ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

จักสานไม้ไผ่

โดย : นายวินิจ ขันทะสิกรรม วันที่ : 2017-03-22-05:18:44

ที่อยู่ : 46 ม.5 ต.เขาคีริส

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          เมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ชาวบ้านมักมีเวลาว่างจากการทำเกษตรกรรม จึงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการประกอบอาชีพต่างๆ เพื่อเสริมรายได้ การจักสานไม้ไผ่ ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ชาวบ้านหมู่ที่ 5 บ้านราษฎร์ขยัน ได้ทำร่วมกันทั้งทำไว้ใช้เองและทำไว้ขายในอดีตจะมีรถเข้ามารับซื้อถึงในหมู่บ้านเครื่องจักสาน เช่น กระจาด,กระบุง,ตะกร้า,กระด้ง,เข่ง และตะข้อง เป็นต้น สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ลุงวินิจจะทำการจักสานเครื่องจักสานเป็นประจำอยู่เสมอ ตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบันโดยสืบทอดมาจากรุ่น พ่อ แม่ เมื่อว่างจากการทำอาชีพหลัก ลุงวินิจจะทำการพลิกแพลงลวดลายของเครื่องจักสานอยู่เสมอ และสามารถทำตามความต้องการของลูกค้าที่มาสั่งซื้อได้ ในการจักสานนั้นจะใช้ความประณีตและละเอียดอ่อนในการสานเครื่องจักสานต่างๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

          ตะกร้าสานไม้ไผ่เป็นสิ่งประดิษฐ์ ที่กลายมาเครื่องมือ เครื่องใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันนี้แทบจะ ไม่มีคนจักสานตะกร้าไม้ไผ่เลย เพราะคนสมัยนี้ไม่ค่อยสนใจในวัฒนธรรมเดิมๆ ในแต่ละหมู่บ้านหาคนที่จักสาน ตะกร้าได้น้อยมากบางหมู่บ้านไม่มีเลยด้วยซ้ำ การจักสานตะกร้าไม้ไผ่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาแต่โบราณ การ จะสานตะกร้าให้ดีสวยงาม มีความคงทน ต้องมาจากไม้ไผ่ดี ในปัจจุบันเนื่องจากต้นไผ่มีจำนวนน้อยลงทำให้เครื่องจักสานในชุมชนได้รับความนิยมลดน้อยลง แต่ลุงวินิจยังทำเป็นอาชีพเสริมเมื่อว่างจากการประกอบอาชีพค้าขาย โดยทำตามความต้องการของลูกค้า

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

          ไม้ไผ่ มีดขนาดต่างๆ เช่น มีดสำหรับผ่า มีดจักตอก ฯลฯ สว่านแบบมือหมุน เลื่อย ปากคีบ แบบหุ่น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          ๑. ตัดไม้ไผ่แก่มาผ่าซีกและผ่าแบ่งเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ ขนาดประมาณ ๑ ซม. และอีกส่วนหนึ่งผ่า ประมาณ ๑ นิ้ว เพื่อใช้ทาขอบปากตะกร้าและมือจับ

          ๒. นำแต่ละชิ้นที่ผ่าไว้ลอกใช้แต่ส่วนเปลือก โดยใช้มีดคมๆ เหลาหรือขูดเนื้อไม้ออกและเหลือแต่ ส่วนเปลือกบางๆ และเหนียว

          ๓. เริ่มต้นสานตะกร้า โดยเริ่มที่ก้นก่อน โดยใช้ส่วนที่แข็งกว่าและหนากว่าสานที่ก้น ความยาวของไม้ ตามขนาดของตะกร้า เส้นที่แข็งกว่าสานขึ้นตามแนวตั้ง ความห่างเท่า ๆ กัน ส่วนเส้นไม้ไผ่ที่บาง นิ่ม สานตาม ขวางชั้นมาเรื่อย ๆ แน่น มีลักษณะเป็นวงกลมแต่ปากตะกร้าจะกว้างกว่าก้นตะกร้า พอได้ขนาดตามต้องการใช้ ไม้ไผ่ขนาด ๑ นิ้ว ทำให้เป็นวงกลมและวางไว้ที่ขอบปากตะกร้า ใช้ไม่ไผ่ส่วนที่ตั้งขึ้น พัน หรือ บิดลงไปด้านล่าง สานลงไปประมาณ ๑ นิ้ว จนแน่นไม่หลุด ตัดเศษที่เหลือทิ้ง ตกแต่งให้สวยงาม

          ๔. ใส่หูหรือที่หิ้ว ซึ่งทาจากไม้ไผ่และโค้งงอได้ใช้เชือกหรือหวายพันให้แน่น หรือใช้เชือกที่เป็นสีพันที่ มือจับจนมิด นำไปใช้งานหรือขายได้

          ๕. หากต้องการเก็บไว้ใช้งานได้นาน ทาเล็กเกอร์เคลือบไม้ไผ่ทั้งด้านในและด้านนอก แล้วนำไปตาก แดดให้แห้ง

ข้อพึงระวัง ->

          1. ความตั้งใจ มุมานะในการวางตอกแต่ละเส้นขัดกันเป็นลวดลายต่างๆ

          2. ความประณีตในการทำลวดลายของเครื่องจักสาน

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา