่วไปส่วนผสมของการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ถ้าใช้สูตรที่เป็นเป็นเศษซากพืช จะใช้ส่วนผสมระหว่างเศษซากพืชสดกับกากน้ำตาล อัตราส่วน 3 : 1

แต่หากเป็นเศษซากสัตว์ จะใช้อัตราส่วนระหว่างเศษซากสัตว์กับกากน้ำตาล อัตราส่วน 1 : 1

กระบวนการ/ขั้นตอน->

สูตรที่ 1 สำหรับพืชกินใบ

วัสดุประกอบด้วย

1) พืชสด และ 2) กากน้ำตาล อัตราส่วน 3 : 1

 

 

 

วิธีทำ

 ใช้พืชที่มีลักษณะสด ใหม่ สมบูรณ์ อวบน้ำ โตเร็ว ไม่มีโรค (เน่า) ทุกส่วนๆ ละไม่มากนัก จากพืชหลายๆ ชนิด ทั้งพืชที่กินได้และวัชพืชนำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดละเอียดให้ได้ปริมาณ 3 ก.ก. แล้วบรรจุเศษพืชที่ได้ลงในภาชนะ และเติมกากน้ำตาลลงไป 1 ลิตร คนหรือเขย่าให้เข้ากันให้เศษพืชจมอยู่ในกากน้ำตาลตลอดเวลา ปิดฝาภาชนะ เก็บไว้ในที่มืด อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้ การปฏิบัติระหว่างการหมัก เขย่าภาชนะที่หมักพร้อมกับเปิดฝา วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น เมื่อครบ 7 วัน ให้ดมกลิ่น ถ้าหอมหวานแสดงว่า "ดี"

สามารถนำไปได้ ถ้าบูดเปรี้ยวแสดงว่า "ไม่ดี" ให้แก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาล หรือของที่ใส่ครั้งแรกแล้วหมักต่ออีก 3 วัน ถ้ามีกลิ่นหอมหวานก็แสดงว่า "ดี" ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยวอีกให้เติมน้ำตาลอีกแล้วหมักต่อไปจนกว่าจะมีกลิ่นหอมหวาน เมื่อได้น้ำหมักที่ดีแล้วให้เก็บไว้ในที่มืดภายใต้อุณหภูมิห้อง เก็บได้นาน 6 เดือน - 1 ปี ระหว่างเก็บหากมีกลิ่นบูดเปรี้ยวให้เติมกากน้ำตาลลงไป

สูตรที่ 2 สำหรับพืชผัก ผลไม้ พืชไร่ นาข้าว

วัสดุ ประกอบด้วย 1) พืชสด (สูตร 1)   2) พืชสดและผลไม้สุก (สูตร 2)    3) ปลาเป็นๆ หอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ กระดูกป่น  

4) ตัวเสริม (ขี้เด็กทารก ขี้ไก่ค้างคอน ขี้นกปากห่าง ขี้เป็ดกินหอย ยาคูลท์ โยเกิร์ต กระทิงแดง ระลำเอียด) และ 5) กากน้ำตาล ผสมในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : เล็กน้อย : พอท่วม

วิธีทำ

เตรียมวัสดุในการทำนำหมักสูตร 1 และ สูตร 2 ตามอัตราส่วนที่กำหนด นำปลาสด (ทั้งตัว) หอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ มาบด โขลก สับให้ละเอียด เพื่อง่ายในการย่อยสลาย บรรจุเศษพืช เศษปลา เศษหอยที่บด โขลก สับละเอียดแล้วลงภาชนะ (ควรเป็นโอ่งหรือภาชนะพลาสติกไม่แนะนำให้ใช้โลหะ) แล้วเติมกากน้ำตาลลงไป คลุกเคล้าพอคลุกคลิก เติมนำมะพร้าวอ่อน คลุกเคล้าลงไปอีกเพื่อให้มีน้ำมากขึ้นพอท่วมเศษวัสดุ คนหรือเขย่าให้เข้ากัน ให้เศษพืชจม อยู่ในกากน้ำตาลตลอดเวลา ปิดฝาภาชนะเก็บไว้ที่มืดอุณหภูมิห้องนาน 7 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

ข้อพึงระวัง ->

- หากใช้น้ำประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก

- พืชบางชนิด เช่น เปลือกส้ม ไม่เหมาะในการทำน้ำหมักชีวภาพ เพราะน้ำมันที่เคลือบผิวเปลือกส้มเป็นพิษต่อจุลินทรีย์

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา