ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

พ่นเป่า

โดย : นายอำพร นุ่มถึก วันที่ : 2017-03-23-01:31:49

ที่อยู่ : 95/1 ม.1 ต.คลองพิไกร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

            พิธีกรรมรักษาโรคของหมอพื้นบ้านเป็นองค์ประกอบในบริบทของการสื่อสารการแสดงที่ชี้ให้เห็นว่าทำไมจึงต้องประกอบพิธีกรรมรักษาโรค พิธีกรรมรักษาโรคของหมอพื้นบ้านมีจุดประสงค์สำคัญคือ การบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยอันเป็นความผิดปรกติของร่างกาย แต่ความเจ็บป่วยนี้ไม่ได้ส่งผลเฉพาะทางกายเท่านั้น หากยังมีผลต่อความมั่นคงทางจิตใจของผู้

ป่วยและคนในครอบครัว รวมทั้งมิตรสหายด้วย ดังนั้น การประกอบพิธีกรรมรักษาโรคจึงมีจุดประสงค์ในทางหนึ่งเพื่อสร้างความสบายใจให้แก่ผู้ป่วยและผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด

            แต่ในมุมมองของหมอพื้นบ้าน การประกอบพิธีกรรมรักษาโรคถือเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติหรือญาติมิตรในชุมชน เป็นการแสดงน้ำใจ ทั้งยังถือว่าเป็นการทำบุญกุศลเพราะได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มุมมองเช่นนี้จึงสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติของหมอพื้นบ้านทุกคนที่จะรักษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายนอกจากค่าครูจำนวนเล็กน้อย ซึ่งจะรวบรวมไว้และน้ำไปทำบุญในโอกาสสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะประเพณีเทศน์มหาชาติ ประเพณีทอดกฐิน หรือการทำบุญในพิธีไหว้ครูประจำปี

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

            1. เหล้าขาว 1 ขวด    2. ไม้ 3 สี  3. ธูป 4. เทียนขี้ผึ้ง 5. ค่าครู 12 บาท

กระบวนการ/ขั้นตอน->

สถานที่และเวลา

เป็นองค์ประกอบในบริบทที่แสดงให้เห็นว่า พิธีกรรมนั้นจัดขึ้นในสถานที่ใด และจัดขึ้นในโอกาสใด ในกรณีการรักษาโรคของหมอพื้นบ้านที่บ้านหนองขาวจะไม่มีสถานที่หรือเวลาที่เฉพาะในการประกอบพิธีกรรม ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเดินทางมายังบ้านของหมอพื้นบ้านเพื่อขอให้ช่วยรักษา แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางมาได้ก็อาจมีญาติมารับหมอพื้นบ้านให้ไปรักษาที่บ้านของผู้ป่วยพื้นที่ในการประกอบพิธีกรรมมักเป็นบริเวณใต้ถุนบ้านหรือบนเรือนขึ้นอยู่กับความสะดวกของหมอพื้นบ้านและผู้ป่วย ทั้งนี้หมอพื้นบ้านบางประเภทอาจมีข้อกำหนดเกี่ยวกับพื้นที่ที่จะประกอบพิธีกรรมรักษาเพิ่มเติมตามที่“ครู” กำหนดด้วย เช่น หมอพ่นซางบางคนต้องไปรักษานอกชานบ้าน และต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเพราะเชื่อว่าจะพ่นอาการเจ็บ ป่วยให้ตกไปตามดวงอาทิตย์

เวลาที่ประกอบพิธีกรรมรักษาโรคมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ คือ มักรักษาในตอนเช้าก่อน ชาวบ้านจะออกไปทำไร่ทำนา หรือรักษาในช่วงเย็นหลังจากกลับจากไร่นาแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงพบคำที่ หมอพื้นบ้านเรียกการที่ผู้ป่วยมาติดต่อกันสามครั้งว่ารักษา“สามเช้า” หรือ “สามเย็น”

โครงสร้างคาถา คาถากลุ่มที่แต่งเป็นภาษาไทยและภาษาไทยปนภาษาบาลีและ/หรือ ภาษาสันสกฤตมีเนื้อความที่ปรากฏซ้ำคล้ายคลึงกัน เมื่อนำมาแยกเป็นส่วนเพื่อ วิเคราะห์โครงสร้างของคาถาจึงสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงต้น ช่วงกลาง และช่วงท้าย เช่น

 

คาถา

ช่วงต้น

ช่วงกลาง

ช่วงท้าย

คาถากวาดยา

พุทธัง/ ธัมมัง/ สังฆัง

หาย

-

คาถารักษาเริม-งูสวัด

พระเพลิงพระพาย

ละลายเป็นน้ำ

-

คาถาสูญฝี

นะพุทธสูญโรคา เป็นมูลสูญด้วยนะ โมพุทธสูญด้วยโม เป็นมูลสูญด้วยนะ

นะสูญ โมสูญ พุทสูญ ธาสูญ ยะสูญ

สูญด้วย นะโ ม พุทธายะ

คาถาพ่นซาง

อมนะโมพุทธายะ อมนะโมธัมมายะ อมนะโมสังฆายะ

อมอันร้อนอันเย็น อันเหม็นอันเน่า พิษ งูเห่าและหมาบ้า พิษ ซางอะรา กูจะกล่าว พ่น ซางดำและซาง ขาว ซางเขม่าขึ้นใน คอหอย ซางขมอย ขึ้นในตาด า กูจะพ่น ให้เย็นดั่งน ้าสุราและ มาริด สะสารพัดพิษ

เดชะคุณครู ให้ไว้ กับกู ฮุนลุฮุนลู สวาหะ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา